ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท เป็นหนึ่งในสิ่งที่ผู้ประกอบการรายใหม่ หรือ ใครที่กำลังเริ่มต้นอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ควรทำการศึกษาหาข้อมูลเอาไว้ก่อน เพราะเมื่อมีรายได้เข้ามาได้ระดับหนึ่ง และธุรกิจเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ จะได้สามารถนำไปพิจารณาได้ว่า ตัวเองควรจดทะเบียนบริษัทดีหรือไม่, การจดทะเบียนบริษัทดีอย่างไร และตอนไหนเหมาะกับการจดทะเบียน
ทาง นรินทร์ทอง จึงได้รวบรวมข้อมูลเอาไว้ในบทความนี้ เพื่อช่วยตอบข้อสงสัยให้หายข้องใจ พร้อมกับสอนขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท แบบเข้าใจง่ายที่คุณไม่ควรพลาด
การจดทะเบียนบริษัท
หากพูดถึงการจดทะเบียนบริษัท บางคนเข้าใจว่าต้องจดเป็นบริษัทเท่านั้น แต่ความจริงแล้วการจดทะเบียน ถูกแบ่งออกเป็นทั้งหมด 2 ประเภท ดังนี้
- บุคคลธรรมดา หรือแบบทะเบียนพาณิชย์ เป็นการเปิดบริษัทที่มีเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว จะต้องรับผิดชอบทุกการดำเนินงาน สามารถทำงานได้อย่างอิสระ จึงทำให้ได้รับกำไรหรือผลกระทบของการขาดทุน
- นิติบุคคล เป็นการเปิดบริษัทที่มีเจ้าของกิจการ 2 คนขึ้นไป หรือผู้ถือหุ้น จึงทำให้การดำเนินงานเป็นไปตามความเห็นชอบของผู้ถือหุ้น การจดทะเบียนแบบนี้จะมีตั้งแต่ธุรกิจ SME, ขนาดกลาง และขนาดใหญ่
การจดทะเบียนบริษัททั้งแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ถือว่าเป็นการทำธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่มีความแตกต่างกันในเรื่องของการดำเนินงาน, อัตราการเสียภาษี และความน่าเชื่อถือในมุมมองของการทำธุรกิจระยะยาว เพราะถ้าเป็นบุคคลธรรมดา เราทำงานเพียงลำพัง มีอัตราการเสียภาษีสูงสุดถึง 35% และมีช่องทางการเติบโตที่ค่อนข้างยาก แต่นิติบุคคลจะตรงกันข้าม ทุกการตัดสินใจในการดำเนินงานจะขึ้นอยู่กับหลายคน (ผู้ถือหุ้น) เสียภาษีสูงสุด 20% และบริษัทมีความน่าเชื่อถือ ผู้ประกอบการที่ต้องการให้ธุรกิจของตัวเองเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่วนมากจะทำการจดทะเบียนบริษัท
ควรจดทะเบียนบริษัทตอนไหน?
ในกรณีที่คุณมีกิจการของตัวเอง และมีรายได้เข้ามาในระดับหนึ่ง การที่จะรู้ได้ว่าตัวเองควรจดทะเบียนบริษัทตอนไหน สามารถทำการเช็กได้ว่า
- คุณมีการเสียภาษีเกินอัตราร้อยละ 20 แล้วหรือยัง เพราะถ้าเกินควรจดเพื่อให้การเสียภาษีอยู่ในอัตรา 20% เท่านั้น
- มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ทำให้ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้าคุณเป็นบุคคลธรรมดาจะทำเรื่องยาก
- อยากให้การต่อรองทางธุรกิจเป็นเรื่องง่าย การจดทะเบียนบริษัทจะสร้างความน่าเชื่อถือ ให้กับทั้งพันธมิตรทางธุรกิจ และสถาบันการเงิน
ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท
1. เริ่มทำการจองชื่อบริษัท การที่จะจัดตั้งบริษัทได้ ต้องมีชื่อของบริษัทก่อนเป็นอันดับแรก คุณสามารถจองชื่อบริษัทได้ 2 ทาง คือ ที่ เว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า DBD หรือกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่สำนักงานบริการทั้ง 7 แห่ง
2.จัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ: ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องมีชื่อบริษัทเพื่อดำเนินการ หนังสือบริคณห์สนธิเป็นเอกสารที่แสดงความประสงค์ในการจัดตั้งนิติบุคคลต่อรัฐ ประกอบด้วย:
- ชื่อบริษัท
- ที่ตั้งของสำนักงานใหญ่
- วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งบริษัท
- ทุนจดทะเบียน
- รายชื่อผู้ถือหุ้น
- รายละเอียดส่วนบุคคลของผู้ถือหุ้น เช่น ชื่อ ที่อยู่ อาชีพ อายุ เลขที่บัตรประชาชน และจำนวนหุ้นที่ถือ
3.จองซื้อหุ้นของบริษัท: ผู้ก่อตั้งบริษัทจะต้องดำเนินการให้มีผู้ถือหุ้นครบตามจำนวนหุ้นที่ระบุไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ
4.การประชุมจัดตั้งบริษัท: ผู้ก่อตั้งจะต้องแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบเกี่ยวกับการประชุมจัดตั้งบริษัท
โดยการออกหนังสือ ล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนการประชุม
โดยวาระการประชุมดังนี้:
- การรับรองรายชื่อและจำนวนหุ้นของผู้จองซื้อหุ้น
- การกำหนดระเบียบข้อบังคับของบริษัท
- แต่งตั้งกรรมการบริษัทและกำหนดอำนาจของกรรมการ
- การพิจารณาหุ้นบุริมสิทธิและสิทธิของผู้ถือหุ้น
- เลือกผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาตและกำหนดค่าจ้าง
5. ผู้ถือหุ้นมอบหมายกิจการให้กรรมการ: กรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจะเรียกชำระค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 25% ของทุนจดทะเบียน และใช้เป็นหลักฐานยื่นต่อนายทะเบียน เมื่อเก็บค่าหุ้นครบแล้ว กรรมการจะต้องดำเนินการยื่นจดทะเบียนบริษัทให้เสร็จสิ้นภายใน 3 เดือนหลังการประชุมจัดตั้งบริษัท
6. เตรียมเอกสารที่ใช้จดทะเบียนบริษัท (หนังสือบริคณห์สนธิ)
- คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (แบบ บอจ.1)
- แบบคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
- หนังสือบริคณห์สนธิ (แบบ บอจ.2)
- รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (แบบ บอจ.3)
- รายละเอียดกรรมการ (แบบ ก.)
- รายละเอียดวัตถุประสงค์ของบริษัท (แบบ ว.)
- บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5)
- สำเนาหนังสือนัดประชุมตั้งบริษัท
- สำเนารายงานการประชุมตั้งบริษัท
- สำเนาหลักฐานการรับชำระค่าหุ้น
- หลักฐานการนำเงินฝากที่มีธนาคารรับรอง (กรณีที่กรรมการเป็นผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติ)
- รายการเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ (แบบ สสช.1)
- แผนที่ตั้งของสำนักงานใหญ่
- สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการทุกคน
7. รอการตรวจสอบเอกสาร
หากคุณทำการส่งเอกสารเรียบร้อยแล้ว ทางนายทะเบียนจะตรวจสอบเอกสารให้ก่อน เผื่อมีข้อมูลในจุดไหนผิดพลาด หรือมีการนำส่งเอกสารไม่ครบถ้วน ก็จะมีการแจ้งกลับมาว่าคุณมีอะไรที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมไหม เรียกได้ว่าเป็นการเช็กให้ชัวร์ก่อนยื่นคำขอจดทะเบียน
8. พร้อมยื่นแบบคำขอจดทะเบียนบริษัท
หลังจากที่มีการตรวจสอบเอกสารว่าถูกต้อง ทางผู้ถือหุ้นทุกคนต้องเช็นเอกสารพร้อมแนบเอกสารเพิ่มเติมร่วมด้วย เพียงเท่านี้ก็สามารถยื่นแบบคำขอจดทะเบียนบริษัท ได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตพื้นที่ต่างๆ และรอรับ “หนังสือรับรอง” ที่เป็นหลักฐาน ว่าการเปิดบริษัทของคุณถูกต้องตามกฎหมาย
ควรจดทะเบียนเองหรือจ้างสำนักงานบัญชี?
หากคุณเข้าใจเกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัทมากขึ้น และรู้ว่าขั้นตอนการจดทะเบียนเป็นอย่างไร แต่ตัดสินใจไม่ได้ว่าควรจดทะเบียนบริษัทเอง หรือใช้บริการจากสำนักงานบัญชีดี เพราะในตอนนี้การจดทะเบียนบริษัท สามารถทำได้ทั้งหมด 3 ช่องทาง คือ จดที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, จดผ่านเว็บไซต์ และใช้บริการสำนักงานบัญชี
จดทะเบียนบริษัทด้วยตัวเอง
- จดที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ต้องมีการจัดเตรียมเอกสารให้เรียบร้อย แล้วค่อยยื่นคำขอที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วยตัวเอง ถือว่าเป็นวิธีที่เร็วที่สุด สามารถดำเนินการจดได้ภายในวันเดียว แต่ต้องเสียเวลาเดินทางไปที่สำนักงานโดยตรง
- จดผ่านเว็บไซต์ สามารถยื่นคำขอได้ที่ DBD e-Registration เป็นการทำผ่านระบบออนไลน์ ขั้นตอนการยื่นก็ง่าย และที่สำคัญคุณไม่ต้องเสียค่าเดินทางเพื่อไปที่สำนักงาน แต่การทำยื่นแบบนี้จะใช้เวลารอนาน เพื่อตรวจสอบก่อนว่าข้อมูลที่คุณให้ถูกต้องและครบถ้วนไหม
จดทะเบียนบริษัทด้วยสำนักงานบัญชี
การจดทะเบียนบริษัท ที่ให้ทางสำนักงานบัญชีดำเนินการให้ เป็นวิธีที่สะดวกและแม่นยำมากที่สุด เพราะเราให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญจัดการแทน ถือว่าเป็นวิธีที่รวดเร็วในการดำเนินงาน ไม่ต้องจัดเตรียมเอกสารให้ลำบาก โดยระยะเวลาในการจดจะขึ้นอยู่กับแต่ละช่วง ค่อนข้างตอบโจทย์กับผู้ประกอบการที่ไม่ต้องการความยุ่งยาก สามารถนำช่วงเวลาที่เหลือไปวางแผนทางธุรกิจได้
สำหรับใครที่กำลังเตรียมตัวเป็นผู้ประกอบการมือใหม่ และมีการวางแผนถึงการเติบโตในธุรกิจ สิ่งสำคัญที่คุณไม่ควรพลาด คือ การศึกษาเกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัท ถึงประโยชน์ที่คุณจะได้รับ เช่น ไม่ต้องเสียภาษีสูงเท่ากับอัตราของบุคคลธรรมดา หรือธุรกิจมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น รวมไปถึงขั้นตอนการจด ว่ามีการดำเนินงานอย่างไรและมีเอกสารอะไรบ้างที่ต้องเตรียม เพื่อให้การจดทะเบียนบริษัทสมบูรณ์
แต่ถ้าคุณรู้สึกว่าการจดทะเบียนบริษัทเป็นสิ่งที่ยุ่งยาก นรินทร์ทอง ขอแนะนำบริการจากสำนักงานบัญชี เพราะนอกจากจะทำให้การเงินเป็นเรื่องง่าย ยังช่วยคุณลดเวลาในการทำงาน ไม่ต้องกลัวว่าเอกสารจะผิดพลาด จนทำให้เกิดความล่าช้าในการจดทะเบียน
จดทะเบียนบริษัท ต้องที่นรินทร์ทอง!
บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโตและมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น
- การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
- รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
- งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
- ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339