จดทะเบียนบริษัท ต้องมีรายได้เท่าไร กับเรานรินทร์ทอง

การทำธุรกิจขึ้นมาสักธุรกิจหนึ่ง สิ่งที่เจ้าของคาดหวังมากที่สุดก็คือ “ผลกำไร” เพราะถ้าหากไม่มีผลกำไร ธุรกิจก็ไม่สามารถเติบโตต่อไปได้ ซึ่งในส่วนของผู้ที่มีรายได้และผลกำไรสูง นั่นหมายความว่า ธุรกิจของคุณเริ่มมีการขยับขยาย แน่นอนว่าควรมีการจดทะเบียนบริษัทเกิดขึ้น แต่ผู้ประกอบการหลายท่านอาจจะยังไม่แน่ใจว่า ต้องมีรายได้เท่าไหร่ ถึงควร จดทะเบียนบริษัท ? วันนี้ นรินทร์ทอง ได้นำข้อมูลเกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัทมาฝากทุกคนในบทความนี้! โดยรายละเอียดที่เรานำมาแชร์นั้น จะมีอะไรน่าสนใจบ้างตามมาดูกัน

 

เมื่อไรควร จดทะเบียนบริษัท

จดทะเบียนบริษัท

เมื่อก้าวเข้าสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจแบบเต็มตัว แน่นอนว่าเรื่องความรับผิดชอบก็ต้องมากขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากมีรายรับ – รายจ่ายเพิ่มมากขึ้น ถ้าคุณอยากจดทะเบียนบริษัท แต่ไม่รู้ว่าควรจดตอนไหนดี? แนะนำว่าเมื่อทำธุรกิจไปสักระยะหนึ่ง หากกิจการของคุณเริ่มมีการขยายตัว หรือมีรายได้สุทธิ (รายได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย) มากกว่า 750,000 บาทขึ้นไป ควรจดทะเบียนบริษัททันที ซึ่งนอกจากรายได้และกำไรแล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่เป็นตัวช่วยตัดสินใจว่า คุณควรจดทะเบียนบริษัทหรือไม่ คือ การนำเอาปัจจัยต่างๆ ได้แก่ รายได้ ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนของกิจการ มาคำนวณภาษีเปรียบเทียบกัน ทั้งแบบบุคคลธรรมดา และแบบนิติบุคคล

เพื่อให้เจ้าของกิจการ มองเห็นภาพรวมภาษีที่ต้องจ่าย และกำไรที่แท้จริงของธุรกิจชัดเจนขึ้น โดยรายละเอียดเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยทำให้คุณรู้ว่า ธุรกิจรูปแบบไหนได้ประโยชน์มากกว่ากัน และธุรกิจที่คุณกำลังทำอยู่นั้น ควรจดทะเบียนบริษัทเมื่อไหร่ถึงจะเหมาะสม

 

รายได้ และ อัตราภาษี

จดทะเบียนบริษัท

จากที่เกริ่นในหัวข้อข้างต้นว่า การจดทะเบียนบริษัทควรเริ่มทำเมื่อเจ้าของธุรกิจมีเงินได้สุทธิ (รายได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย) 750,000 บาทขึ้นไป เนื่องจากรายได้มีผลต่ออัตราการเสียภาษี ถ้าหากคุณเป็นบุคคลธรรมดาที่มีรายได้สุทธิมากเท่านี้ จะเสียภาษีถึง 35% แต่ถ้าหากจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จะเสียภาษีเงินได้เพียง 20% เท่านั้น จะเห็นว่าการจดทะเบียนบริษัทนั้น ช่วยประหยัดอัตราการเสียภาษีได้มากกว่า อีกทั้งยังสร้างความน่าเชื่อถือให้กับกิจการมากขึ้นด้วย

แต่ในเบื้องต้นต้องดูว่า ในนามบุคคลธรรมดา คุณจะต้องเสียภาษีสูงสุดที่อัตราเท่าไหร่ในช่วง 5%-35% จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุดที่ 20% ถ้าอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงกว่า 20% นั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า คุณต้องเริ่มจดทะเบียนบริษัทแล้วนั่นเอง

 

 

ตัวอย่างการคำนวณรายได้ และ อัตราภาษี แบบนิติบุคคล กับ แบบบุคคลธรรมดา

จดทะเบียนบริษัท

เพื่อให้มองเห็นภาพจัดเจนขึ้น ในหัวข้อนี้ทาง นรินทร์ทอง เราได้นำตัวอย่างการคำนวณรายได้ และ อัตราภาษี ของทั้งแบบนิติบุคคล และ แบบบุคคลธรรมดา มาให้ทุกท่านได้นำมาเปรียบเทียบกันว่า ทั้ง 2 แบบมีการคำนวณรายได้ และภาษีเงินได้แตกต่างกันอย่างไรบ้าง

การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล

วิธีการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล มีสูตรการคำนวณ คือ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย) = กำไรสุทธิ จากนั้นนำกำไรสุทธิที่ได้ มาคิดภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล (ทั้งนี้ถ้าหากมีได้กำไร 0 – 300,000 จะได้รับการยกเว้นภาษี 15%)

ยกตัวอย่าง: หากรายได้ทั้งปีมีจำนวน 2,225,000 บาท จะมีวิธีการคำนวณภาษี ดังนี้

Step 1: รายได้ขายสินค้า 2,225,000 – รายจ่าย 1,900,000 บาท = กำไรทางบัญชี 325,000 บาท

Step 2: กำไรทางบัญชี 325,000 บาท – รายการปรับปรุงทางภาษี 0 บาท = กำไรทางภาษี 325,000 บาท

Step 3: กำไรทางบัญชี 325,000 บาท – 3 ล้าน = ภาษีที่ต้องชำระ 3,750 บาท

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะมีวิธีการคำนวณโดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

แบบที่ 1 (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย หากมีรายได้ประจำช่องทางเดียว อัตราภาษีจะเป็นแบบอัตราขั้นบันได ตั้งแต่ 5 – 35%

แบบที่ 2 (รายได้ทุกประเภท – เงินเดือน) x 0.5% ในกรณีที่มีรายได้ช่องทางอื่น นอกจากรายได้ประจำหรือเงินเดือนตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป คิดภาษีแบบเหมา

โดยจะต้องคำนวณภาษีทั้งแบบอัตราขั้นบันได และอัตราเหมา เพื่อนำมาเทียบกันแล้วเลือกยอดภาษีที่ต้องเสีย โดยคิดจากยอดภาษีที่สูงกว่า

หมายเหตุ: หากคำนวณด้วยวิธีคิดแบบเหมาแล้ว มีภาษีที่ต้องเสียทั้งสิ้นไม่เกิน 5,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษีในวิธีนี้

ยกตัวอย่าง: หากรายได้ทั้งปีมีจำนวน 2,225,000 บาท เลือกหักค่าใช้จ่ายแบบขั้นบันได จะมีวิธีการคำนวณภาษี ดังนี้

Step 1: รายได้ขายสินค้า 2,225,000 – รายจ่าย 1,900,000 บาท – ค่าลดหย่อนภาษี = เงินได้สุทธิ

Step 2: เงินได้สุทธิ x อัตราภาษีขั้นบันได 30% (รายได้ 2M – 5M ขั้นบันได 30%) = ภาษีที่ต้องจ่าย

ทั้งนี้ภาษีที่ต้องเสียให้แก่กรมสรรพากร จะเลือกจากยอดภาษีที่สูงกว่า จากวิธีคำนวณทั้ง 2 แบบด้านบน ทำให้มียอดภาษีที่ต้องชำระทั้งปี เท่ากับ 81,000 บาท

 

ค่าใช้จ่าย และความรับผิดชอบที่มากขึ้น หลัง จดทะเบียนบริษัท

จดทะเบียนบริษัท

หลังจากที่ได้ทราบถึงรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัท ก็อย่าละเลยที่จะศึกษาเรื่องการวางแผนค่าใช้จ่าย รวมถึงความรับผิดชอบต่างๆ หลังจดทะเบียนบริษัทด้วยเช่นกัน ซึ่งผู้ประกอบการหลายท่านอาจจะสงสัยว่า เปิดบริษัทแล้วต้องทำอะไรต่อ มีค่าใช้จ่ายอะไรที่ต้องเสียบ้าง? สำหรับหัวข้อนี้เราจะมาอธิบายถึงค่าใช้จ่าย และสิ่งที่ต้องรับผิดชอบหลังจดบริษัท มาดูกันว่าจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง

  • การเทียบค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการทำบัญชี

หลังจากที่ผู้ประกอบการจดบริษัทแล้ว จะมีข้อกำหนดหรือกฎหมายต่างๆ ทั้งเรื่องการทำบัญชี และการส่งภาษี เข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น หากต้องการเทียบค่าใช้จ่ายในการทำบัญชี เบื้องต้นต้องดูว่าในนามบุคคลธรรมดาคุณเสียภาษีสูงสุดเท่าไหร่ในช่วง 5%-35% จากนั้นนำมาเทียบกับค่าใช้จ่ายในการทำบัญชี โดยหากคำนวณแล้วมีอัตราภาษีที่ต้องชำระมากกว่า การทำบัญชี ก็สามารถดำเนินการจ้างสำนักงานบัญชี เพื่อจัด ทำบัญชี ปิดงบการเงิน และยื่นภาษีให้ ก็ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้

  • การเก็บเอกสาร 

เมื่อคุณได้เปลี่ยนจากบุคคลธรรมดา เป็นการจดทะเบียนบริษัทรูปแบบนิติบุคคล ธุรกิจควรให้ความสำคัญในเรื่องการเก็บเอกสาร เพราะจะต้องมีการเก็บเอกสารบัญชี การทำบัญชี และรอบระยะเวลาการส่งงบการเงิน-ภาษี เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบย้อนหลัง ซึ่งเอกสารสำคัญที่ต้องเก็บ มีดังนี้

    1. ใบแจ้งหนี้ / ใบกำกับภาษี / ใบเสร็จรับเงิน / หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (ที่กิจการให้ลูกค้า)
    2. ใบแจ้งหนี้ / ใบกำกับภาษี / ใบเสร็จรับเงิน / หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (ที่ได้รับจากคู่ค้า)
    3. Bank Statement หรือสมุดบัญชีธนาคาร
    4. รายงานสรุปการจ่ายเงินเดือนพนักงาน (กรณีมีพนักงาน)
    5. การใช้บริการจ่ายค่าเช่าจากบริษัท / บุคคลอื่น
    6. เอกสารสัญญาทุกชนิด
    7. รายงานสินค้าคงเหลือ

 

 

ข้อดีของการ จดทะเบียนบริษัท รู้ก่อนไม่มีพลาด!

จากเนื้อหาที่ทางเราได้นำเสนอในข้างต้น อาจจะเป็นตัวช่วยทำให้คุณตัดสินใจได้ว่า ควรจดทะเบียนบริษัทดีหรือไม่ โดยในหัวข้อนี้เราได้รวบรวมข้อดี ของการจดทะเบียนบริษัท ที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้! ได้แก่

  • จ่ายภาษีน้อยกว่าบุคคลธรรมดา
  • ปีไหนธุรกิจขาดทุนก็ไม่ต้องเสียภาษี
  • มีความน่าเชื่อถือกว่า
  • ขยายธุรกิจได้ง่ายกว่า

หากกล่าวโดยสรุปคือ การจดทะเบียนบริษัท เป็นแนวทางที่เอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจของคุณมากที่สุด แต่หลังจากที่จดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคลแล้ว เจ้าของธุรกิจอย่าลืมที่จะให้ความสำคัญกับการทำบัญชีและภาษี โดยพิจารณาเลือกสำนักงานบัญชีที่มีประสบการณ์ สามารถให้คำปรึกษาในเรื่องของบัญชีและภาษี ให้กับกิจการได้อย่างมืออาชีพ ถ้าหากคุณกำลังตามหาสำนักงานบัญชีที่มีคุณสมบัติเหล่านี้อยู่ ขอแนะนำ บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด สำนักงาน รับทำบัญชี และจัดทำงบการเงิน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโต และมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น

  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ

 

 

สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…

Facebook : NarinthongOfficial

E-mail : narinthong.ac@gmail.com

Line : @Narinthong

Tel : 081-627-6872 02-404-2339

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ และคุกกี้ในส่วนการตลาด

    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน และคุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บันทึกการตั้งค่า