จด บริษัท

จดบริษัท ประหยัดภาษีจริงไหม ?

สำหรับใครที่มีแนวโน้มอยากวางแผนเปิดธุรกิจเป็นของตัวเอง หนึ่งในคำถามที่มักจะเกิดขึ้นคือ “การจดทะเบียนบริษัทสามารถช่วยประหยัดภาษีได้จริงหรือไม่?” เพราะการจดทะเบียนนิติบุคคลในแต่ละรูปแบบ ต่างก็มีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันออกไป ดังนั้นสำหรับใครที่ต้องการจดทะเบียนบริษัทแล้วอยากรู้ว่า การ จดบริษัท ดีจริงไหม ช่วยประหยัดภาษีได้หรือไหม? วันนี้ นรินทร์ทอง ได้เตรียมข้อมูลในด้านต่างๆ เกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัทมาไว้ให้คุณแล้วในบทความนี้!

 

จดบริษัทประหยัดภาษีจริงไหม

เหตุผลสำคัญที่คนส่วนใหญ่ จดบริษัท นั่นเป็นเพราะส่วนหนึ่งมักคิดว่าการจดทะเบียนบริษัท จะทำให้ประหยัดภาษีมากกว่าการทำธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา เพราะถ้าหากมองจากอัตราภาษีคร่าวๆ แล้ว ภาษีบุคคลธรรมดาจะมีเพดานสูงสุดอยู่ที่ 35% และคิดด้วยอัตราก้าวหน้า ในขณะที่การประกอบธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล จะมีอัตราภาษีเพียงแค่ 15-20% เท่านั้น ซึ่งในหัวข้อนี้ นรินทร์ทอง เราได้นำข้อมูลของอัตราภาษีบุคคลธรรมดา มาเปรียบเทียบกับนิติบุคคล เพื่อให้ทุกคนเข้าใจถึงอัตราการเสียภาษีของทั้ง 2 รูปแบบ

เปรียบเทียบอัตราภาษีบุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล SMEs

การเปรียบเทียบอัตราภาษีบุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล จะมีวิธีการคำนวณคือ เงินได้สุทธิ = เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน โดยภาษีสำหรับบุคคลธรรมดานั้น จะคิดบนอัตราก้าวหน้าตั้งแต่ 0-35% แต่สำหรับบริษัทจะเสียภาษีที่อัตราคงที่ ซึ่งถ้าเป็นกิจการขนาดเล็ก SMEs จะไม่เสียภาษีสำหรับกำไร 300,000 บาทแรก 15% สำหรับฐานภาษีระหว่างช่วง 300,001-3,000,000 บาท และ 20% หลังจากนั้น และบริษัททั่วไปที่ไม่ใช่กิจการ SMEs จะเสียภาษีที่อัตราคงที่ 20% ทุกช่วงกำไรสุทธิ 

ในกรณีที่ทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา ถ้าหากเงินได้สุทธิมีจำนวนน้อย การทำธุรกิจในฐานบุคคลธรรมดาจะมีอัตราภาษีที่น้อยกว่า แต่ถ้าหากธุรกิจมีรายได้มาก และคาดการณ์ว่าจะเติบโตอีกในอนาคต การจดทะเบียนบริษัทจะช่วยให้เสียภาษีในอัตราที่ถูกกว่า ซึ่งสามารถนำเปรียบเทียบในรูปแบบตารางได้ดังนี้

จด บริษัท

  • อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 
  1. เงินได้สุทธิ 1-150,000 บาท รายได้สุทธิ 0%
    จะได้รับการยกเว้นภาษี
  2. เงินได้สุทธิ 150,001-300,000 บาท รายได้สุทธิ 5%
    จะต้องชำระอัตราภาษี 5%
  3. เงินได้สุทธิ 300,001-500,000 บาท รายได้สุทธิ 10%
    จะต้องชำระอัตราภาษี 10%
  4. เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บาท รายได้สุทธิ 15%
    จะต้องชำระอัตราภาษี 15%
  5. เงินได้สุทธิ 750,001 – 1,000,000 บาท รายได้สุทธิ 20%
    จะต้องชำระอัตราภาษี 20%
  6. เงินได้สุทธิ 1,000,001 – 2,000,000 บาท รายได้สุทธิ 25%
    จะต้องชำระอัตราภาษี 25%
  7. เงินได้สุทธิ 2,000,001 – 3,000,000 บาท รายได้สุทธิ 30%
    จะต้องชำระอัตราภาษี 30%
  8. เงินได้สุทธิ 3,000,001 – 5,000,000 บาท รายได้สุทธิ 30%
    จะต้องชำระอัตราภาษี 30%
  9. เงินได้สุทธิมากกว่า 5,000,001 บาทขึ้นไป รายได้สุทธิ 35%
    จะต้องชำระอัตราภาษี 35%
  • อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล SMEs
  1. เงินได้สุทธิ 1-150,000 บาท กำไรสุทธิ 0%
    จะได้รับการยกเว้นภาษี
  2. เงินได้สุทธิ 150,001-300,000 บาท กำไรสุทธิ 0%
    จะได้รับการยกเว้นภาษี
  3. เงินได้สุทธิ 300,001-500,000 บาท กำไรสุทธิ 15%
    จะต้องชำระอัตราภาษี 15%
  4. เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บาท กำไรสุทธิ 15%
    จะต้องชำระอัตราภาษี 15%
  5. เงินได้สุทธิ 750,001 – 1,000,000 บาท กำไรสุทธิ 15%
    จะต้องชำระอัตราภาษี 15%
  6. เงินได้สุทธิ 1,000,001 – 2,000,000 บาท กำไรสุทธิ 15%
    จะต้องชำระอัตราภาษี 15%
  7. เงินได้สุทธิ 2,000,001 – 5,000,000 บาท กำไรสุทธิ 15%
    จะต้องชำระอัตราภาษี 15%
  8. เงินได้สุทธิ 3,000,001 – 5,000,000 บาท กำไรสุทธิ 20%
    จะต้องชำระอัตราภาษี 20%
  9. เงินได้สุทธิมากกว่า 5,000,001 บาทขึ้นไป กำไรสุทธิ 20%
    จะต้องชำระอัตราภาษี 20%
  • อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
  1. เงินได้สุทธิ 1-150,000 บาท กำไรสุทธิ 20%
    จะต้องชำระอัตราภาษี 20%
  2. เงินได้สุทธิ 150,001-300,000 บาท กำไรสุทธิ 20%
    จะต้องชำระอัตราภาษี 20%
  3. เงินได้สุทธิ 300,001-500,000 บาท กำไรสุทธิ 20%
    จะต้องชำระอัตราภาษี 20%
  4. เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บาท กำไรสุทธิ 20%
    จะต้องชำระอัตราภาษี 20%
  5. เงินได้สุทธิ 750,001 – 1,000,000 บาท กำไรสุทธิ 20%
    จะต้องชำระอัตราภาษี 20%
  6. เงินได้สุทธิ 1,000,001 – 2,000,000 บาท กำไรสุทธิ 20%
    จะต้องชำระอัตราภาษี 20%
  7. เงินได้สุทธิ 2,000,001 – 5,000,000 บาท กำไรสุทธิ 20%
    จะต้องชำระอัตราภาษี 20%
  8. เงินได้สุทธิ 3,000,001 – 5,000,000 บาท กำไรสุทธิ 20%
    จะต้องชำระอัตราภาษี 20%
  9. เงินได้สุทธิมากกว่า 5,000,001 บาทขึ้นไป กำไรสุทธิ 20%
    จะต้องชำระอัตราภาษี 20%

– สำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีรายได้ไม่มาก เหมาะสมกับธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล SMEs

– ธุรกิจที่มีรายได้มากและไม่เข้าเงื่อนไขเป็น SMEs เหมาะที่จะประกอบธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลมากกว่า การประกอบกิจการในฐานะบุคคลธรรมดา

 

ค่าใช้จ่ายแฝงในการ จดบริษัท

จด บริษัท

การประกอบธุรกิจในรูปแบบบริษัท ส่วนใหญ่หวังใช้ประโยชน์จากอัตราภาษีที่ถูกกว่าแบบบุคคลธรรมดา แต่ก็อย่าลืมว่าต้องแลกมาด้วยการจัดทำเอกสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การทำบัญชี การจัดส่งภาษี การจัดส่งงบการเงิน การจัดทำเอกสารรายได้ เอกสารค่าใช้จ่าย และอื่นๆ อีกมากมาย ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ แต่ถ้าหากไม่อยากเสียเวลาจัดทำเอกสารต่างๆ เหล่านี้ คุณสามารถจ้างสำนักงานบัญชี หรือผู้ให้บริการ รับจดทะเบียนบริษัทออนไลน์

เพื่อจัดการภาระเหล่านี้ได้ โดยจะมีค่าใช้จ่ายรายเดือน ซึ่งราคาจะขึ้นอยู่กับจำนวนเอกสาร และความซับซ้อนทางธุรกิจ นอกจากนี้นิติบุคคลทุกที่ จะต้องมีการนำส่งงบการเงินให้กับกรมพัฒน์ ซึ่งก่อนจะนำส่งได้ ต้องมีการเซ็นรับรองความถูกต้องของงบโดยผู้สอบบัญชีก่อน ดังนั้นค่าสอบบัญชีก็เป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ โดยราคาจะขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและความซับซ้อนทางธุรกิจ ดังนั้นสิ่งเหล่านี้เองจะนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายแฝงต่างๆ ที่ผู้ประกอบการต้องเตรียมรับมือ

โดยสรุปแล้วค่าใช้จ่ายแฝงที่ควรคิดเพิ่มเข้าไป ได้แก่ ค่าทำบัญชี การจัดส่งภาษี งบการเงิน และค่าตรวจสอบบัญชี เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้วหากคุณไม่ได้ติดปัญหาใดๆ เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่างๆ เหล่านี้ ก็แสดงว่าคุณพร้อมแล้วที่จะเปลี่ยนผ่านธุรกิจ จากบุคคลธรรมดามาเป็นรูปแบบนิติบุคคลเต็มตัว จากนั้นก็สามารถเริ่มจดทะเบียนบริษัทกันได้เลย

 

ใครควรจดทะเบียนบริษัท ?

จด บริษัท

จากเนื้อหาในข้างต้นจะเห็นว่า บุคคลที่พร้อมจดทะเบียนบริษัท คือ ผู้ประกอบการที่ธุรกิจเริ่มมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งถ้าหากคุณดำเนินธุรกิจในฐานะบุคคลธรรมดา และต้องเสียอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงกว่า 20% หรือมีรายได้สุทธิ (รายได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย) มากกว่า 750,000 บาทขึ้นไป นั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคุณควรจดทะเบียนบริษัททันที ซึ่งนอกจากรายได้และกำไรแล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่เป็นตัวช่วยตัดสินใจว่า คุณควรจดทะเบียนบริษัทหรือไม่ คือ การนำเอาปัจจัยต่างๆ ได้แก่ รายได้ ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนของกิจการ มาคำนวณภาษีเปรียบเทียบกัน ทั้งแบบบุคคลธรรมดา และแบบนิติบุคคล หากใครที่ประกอบธุรกิจสนใจจะ จด บริษัท สามารถอ่านข้อมูลเกี่ยวกับ การจดทะเบียนบริษัท ต้องมีรายได้เท่าไร? เพิ่มเติมได้ที่บทความของนรินทร์ทอง

 

 

สรุป จดทะเบียนบริษัท ประหยัดภาษีจริงไหม

โดยสรุปแล้ว การจดทะเบียนบริษัทเป็นรูปแบบนิติบุคคล สามารถช่วยประหยัดภาษีได้มากกว่ารูปแบบบุคคลธรรมดาจริง และยังส่งผลดีต่อบริษัทในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาษี การหักค่าใช้จ่ายที่สามารถหักได้ตามจริง และ ยังเพิ่มความน่าเชื่อถือของธุรกิจ รวมทั้งยังสร้างโอกาสในการขอสินเชื่อ เพื่อพัฒนาธุรกิจของผู้ประกอบการ และสร้างความถูกต้องในเรื่องของกฎหมาย เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าการจดทะเบียนย่อมสร้างประโยชน์มากกว่าโทษ และถ้าหากผู้ประกอบการท่านใดที่อยากหาผู้ช่วยที่สามารถให้คำปรึกษา ในเรื่องของบัญชีและภาษีให้กับกิจการของคุณได้อย่างมืออาชีพ ขอแนะนำ บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด ให้บริการ รับทำบัญชี และจัดทำงบการเงิน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโต และมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น

  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ

สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…

Facebook : NarinthongOfficial

E-mail : narinthong.ac@gmail.com

Line : @Narinthong

Tel : 081-627-6872 02-404-2339

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ และคุกกี้ในส่วนการตลาด

    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน และคุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บันทึกการตั้งค่า