ในปัจจุบันการขายของออนไลน์ เป็นสิ่งที่ธุรกิจยุคใหม่มักจะทำกัน เพราะช่วยให้การขายสินค้าหรือบริการเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้คุณมีรายได้มากขึ้นเช่นกัน จึงส่งผลให้มีเรื่องของภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งในปี 2567 ตามแพลตฟอร์มต่างๆ ที่เป็นสื่อกลางในการขายสินค้าให้กับคุณ ต้องส่งข้อมูลให้กับทางกรมสรรพากร สำหรับใครที่เป็นเจ้าของธุรกิจและกำลังพิจารณาว่าตัวเองควร เปิดบริษัทขายของออนไลน์ หรือไม่ นรินทร์ทอง มีคำตอบให้กับคุณ!
เปิดบริษัทขายของออนไลน์ ต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง
การทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็นแบบออฟไลน์หรือออนไลน์ หากมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ ทางผู้ประกอบการต้องเสียภาษีตามปกติ โดยธนาคารต้องส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรในธุรกรรมลักษณะพิเศษ คือ ทำธุรกรรมฝาก – รับโอนเงินทุกบัญชีเกิน 3,000 ครั้งต่อปี/ธนาคาร และ ทำธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีเกิน 400 ครั้งต่อปี/ธนาคาร (มียอดเงินรวมตั้งแต่ 2,000,000 บาทขึ้นไป)
โดยในปี 2567 กรมสรรพากรได้ประกาศเพิ่มเกี่ยวกับภาษีเงินได้ที่ กำหนดให้อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มมีบัญชีพิเศษ หรือแพลตฟอร์มที่เป็นตัวกลางในการขายของออนไลน์ ระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ มีหน้าที่ในการนำส่งข้อมูลรายได้ของผู้ประกอบการทุกรายให้กับทางกรมสรรพากร
หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่ขายของออนไลน์ และอยากให้การดำเนินธุรกิจมีการเสียภาษีที่ถูกต้อง เพื่อที่จะได้ไม่ถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ควรรู้จักกับการจดทะเบียนทั้ง 3 แบบ ดังนี้
1 – การจดทะเบียนบริษัท
การจดทะเบียนบริษัท ถือว่าการเป็นการจดทะเบียนนิติบุคคล ที่มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปลงทุนร่วมกัน โดยกำหนดทุนที่จดและแบ่งสัดส่วนของหุ้นให้เรียบร้อย การดำเนินกิจการจะต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นทุกคน ไม่ได้เป็นการทำงานแบบเพียงลำพัง ซึ่งการจดทะเบียนบริษัทมีหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัด, บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด
ตามกฎหมายไม่ได้มีข้อบังคับว่าต้องจดทะเบียนบริษัทเมื่อไหร่ แต่ขึ้นอยู่กับทางผู้ประกอบการที่ขายของออนไลน์โดยตรง เพราะมีหลายปัจจัยที่อาจนำมาประกอบการตัดสินใจต่อการเปิดบริษัท เช่น ต้องการให้ธุรกิจของตัวเองมีความน่าเชื่อถือ, อยากให้มีผู้ที่เข้ามาร่วมลงทุนหลายคน หรือมองเป้าหมายเกี่ยวกับการเติบโตในอนาคต จึงจดทะเบียนบริษัท เพื่อวางแผนเรื่องของการเสียภาษีเอาไว้ก่อน เป็นต้น
>>> อ่านบทความ ขายของออนไลน์ต้องเสียภาษีไหม? ได้ที่นี่! <<<
2 – การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ใครที่เป็นเจ้าของธุรกิจออนไลน์ และต้องการยืนยันว่ากิจการที่ตัวเองกำลังดำเนินอยู่ มีการขายสินค้าหรือบริการที่ถูกต้องตามกฎหมาย บอกว่าร้านเราชื่ออะไร ใครเป็นผู้ประกอบการ แล้วสถานที่ทำธุรกิจของเราอยู่ที่ไหน เป็นต้น โดยกิจการที่เข้าข่ายประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่
- การขายสินค้าหรือบริการผ่านอินเทอร์เน็ต (e-Commerce) : ผู้ขายจะต้องขายสินค้าหรือบริการเป็นอาชีพหลัก ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
- การให้บริการทางอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP) : ถือว่าเป็นหน่วยงานที่บริการในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
- ให้เช่าพื้นที่คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting) : ผู้ให้บริการพื้นที่เว็บไซต์แบบไม่ต้องมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์
- ตัวกลางระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ (e-Marketplace) : เป็นสื่อกลางที่ทำให้ผู้ซื้อ – ผู้ขายมาเจอกัน โดยพื้นที่ของแหล่งข้อมูลมีขนาดใหญ่ ที่เก็บข้อมูลทั้งหมดเอาไว้
การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ต้องจดภายใน 30 วัน นับแต่วันแรกที่เริ่มดำเนินธุรกิจ และไม่ได้มีข้อกำหนดว่าต้องมีรายได้ถึงจำนวนเท่าไหร่ หากธุรกิจออนไลน์ของบุคคลใดเข้าข่ายที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ แต่ตัวเองไม่ได้ไปจด ถือว่ามีความผิดระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และปรับวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะไปจดให้ถูกต้องตามกฎหมาย
3 – การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
หากคุณทำธุรกิจออนไลน์แล้วมียอดขายภายในปีเกิน 1.8 ล้านบาท ต้องทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT (Value Added Tax) ในอัตรา 7% โดยเรียกเก็บเพิ่มจากการซื้อสินค้าหรือบริการของลูกค้า เพื่อที่จะได้นำส่งให้กับทางสรรพากร (ยื่นแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน) ซึ่งภาษีมูลค่าเพิ่มมีผลบังคับใช้ให้จดทะเบียนภายใน 30 วัน หากคุณมียอดขายถึงเกณฑ์ หรือจะทำการจดก่อนล่วงหน้าก็ได้
สำหรับบางคนอาจเข้าใจว่า ถ้ามีรายได้เกินที่กำหนดต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มเลย แต่มีบางกิจการที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม หรืออยากจะแจ้งขอจดก็ได้เช่นกัน คือ
- ผู้ขายสินค้าทางการเกษตร เช่น สัตว์, อาหารสัตว์, ยาที่ใช้กับพืชหรือสัตว์, ปุ๋ย, หนังสือพิมพ์, นิตยสาร และตำราเรียน
- เจ้าของกิจการที่ขายสินค้าหรือบริการ ที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีรายรับไม่ถึง 1.8 ล้านบาท ต่อปี
- กิจการที่ให้บริการเกี่ยวกับขนส่ง
- ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจส่งออก ที่อยู่ในเขตอุตสาหกรรมตามกฎหมาย (นิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย)
- กิจการที่ให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในประเทศไทย
ควรเปิดบริษัทขายของออนไลน์หรือไม่?
ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจที่พิจารณาว่า ตัวเองควรเปิดบริษัทเพื่อขายสินค้าหรือบริการออนไลน์ ต้องรู้ก่อนว่าธุรกิจที่เราทำอยู่จริงจังมากน้อยแค่ไหน เฉลี่ยแล้วมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือเปล่า เพราะการทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็นออนไลน์หรือออฟไลน์ เรื่องของการเงินเป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องมีการบริหารเป็นอย่างดี รวมไปถึงการเสียภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย จะได้ไม่โดนภาษีย้อนหลังหรือได้รับโทษแล้วมาเสียใจในภายหลัง
แต่สำหรับเจ้าของกิจการคนไหนที่กำลังขายของออนไลน์ และอยากวางแผนทางด้านการเงิน ให้ธุรกิจเติบโตในอนาคต การเลือกใช้บริการจากสำนักงานบัญชีอย่าง นรินทร์ทอง เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้เรื่องของการจดทะเบียนง่ายมากยิ่งขึ้น
ต้องการจดทะเบียนบริษัท ต้องที่นรินทร์ทอง!
บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโตและมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น
- การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
- รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
- งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
- ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339