เปิดบริษัทขายของออนไลน์ ต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง?

ในปัจจุบันการขายของออนไลน์ เป็นสิ่งที่ธุรกิจยุคใหม่มักจะทำกัน เพราะช่วยให้การขายสินค้าหรือบริการเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้คุณมีรายได้มากขึ้นเช่นกัน จึงส่งผลให้มีเรื่องของภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งในปี 2567 ตามแพลตฟอร์มต่างๆ ที่เป็นสื่อกลางในการขายสินค้าให้กับคุณ ต้องส่งข้อมูลให้กับทางกรมสรรพากร สำหรับใครที่เป็นเจ้าของธุรกิจและกำลังพิจารณาว่าตัวเองควร เปิดบริษัทขายของออนไลน์ หรือไม่ นรินทร์ทอง มีคำตอบให้กับคุณ!

 

เปิดบริษัทขายของออนไลน์ ต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง

การทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็นแบบออฟไลน์หรือออนไลน์ หากมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ ทางผู้ประกอบการต้องเสียภาษีตามปกติ โดยธนาคารต้องส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรในธุรกรรมลักษณะพิเศษ คือ ทำธุรกรรมฝาก – รับโอนเงินทุกบัญชีเกิน 3,000 ครั้งต่อปี/ธนาคาร และ ทำธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีเกิน 400 ครั้งต่อปี/ธนาคาร (มียอดเงินรวมตั้งแต่ 2,000,000 บาทขึ้นไป)

โดยในปี 2567 กรมสรรพากรได้ประกาศเพิ่มเกี่ยวกับภาษีเงินได้ที่ กำหนดให้อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มมีบัญชีพิเศษ หรือแพลตฟอร์มที่เป็นตัวกลางในการขายของออนไลน์ ระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ มีหน้าที่ในการนำส่งข้อมูลรายได้ของผู้ประกอบการทุกรายให้กับทางกรมสรรพากร

หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่ขายของออนไลน์ และอยากให้การดำเนินธุรกิจมีการเสียภาษีที่ถูกต้อง เพื่อที่จะได้ไม่ถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ควรรู้จักกับการจดทะเบียนทั้ง 3 แบบ ดังนี้

 

1 – การจดทะเบียนบริษัท

เปิดบริษัทขายของออนไลน์

การจดทะเบียนบริษัท ถือว่าการเป็นการจดทะเบียนนิติบุคคล ที่มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปลงทุนร่วมกัน โดยกำหนดทุนที่จดและแบ่งสัดส่วนของหุ้นให้เรียบร้อย การดำเนินกิจการจะต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นทุกคน ไม่ได้เป็นการทำงานแบบเพียงลำพัง ซึ่งการจดทะเบียนบริษัทมีหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัด,  บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด

ตามกฎหมายไม่ได้มีข้อบังคับว่าต้องจดทะเบียนบริษัทเมื่อไหร่ แต่ขึ้นอยู่กับทางผู้ประกอบการที่ขายของออนไลน์โดยตรง เพราะมีหลายปัจจัยที่อาจนำมาประกอบการตัดสินใจต่อการเปิดบริษัท เช่น ต้องการให้ธุรกิจของตัวเองมีความน่าเชื่อถือ, อยากให้มีผู้ที่เข้ามาร่วมลงทุนหลายคน หรือมองเป้าหมายเกี่ยวกับการเติบโตในอนาคต จึงจดทะเบียนบริษัท เพื่อวางแผนเรื่องของการเสียภาษีเอาไว้ก่อน เป็นต้น

>>> อ่านบทความ ขายของออนไลน์ต้องเสียภาษีไหม? ได้ที่นี่! <<<

 

2 – การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

เปิดบริษัทขายของออนไลน์

ใครที่เป็นเจ้าของธุรกิจออนไลน์ และต้องการยืนยันว่ากิจการที่ตัวเองกำลังดำเนินอยู่ มีการขายสินค้าหรือบริการที่ถูกต้องตามกฎหมาย บอกว่าร้านเราชื่ออะไร ใครเป็นผู้ประกอบการ แล้วสถานที่ทำธุรกิจของเราอยู่ที่ไหน เป็นต้น โดยกิจการที่เข้าข่ายประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่

  1. การขายสินค้าหรือบริการผ่านอินเทอร์เน็ต (e-Commerce) : ผู้ขายจะต้องขายสินค้าหรือบริการเป็นอาชีพหลัก ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  2. การให้บริการทางอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP) : ถือว่าเป็นหน่วยงานที่บริการในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
  3. ให้เช่าพื้นที่คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting) : ผู้ให้บริการพื้นที่เว็บไซต์แบบไม่ต้องมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์
  4. ตัวกลางระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ (e-Marketplace) : เป็นสื่อกลางที่ทำให้ผู้ซื้อ – ผู้ขายมาเจอกัน โดยพื้นที่ของแหล่งข้อมูลมีขนาดใหญ่ ที่เก็บข้อมูลทั้งหมดเอาไว้

การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ต้องจดภายใน 30 วัน นับแต่วันแรกที่เริ่มดำเนินธุรกิจ และไม่ได้มีข้อกำหนดว่าต้องมีรายได้ถึงจำนวนเท่าไหร่ หากธุรกิจออนไลน์ของบุคคลใดเข้าข่ายที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ แต่ตัวเองไม่ได้ไปจด ถือว่ามีความผิดระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และปรับวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะไปจดให้ถูกต้องตามกฎหมาย

 

3 – การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

หากคุณทำธุรกิจออนไลน์แล้วมียอดขายภายในปีเกิน 1.8 ล้านบาท ต้องทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT (Value Added Tax) ในอัตรา 7% โดยเรียกเก็บเพิ่มจากการซื้อสินค้าหรือบริการของลูกค้า เพื่อที่จะได้นำส่งให้กับทางสรรพากร (ยื่นแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน) ซึ่งภาษีมูลค่าเพิ่มมีผลบังคับใช้ให้จดทะเบียนภายใน 30 วัน หากคุณมียอดขายถึงเกณฑ์ หรือจะทำการจดก่อนล่วงหน้าก็ได้

สำหรับบางคนอาจเข้าใจว่า ถ้ามีรายได้เกินที่กำหนดต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มเลย แต่มีบางกิจการที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม หรืออยากจะแจ้งขอจดก็ได้เช่นกัน คือ

  1. ผู้ขายสินค้าทางการเกษตร เช่น สัตว์, อาหารสัตว์, ยาที่ใช้กับพืชหรือสัตว์, ปุ๋ย, หนังสือพิมพ์, นิตยสาร และตำราเรียน
  2. เจ้าของกิจการที่ขายสินค้าหรือบริการ ที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีรายรับไม่ถึง 1.8 ล้านบาท ต่อปี
  3. กิจการที่ให้บริการเกี่ยวกับขนส่ง
  4. ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจส่งออก ที่อยู่ในเขตอุตสาหกรรมตามกฎหมาย (นิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย)
  5. กิจการที่ให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในประเทศไทย

 

ควรเปิดบริษัทขายของออนไลน์หรือไม่?

ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจที่พิจารณาว่า ตัวเองควรเปิดบริษัทเพื่อขายสินค้าหรือบริการออนไลน์ ต้องรู้ก่อนว่าธุรกิจที่เราทำอยู่จริงจังมากน้อยแค่ไหน เฉลี่ยแล้วมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือเปล่า เพราะการทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็นออนไลน์หรือออฟไลน์ เรื่องของการเงินเป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องมีการบริหารเป็นอย่างดี รวมไปถึงการเสียภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย จะได้ไม่โดนภาษีย้อนหลังหรือได้รับโทษแล้วมาเสียใจในภายหลัง

แต่สำหรับเจ้าของกิจการคนไหนที่กำลังขายของออนไลน์ และอยากวางแผนทางด้านการเงิน ให้ธุรกิจเติบโตในอนาคต การเลือกใช้บริการจากสำนักงานบัญชีอย่าง นรินทร์ทอง เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้เรื่องของการจดทะเบียนง่ายมากยิ่งขึ้น

 

ต้องการจดทะเบียนบริษัท ต้องที่นรินทร์ทอง!

บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโตและมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น

  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ

 

หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…

Facebook : NarinthongOfficial

E-mail : narinthong.ac@gmail.com

Line : @Narinthong

Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ และคุกกี้ในส่วนการตลาด

    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน และคุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บันทึกการตั้งค่า