จดเพิ่มวัตถุประสงค์ ของบริษัท มีขั้นตอนอย่างไร กับเรา Narinthong

ในตอนที่คุณจดทะเบียนบริษัท จะต้องมีการยื่นวัตถุประสงค์ของบริษัทร่วมด้วย เพื่อเป็นการระบุว่าธุรกิจที่คุณกำลังดำเนินอยู่ในประเภทไหน แต่สำหรับใครที่ทำธุรกิจไปสักระยะหนึ่งแล้วรู้สึกว่า สิ่งที่ตัวเองกำลังทำอยู่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ระบุเอาไว้ หรือต้องการ จดเพิ่มวัตถุประสงค์ ต่อการขยายธุรกิจ

ทาง นรินทร์ทอง จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจดเพิ่มวัตถุของบริษัทเอาไว้ในบทความนี้ เพื่อช่วยให้คุณได้รู้ว่ามีขั้นตอนอย่างไร และวัตถุประสงค์ที่จดมีความสำคัญในจุดไหน พร้อมแล้วไปอ่านบทความนี้กันเลย!

 

การ จดเพิ่มวัตถุประสงค์ คือ

จดเพิ่มวัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ของบริษัทเป็นสิ่งที่คุณจะต้องแจ้งตั้งแต่ช่วงที่ทำการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ในกรณีที่คุณได้ดำเนินธุรกิจไปสักระยะหนึ่ง แล้วต้องการประกอบกิจการเพิ่มจากที่จดทะเบียนเอาไว้ หรืออยากแก้ไขวัตถุประสงค์อันเก่า ต้องการทำจดเพิ่มวัตถุประสงค์ เพื่อทำให้ข้อมูลที่จดทะเบียนถูกต้องและตรงกับประเภทธุรกิจที่ทำอยู่

แต่การแก้ไขวัตถุประสงค์ในครั้งนี้ อยากให้คุณกำหนดวัตถุประสงค์เอาไว้ก่อน เพื่อเป็นการช่วยให้คุณได้วางแผนเอาไว้ล่วงหน้า โดยสามารถทำได้ 2 วิธี คือ

  • กำหนดแบบกว้าง ถือว่าเป็นการกำหนดที่สร้างความคล่องตัวในการทำธุรกิจได้เป็นอย่างดี ไม่ต้องกังวลว่าจะมีการแก้ไขอีกครั้งอย่างแน่นอน แต่การที่วัตถุประสงค์กว้างอาจทำให้ผู้ประกอบการเกิดความสับสน เพราะเส้นทางในการดำเนินธุรกิจไม่ชัดเจน จนส่งผลกระทบที่สร้างความเสียหายให้กับบริษัทได้ในอนาคต
  • กำหนดแบบแคบ เรียกได้ว่าเป็นการกำหนดแบบจำกัด จะช่วยให้คุณเห็นวัตถุประสงค์หรือประเภทของธุรกิจได้ชัดเจน มั่นใจในทิศทางของการทำงาน เพราะถือว่าเป็นการดำเนินงานตามความถนัดขององค์กร

 

ขั้นตอนการจดเพิ่มวัตถุประสงค์มีอะไรบ้าง?

จดเพิ่มวัตถุประสงค์

ขั้นตอนที่ 1 : ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น

หากตัดสินใจแล้วว่าต้องการเพิ่มวัตถุประสงค์ของบริษัท เพราะเห็นว่ากิจการที่กำลังดำเนินอยู่เริ่มไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ ให้คุณออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งต้องแจ้งให้กับทางผู้ถือหุ้นได้ทราบ จากการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่ 1 ครั้ง, ส่งหนังสือให้ทางไปรษณีย์เพื่อตอบรับ หรือส่งมอบให้ผู้ถือหุ้นกับตัว

โดยต้องประกาศให้ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 14 วัน และไม่นับวันที่ประกาศกับวันที่ประชุม เช่น มีการนัดประชุมวันที่ 20 ก็ต้องประกาศตั้งแต่วันที่ 5 ระบุวาระการประชุมด้วยว่า เรื่องแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ของบริษัท ก็คือ แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 3. และ/หรือ แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของบริษัท

ขั้นตอนที่ 2 : จัดประชุมผู้ถือหุ้น

ในการประชุมจะมีวาระที่ให้พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ของบริษัท และแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อที่ 3 หรือวัตถุที่ประสงค์ของบริษัท โดยมีมติลงคะแนนแบบเสียงข้างมากที่ต้องไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมด ที่ผู้ถือหุ้นเข้ามาร่วมประชุม แต่ถ้าต้องการเพิ่มวาระอื่นๆ ที่อยากจะพูดคุยก็สามารถดำเนินการต่อได้

ขั้นตอนที่ 3 : ยื่นคำขอจดทะเบียน 

หลังจากที่ได้ข้อสรุปจากการประชุมเรียบร้อยแล้ว สามารถดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับได้ โดยผู้ที่มีอำนาจในการจัดทำคำขอคือกรรมการ ที่ต้องทำรายการแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อที่ 3 แล้วยื่นคำขอให้กับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายในระยะเวลา 14 วัน (นับจากวันที่มีมติ) ซึ่งมีเอกสารที่ใช้ ดังนี้

  • แบบ บอจ.1 : คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด
  • แบบคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
  • แบบ บอจ.4 : รายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ/หรือมติพิเศษ
  • แบบ ว. (แบบวัตถุประสงค์) : จะต้องระบุวัตถุที่ประสงค์ทั้งหมดที่มีมติพิเศษให้แก้ไขแล้ว
  • หนังสือบริคณห์สนธิที่เป็นฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
  • แบบ สสช. 1 :  มีการกรอกเฉพาะข้อที่ 1 และ 6
  • สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
  • สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
  • หนังสือมอบอำนาจ (ในกรณีที่ดำเนินการแทนกรรมการ)

 

มีหน่วยงานไหนอีกบ้างที่ต้องดำเนินยื่นเรื่อง?

  • กรมสรรพากร ในกรณีที่ธุรกิจมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สิ่งที่คุณต้องทำต่อหลังจากที่ยื่นคำขอกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว ให้ยื่นเรื่องแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเภทกิจการ โดยนำแบบ ภ.พ.09 ส่งกรมสรรพากร ภายในระยะเวลา 15 วัน นับตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นการอัปเดตข้อมูลให้มีสถานะเป็นปัจจุบันและถูกต้อง
  • สำนักงานประกันสังคม หากบริษัทของคุณมีการขึ้นทะเบียนนายจ้างเอาไว้ แล้วทำการเปลี่ยนวัตถุประสงค์ที่อาจมีความเกี่ยวข้องกับรายได้รวมของบริษัท หรือส่งผลต่อการคำนวณเงินสมทบของกองทุนเงินทดแทนประจำปี คุณต้องยื่นเรื่องแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลของนายจ้าง (แบบ สปส. 6-15) ไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ให้กับสำนักงานประกันสังคม

การจดเพิ่มวัตถุประสงค์หรือแก้ไขวัตถุประสงค์บริษัทถือว่าเป็นขั้นตอน ที่มีโอกาสเกิดขึ้นหลังจากที่จดทะเบียนบริษัทไปเรียบร้อยแล้ว เพราะบางทีวัตถุประสงค์ในตอนแรกที่คุณจดอาจเริ่มไม่ตรงกับธุรกิจ หรือวัตถุประสงค์แคบเกินไป ต้องการขยายความให้เข้าถึงประเภทธุรกิจนั้นๆ ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น นอกจากเรื่องของการนัดประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว ยังมีเรื่องของเอกสารที่ต้องยื่นร่วมด้วย หากใครที่ไม่ต้องการให้เอกสารเป็นเรื่องที่น่าวุ่นวาย และกังวลว่าจะมีการยื่นไม่ครบหรือผิดที่ ขอคำปรึกษาได้จาก นรินทร์ทอง !

 

อยากให้การจดทะเบียนเพิ่มสาขาเป็นเรื่องง่าย ต้องที่ นรินทร์ทอง !

บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชี และภาษี รวมไปถึงการจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น

  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ

 

นรินทร์ทองอยากให้ธุรกิจของคุณพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดด

และรู้ทุกการเคลื่อนไหวทางการเงิน เพื่อให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

 

หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…

Facebook : NarinthongOfficial

E-mail : narinthong.ac@gmail.com

Line : @Narinthong

Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ และคุกกี้ในส่วนการตลาด

    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน และคุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บันทึกการตั้งค่า