การจัดตั้งบริษัทนอกจากจะมีเรื่องของเอกสารที่ต้องดำเนินการแล้ว ยังมีอีกองค์ประกอบหนึ่งที่ขาดไปไม่ได้เลย เพื่อทำให้การจดทะเบียนบริษัทนั้นเสร็จสมบูรณ์มากที่สุด คือ ‘สถานประกอบการหรือที่ตั้งของบริษัท’ โดยส่วนมากผู้ประกอบการรายใหม่มักเลือกบ้านเป็นที่แรก สำหรับใครที่จดทะเบียนบริษัทแล้ว และต้องการเปิดบริษัทเพิ่ม แต่ไม่รู้ว่า บ้าน 1 หลังสามารถจดทะเบียนได้กี่บริษัท? วันนี้ นรินทร์ทอง มีคำตอบให้กับคุณ!
บ้าน 1 หลังสามารถจดทะเบียนได้กี่บริษัท ?
หากคุณเป็นผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจ และมีการจดทะเบียนบริษัทเรียบร้อยแล้ว โดยใช้ที่อยู่อาศัยอย่างบ้านเป็นสถานที่ตั้ง เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการทำงาน ไม่ต้องหาสถานที่ให้วุ่นวาย เมื่อถึงเหตุการณ์ที่ต้องเปิดบริษัทเพิ่มหรือขยายธุรกิจ สามารถทำได้ ดังนี้
- บ้าน 1 หลังจดทะเบียนกี่บริษัทก็ได้ เพราะทางกฎหมายไม่ได้ระบุข้อห้ามเอาไว้
- สามารถประกอบธุรกิจคนละประเภทได้ ถ้าต้องการจดบริษัทเพิ่ม แต่ใช้บ้านเดิม
แต่การใช้บ้านเป็นสถานที่จดทะเบียนบริษัท จะถูกแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ‘บ้านที่เป็นเจ้าของ’ และ ‘บ้านเช่า’ ทำให้มีเรื่องของค่าใช้จ่าย, การทำสัญญา และภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง
ผู้ประกอบการเป็นเจ้าของบ้าน
ถ้าคุณเป็นผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจ ที่ต้องการนำบ้านของตัวเองไปจดทะเบียนบริษัทสามารถทำได้ และทางบริษัทจะต้องลงบันทึกบัญชี ในเรื่องของค่าใช้จ่าย
ผู้ประกอบการที่เช่าบ้าน การเช่าบ้านเพื่อใช้เป็นบริษัทสามารถเกิดขึ้นได้ทั้ง 2 กรณี คือ
- เช่าบ้านของตัวเอง ถ้าผู้จดไม่ได้เป็นเจ้าของบ้าน แต่คุณพ่อ – คุณแม่เป็นเจ้าของโดยตรง อาจมีการตกลงกันภายในครอบครัว ทำให้ทางฝ่ายผู้จดมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าเช่าและหัก ณ ที่จ่าย 5 % เพื่อนำส่งกรมสรรพากร ส่วนทางคุณพ่อ – คุณแม่จะได้รับเป็นรายได้ส่วนตัว
(แต่ต้องมีการจัดทำหนังสือยินยอม และเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของคนที่เป็นเจ้าของบ้าน อย่าง บัตรประจำตัวประชาชนผู้ยินยอม และทะเบียนบ้านของสถานประกอบกิจการ) - เช่าบ้านของคนอื่น การใช้เช่าบ้านของคนอื่นหรือบ้านที่ประกาศให้เช่า คุณสามารถนำไปจดทะเบียนบริษัทได้เช่นกัน แต่ระหว่างที่ทำสัญญาด้วยกัน ทางผู้ใช้เช่าจะต้องยินยอมให้ใช้พื้นที่ประกอบกิจการ คุณถึงจะสามารถดำเนินเรื่องของเอกสาร เพื่อจดทะเบียนบริษัทได้
ขั้นตอนการจดทะเบียนต้องทำอย่างไร?
สิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมก่อนการจดทะเบียนบริษัท คือ ‘ผู้ก่อตั้ง 2 คนขึ้นไป’ (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. 2566 ) และ ‘ที่อยู่ของบริษัท’ โดยส่วนมากผู้ประกอบการจะนิยมใช้ที่อยู่อาศัยของตัวเองเปิดบริษัท เพราะเป็นสถานที่ใกล้ตัวและสะดวกต่อการดำเนินเอกสาร ที่คุณจะต้องกรอกทั้งรายชื่อของผู้ก่อตั้งและที่อยู่ ดังนี้
- แบบบอจ. 1 : คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด
- แบบบอจ. 2 : หนังสือบริคณห์สนธิ
- แบบบอจ. 3 : รายการจดทะเบียนจัดตั้ง
- แผนที่ของสถานที่จัดตั้งสำนักงาน
ถ้าบ้านที่คุณใช้จดทะเบียนบริษัทเป็นบ้านเช่า ก็สามารถจดได้มากกว่า 1 บริษัทเช่นกัน และมีขั้นตอนเหมือนกับที่ใช้บ้านของตัวเอง แต่มีเรื่องของเอกสารที่แตกต่างกันในบางจุด
- เจ้าของบ้านหรือผู้ให้เช่า ต้องเซ็นชื่อว่ายินยอมให้ใช้สถานที่จดทะเบียนบริษัท
- ต้องมีเอกสารของผู้ให้เช่าประกอบ อย่าง สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน และหนังสือสัญญาเช่า
การนำบ้านเป็นที่อยู่ของบริษัท มีข้อควรระวังหรือไม่?
ก่อนอื่นคุณต้องทำความเข้าใจว่า บ้านที่ถูกนำมาใช้เป็นออฟฟิศหรือสำนักงาน จะมีเรื่องของค่าไฟ, ค่าน้ำ, ค่าโทรศัพท์ และค่าอินเทอร์เน็ต เข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าค่าใช้จ่ายเหล่านี้ใช้ดำเนินในธุรกิจจริง สามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายในบัญชีบริษัทได้
แต่ต้องมีการแบ่งค่าใช้จ่ายที่หารเฉลี่ยตามความเหมาะสม ระหว่างที่อยู่อาศัยและบริษัท โดยค่าไฟ – ค่าน้ำควรจะมีมิเตอร์วัด เพื่อเป็นการแบ่งค่าใช้จ่ายที่ชัดเจนระหว่างบริษัทที่ 1 และบริษัทที่ 2 ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทางสรรพากรได้แนะนำให้เราแบ่งตามเปอร์เซ็นต์ของการใช้งาน เช่น บ้านที่จดทะเบียนบริษัท จะถูกแบ่งค่าใช้จ่ายของที่อยู่อาศัย 50% และออฟฟิศ 50% แต่ถ้ามีการจดบริษัทเพิ่มก็ต้องปรับเปอร์เซ็นต์ตามสัดส่วน
นอกจากการนำที่อยู่อาศัยมาจัดตั้งเป็นบริษัทแล้ว ถ้าต้องการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ร่วมด้วยก็สามารถทำได้ แต่ถ้าคุณไม่ใช่เจ้าของบ้าน ต้องให้ผู้ที่เป็นเจ้าของเซ็นชื่อยินยอมให้ใช้สถานที่ พร้อมกับถ่ายรูปแนบเอกสารขอเข้าทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (จัดออฟฟิศให้ดูเป็นสถานที่ทำงานก่อนถ่ายรูป) ที่สำคัญต้องระวัง ‘สถานที่ใช้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม’ ทางสรรพากรจะไม่อนุญาตให้นำคอนโด, หอพัก และอพาร์ทเม้นท์มาใช้ อาจจะต้องคิดทบทวนเพื่อวางแผนธุรกิจในระยะยาว
หลังจากที่คุณได้อ่านบทความนี้ก็คงทราบแล้วว่า บ้าน 1 หลังสามารถจดได้หลายบริษัท เพราะทางกฎหมายไม่ได้กำหนดเอาไว้ แต่ส่วนมากเขาจะไม่ค่อยนิยมจดทะเบียนหลังเดียวกัน เพราะป้องกันปัญหาที่มีโอกาสเกิดขึ้น จากการแบ่งค่าใช้จ่ายในออฟฟิศได้ไม่ดี รวมไปถึงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในอนาคต หากใครที่กำลังวางแผนธุรกิจ และมีความกังวลเกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัท ไม่รู้ว่าต้องดำเนินการอย่างไรให้ถูกต้อง นรินทร์ทอง สามารถช่วยคุณได้
อยากจดทะเบียนบริษัท ต้องที่นรินทร์ทอง!
บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชี และภาษี รวมไปถึงการจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น
- การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
- รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
- งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
- ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339