ประเภทของธุรกิจ ที่ผู้ประกอบการมือใหม่ต้องรู้!

การเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนอันดับแรก คือ ประเภทของธุรกิจ เพราะนอกจากการทำธุรกิจที่ได้รับผลตอบแทนหรือกำไรแล้ว ยังมีเรื่องของทิศทางการดำเนินงาน เพื่อช่วยให้คุณไปถึงเป้าหมายได้ตรงจุด และบริหารจัดการเกี่ยวกับการเงินอย่างลงตัว ทาง นรินทร์ทอง จะพาคุณมาทำความรู้จักกับประเภทของธุรกิจว่า มีรูปแบบการทำธุรกิจอย่างไร และการทำธุรกิจแบบไหนเหมาะกับคุณ!

 

ประเภทของธุรกิจ มีทั้งหมดกี่แบบ

การทำธุรกิจนับว่าเป็นกิจการในรูปแบบของการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ และขนาดของธุรกิจมีตั้งแต่ขนาดเล็ก, ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ซึ่งการเป็นเจ้าของธุรกิจสามารถมีเพียงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ขึ้นอยู่กับการลงทุนร่วมกัน โดยประเภทของธุรกิจจะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

1 – บุคคลธรรมดา

ประเภทของธุรกิจ

ลักษณะของธุรกิจที่เป็นแบบบุคคลธรรมดา ส่วนมากจะเป็นบุคคลที่ประกอบธุรกิจส่วนตัวหรือธุรกิจขนาดเล็ก จึงทำให้เจ้าของเป็นผู้ดำเนินกิจการทั้งหมดเอง โดยไม่มีการจดทะเบียนบริษัทตามกฎหมาย แต่อาจจดทะเบียนพาณิชย์

กิจการเจ้าของคนเดียว

ถือว่าเป็นบุคคลที่ประกอบธุรกิจคนเดียวและเป็นเจ้าของกิจการ เมื่อดำเนินธุรกิจไปสักพักแล้วได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนทั้งกำไรและขาดทุน เพราะเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบหนี้สินทั้งหมดที่เกิดขึ้น หากยกตัวอย่างร้านค้าหรือบริการที่สามารถเห็นได้ทั่วไป อย่าง ร้านขายของชำ, ร้านขายเสื้อผ้า และร้านเสริมสวย เป็นต้น

ในกรณีที่กิจการถูกจัดว่าอยู่ในประเภทตาม พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มดำเนินกิจการ โดยไม่ได้กำหนดว่าต้องมีรายได้เป็นจำนวนเท่าไหร่ ถ้าไม่จดให้ถูกต้องตามกฎหมาย จะได้รับโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และปรับเพิ่มอีกวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะจดทะเบียน

ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน

มีชื่อที่เราคุ้นหูกัน ‘ห้างหุ้นส่วนสามัญ’ คือ การทำกิจการร่วมกันระหว่าง 2 คนขึ้นไป ที่สมัครใจต่อการดำเนินธุรกิจร่วมกัน ซึ่งอาจมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่มีก็ได้ แต่ต้องนำสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาลงทุน เช่น เงิน, ทรัพย์สิน และแรงงาน เมื่อได้รับผลกำไรจากธุรกิจจะนำมาแบ่งร่วมกัน

สำหรับห้างหุ้นส่วนสามัญสามารถจัดตั้งได้ง่ายและมีความเสี่ยงน้อยกว่าการทำธุรกิจคนเดียว เพราะอีกคนที่เป็นหุ้นส่วนจะต้องช่วยแบ่งเบาภาระหรือรับผิดชอบหนี้สินที่เกิดขึ้น โดยทางกฎหมายไม่ได้บังคับให้คุณต้องจดทะเบียนนิติบุคคล

 

ทั้ง ‘กิจการเจ้าของคนเดียว’ และ ‘ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน’ เป็นการทำธุรกิจของบุคคลธรรมดา แต่ขึ้นอยู่กับว่าทำเพียงคนเดียว รับผิดชอบทุกอย่างที่เกิดขึ้นในกิจการ หรือมีคนมาร่วมลงทุนธุรกิจด้วยกัน เพื่อแบ่งเบาผลกระทบที่มีโอกาสเกิดขึ้นในอนาคต

 

2 – นิติบุคคล

ประเภทธุรกิจแบบนิติบุคคล จะเป็นลำดับถัดไปจากบุคคลธรรมดา ที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทตามกฎหมาย มีจำนวนผู้ถือหุ้นร่วมด้วยนอกเหนือจากเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว และการดำเนินธุรกิจไม่ได้ทำงานเพียงลำพังหรือสามารถตัดสินใจได้เลยแบบบุคคลธรรมดา เพราะถือว่าอยู่ในนามของกิจการทั้งหมด ดังนี้

ห้างหุ้นส่วน

  • ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เป็นห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนตามกฎหมาย เพื่อเป็นนิติบุคคล โดยบุคคลที่เป็นหุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับผิดชอบหนี้สินที่เกิดขึ้นทั้งหมดของกิจการ ไม่ได้ถูกกำหนดว่าบุคคลนี้ต้องรับผิดชอบในสัดส่วนเท่าไหร่ และผู้ถือหุ้นทุกคนมีสิทธิ์ในกิจการอย่างเท่าเทียมกัน
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่ร่วมลงทุนในกิจการ และมีสิทธิ์ในการดำเนินงานตามที่กฎหมายกำหนด โดยลักษณะของห้างหุ้นส่วนมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ ‘หุ้นส่วนแบบจำกัดความรับผิด’ ตามจำนวนเงินที่ได้ลงทุนหุ้นไป การทำงานสามารถออกความเห็นหรือเป็นที่ปรึกษาของกิจการได้ แต่ไม่มีสิทธิ์ในการบริหารธุรกิจ ส่วน ‘หุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิด’ จะมีสิทธิ์ในการตัดสินใจต่อการดำเนินงาน และทุกคนต้องรับผิดชอบหนี้สินที่เกิดขึ้น

บริษัทจำกัด 

  • บริษัทเอกชนจำกัด หรือบริษัทจำกัด การที่บุคคลธรรมดาร่วมธุรกิจกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีวัตถุประสงค์ในการสร้างรายได้จากการดำเนินธุรกิจ และวางแผนที่จะเติบโตในอนาคต สามารถจดทะเบียนนิติบุคคลได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อเป็นการลงทะเบียนบริษัทให้ถูกต้องตามกฎหมาย
    โดยผู้ลงทุนหรือจดทะเบียนจะมีสถานะเป็น ‘ผู้ถือหุ้น’ มีหน้าที่รับผิดชอบตามจำนวนหุ้นที่ถือ สามารถจัดตั้งคณะกรรมการบริษัท เพื่อบริหารหรือตัดสินใจในการดำเนินงาน ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางมักนิยมจดทะเบียนบริษัทจำกัด
  • บริษัทมหาชนจำกัด ถือว่าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ เพราะต้องมีผู้ถือหุ้นมากกว่า 15 คน และมีกรรมการบริษัทไม่ต่ำกว่า 5 คน ซึ่งบริษัทมหาชนสามารถนำหุ้นออกมาจำหน่ายให้คนทั่วไปสามารถซื้อได้ โดยผู้ที่ซื้อหุ้นไปก็นับว่าเป็นเจ้าของตามสัดส่วนของหุ้นที่ซื้อ พร้อมกับผลตอบแทนที่เป็นเงินปันผล หากบริษัทเกิดการล้มละลายจะได้รับผลกระทบโดยตรง แต่ผู้ถือหุ้นจะเสียเงินที่ลงทุนเท่านั้น

>>> อ่านบทความ บริษัทจำกัด กับ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต่างกันยังไง? ได้ที่นี่ <<<

องค์กรธุรกิจจัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ

เรียกได้ว่าเป็นการจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคลภายใต้กฎหมายเฉพาะ เช่น ธุรกิจการเงิน, ธุรกิจการเกษตร, ธุรกิจก่อสร้าง และธุรกิจอาหาร เป็นต้น โดยการจดทะเบียนจะคล้ายกับบริษัทมหาชน คือ มีผู้ถือหุ้นมากกว่า 15 คน และมีกรรมการไม่น้อยกว่า 5 คน

 

รูปแบบธุรกิจของนิติบุคคล อย่าง ‘ห้างหุ้นส่วน’, ‘บริษัทจำกัด’ และ ‘องค์กรธุรกิจจัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ’ จะมีความแตกต่างกันออกไปในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผู้ถือหุ้น, หน้าที่รับผิดชอบในธุรกิจ, สิทธิ์ในการบริหารงาน และข้อกำหนดที่กฎหมายระบุเอาไว้

 

ควรทำธุรกิจในรูปแบบไหนดี?

ประเภทของธุรกิจ

ผู้ประกอบการรายใหม่ที่เริ่มต้นกิจการทุกคน ต้องเลือกว่าจะดำเนินธุรกิจในประเภทไหน โดยมีปัจจัยหลายอย่างที่นำมาประกอบการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็น เงินที่ลงทุนมีจำนวนเท่าไหร่, ลักษณะของธุรกิจเป็นการจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ และเป้าหมายในอนาคตได้วางแผนที่จะเติบโตไปถึงจุดไหน เป็นต้น

หากต้องการให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ โดยได้รับความน่าเชื่อถือ เพื่อเกิดการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจประเภทนิติบุคคล จะตอบโจทย์คุณมากกว่า ธุรกิจประเภทบุคคลธรรมดา เพราะในอนาคตมีเรื่องของการเงินหรือการเสียภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง ที่ทำให้คุณต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ในส่วนนี้

 

ความสำคัญของการรู้จักประเภทธุรกิจ ทำให้คุณได้รู้ว่าธุรกิจบุคคลธรรมดา ไม่ได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จึงเป็นเจ้าของธุรกิจที่ทำการบริหารหรือตัดสินใจในธุรกิจเอง หากธุรกิจมีปัญหาที่ทำให้เกิดหนี้สินก็ต้องรับผลกระทบ ส่วนนิติบุคคลที่ทำการจดทะเบียนจะมีผู้ก่อตั้งหลายคน เรียกได้ว่าเป็นการลงทุนร่วมกัน ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือทางธุรกิจ และมีกฎหมายเข้ามารองรับ

ถ้าคุณรู้สึกว่าการเริ่มต้นธุรกิจแบบนิติบุคคล สามารถสร้างโอกาสที่เติบโตในอนาคตได้ ทาง นรินทร์ทอง ขอเป็นผู้ช่วยที่ทำให้คุณสามารถจดทะเบียนบริษัทได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องวุ่นวายในเรื่องของเอกสาร และบริการธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ

 

ต้องการจดทะเบียนบริษัท ต้องที่นรินทร์ทอง !

บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชี และภาษี รวมไปถึงการจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น

  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ

 

นรินทร์ทองอยากให้ธุรกิจของคุณพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดด

และรู้ทุกการเคลื่อนไหวทางการเงิน เพื่อให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

 

หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…

Facebook : NarinthongOfficial

E-mail : narinthong.ac@gmail.com

Line : @Narinthong

Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ และคุกกี้ในส่วนการตลาด

    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน และคุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บันทึกการตั้งค่า