วิธีการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่คุณห้ามพลาด!

ใครหลายคนมักจะรู้จักกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT กันอย่างคุ้นเคย เมื่อไหร่ที่มีการซื้อสินค้าหรือบริการ จะสามารถเห็นในใบเสร็จหรือใบกำกับภาษีได้เลยว่าโดนหักเพิ่ม 7 % คือ ภาษีที่เรียกเก็บเพิ่มกับผู้ซื้อสินค้า แล้วทางผู้ประกอบการต้องนำส่งให้กับทางกรมสรรพากร โดยการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะมีเกณฑ์ที่ถูกตั้งเอาไว้ตามกฎหมาย และหากไม่ดำเนินการจดทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนดก็ต้องรับโทษ

วันนี้ นรินทร์ทอง จึงได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเอาไว้ในบทความนี้ เพื่อช่วยให้คุณได้เข้าใจกับภาษีมูลค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้น ว่ามีวิธีการจดทะเบียนอย่างไร และถ้าละเลยการจดทะเบียนจะได้รับโทษอะไรบ้าง

 

ภาษีมูลค่าเพิ่ม คืออะไร ?

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT (Value Added Tax) คือ การเรียกเก็บภาษีเพิ่มจากการซื้อขายสินค้าหรือบริการ ในอัตรา 7% โดยนำส่งให้กับทางกรมสรรพากร ไม่ว่าจะเป็นการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากภายในประเทศและสินค้านำเข้า

ทางกฎหมายจะมีข้อบังคับ สำหรับผู้มีรายได้จากการทำธุรกิจมากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน (นับตั้งแต่วันที่มีรายได้ถึงเกณฑ์)

บุคคลที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี
  • เจ้าของธุรกิจที่ประกอบกิจการ ตามข้อบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้าง, ก่อสร้างสำนักงาน, โรงงาน หรือติดตั้งเครื่องจักร เป็นต้น
  • เจ้าของธุรกิจที่อยู่นอกประเทศ แต่มีการขายสินค้าหรือบริการในไทย และตัวแทนก็อยู่ในไทย จะต้องรับผิดชอบต่อการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

วิธีการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

1 – ยื่นแบบคำขอผ่านทางอินเทอร์เน็ต

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

การยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นวิธีที่สามารถทำได้ตลอด 24 ชม. เพราะมาในรูปแบบของออนไลน์ สามารถจดได้ที่เว็บไซต์ www.rd.go.th โดยเข้าผ่าน Browser IE (Internet Explorer) หรือที่ใช้กันปัจจุบันเป็น Microsoft Edge

  • ในหน้านี้จะมีรายละเอียดการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม หากต้องการยื่นคำขอของการจดทะเบียน คลิก “บริการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม”

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ให้อ่านรายละเอียดและเงื่อนไขอย่างครบถ้วนก่อนการจดทะเบียน หากต้องการขอจด คลิก “ยืนยันการจดทะเบียน”
  • ต่อมาเป็นการแจ้งว่า เราจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีไหน คือ มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี หรือ ธุรกิจได้รับการยกเว้น หรือ รายได้ไม่ถึงเกณฑ์ แต่ต้องการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • กรณีที่เป็นผู้มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คลิก “ท่านมีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องจดทะเบียน 1,800,000 บาทต่อปี หรือผู้ส่งออก”
  • ระบบจะแสดงหน้ากิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยให้เราเลือกข้อ 1 หรือ “ผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่มีรายรับเกิน 1,800,000 บาทต่อปี” และ คลิก “ยืนยันการจดทะเบียน”

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ทางระบบจะเปิดหน้าต่างใหม่ขึ้นมา เพื่อให้เรากรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร จำนวน 13 หลัก และ คลิก “ตกลง”
  • หลังจากนั้นให้คุณกรอกรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) อย่าง ชื่อผู้ประกอบการและที่ตั้งสถานประกอบการ โดยตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลให้ครบถ้วน คลิก “ตกลง”

  • หากยืนยันการยื่นแบบคำขอจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ระบบขึ้นหน้าที่แสดงชื่อผู้ประกอบการ, เลขประจำตัวผู้เสียภาษี, สถานะการยื่นแบบ และวันที่ยื่น พร้อมกับรหัสผู้ใช้ – รหัสผ่านเอาไว้ให้
  • แนะนำให้คุณ คลิก “พิมพ์แบบ ภ.พ.01” เก็บเอาไว้ และรอการตรวจสอบข้อมูลที่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม เท่านี้ก็ยื่นคำขอเสร็จเรียบร้อย

>>>อ่าน คู่มือการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทางอินเทอร์เน็ต เพิ่มเติมได้ที่นี่!<<<

 

2 – ยื่นแบบคำขอด้วยกระดาษ

วิธีการจดภาษีมูลค่าเพิ่มแบบยื่นคำขอด้วยกระดาษ เป็นการจดทะเบียนที่ต้องนำส่งเอกสาร หากสถานประกอบการอยู่ในเขตกรุงเทพฯ ให้ยื่นที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่, นอกเขตกรุงเทพฯ ให้ยื่นที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา และถ้าผู้ประกอบการอยู่ในการกำกับดูแลของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ยื่นได้ที่กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ โดยมีเอกสารที่ต้องเตรียม ดังนี้

  • แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.01 จำนวน 3 ฉบับ
  • สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบการ หรือกรรมการผู้มีอำนาจ จำนวน 1 ฉบับ
  • สำเนาทะเบียนบ้านของสถานที่ตั้งประกอบการ จำนวน 1 ฉบับ
  • กรณีที่ให้เช่าสถานที่ตั้งของสำนักงาน ต้องมีสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ให้เช่า 1 ฉบับ, สัญญาเช่า 1 ฉบับ พร้อมกับหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ 1 ฉบับ
  • แผนที่ตั้งของสำนักงาน (ถ่ายให้เห็นบ้านเลขที่) จำนวน 2 ฉบับ
  • รูปภาพภายใน – ภายนอกของสำนักงาน อย่างต่ำ 4 ภาพ จำนวน 2 ชุด
  • สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์, ภาพถ่ายหนังสือการจัดตั้งคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล และสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์ จำนวนละ 1 ฉบับ
  • หนังสือมอบอำนาจ จำนวน 1 ฉบับ ในกรณีที่ให้บุคคลอื่นยื่นจดทะเบียนแทนผู้มีอำนาจ

 

หากไม่จดภาษีมูลค่าเพิ่มจะได้รับโทษอะไรบ้าง?

อย่างที่กล่าวไปในตอนต้น การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถือว่าเป็นข้อบังคับตามกฎหมาย ในกรณีที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านต่อปี แต่สำหรับใครที่ละเลยหรือหลีกเลี่ยงการจดทะเบียน จะได้รับโทษและเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ดังนี้

  • จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
  • ถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง นับตั้งแต่วันที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี
  • ต้องเสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน และช่วงที่เป็นเศษของเดือน จะถูกนับว่าเป็น 1 เดือน
  • เสียค่าปรับเป็น 2 เท่า ของภาษีที่จะต้องจ่ายในแต่ละเดือน
  • ภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในเดือนนั้น จะไม่สามารถนำมาหักภาษีขายได้

 

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะมีข้อบังคับทันทีที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และต้องทำการจดทะเบียนภายในระยะเวลา 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ถึงเกณฑ์ ถ้าไม่จดจะได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าจะเป็น การถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง, เสียค่าปรับเพิ่มจากภาษีในแต่ละเดือน และทั้งจำทั้งปรับ เป็นต้น

สำหรับใครที่รู้ตัวแล้วว่าตัวเองมีโอกาสที่รายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ก็ต้องเตรียมตัวยื่นคำขอจดทะเบียนตามที่ตัวเองสะดวกว่า ยื่นแบบออนไลน์หรือยื่นที่กรมสรรพากร หากการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำให้คุณสับสนว่าข้อมูลที่กรอกและเอกสารที่ยื่นถูกต้องหรือไม่ สามารถปรึกษากับทางสำนักงานบัญชี นรินทร์ทอง ก่อนได้ค่ะ

 

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเรื่องง่าย ต้องที่นรินทร์ทอง!

บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโตและมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น

  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ

 

หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…

Facebook : NarinthongOfficial

E-mail : narinthong.ac@gmail.com

Line : @Narinthong

Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ และคุกกี้ในส่วนการตลาด

    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน และคุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บันทึกการตั้งค่า