นิติบุคคล คือ? ใครทำธุรกิจต้องรู้!!!

ไม่ว่าใครก็ตามที่เริ่มทำธุรกิจ ก็คงต้องเจอปัญหามากมายหลายเรื่อง และต้องทำความเข้าใจสิ่งใหม่ๆอีกมาก แต่สิ่งหนึ่งที่เรามักไม่คุ้นชินเลยนั่นก็คือ นิติบุคคล มันเกี่ยวข้องยังไงกับการดำเนินธุรกิจของเรา สำหรับคนธรรมดาคงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกอะไรที่จะไม่มีความรู้เรื่องนี้มากนัก แต่สำหรับคนที่กำลังจะเริ่มก่อตั้งจดทะเบียนบริษัทหรือกิจการใด ๆ จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดเพื่อเป็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจให้มั่นคง วันนี้เราเลยจะมาพูดถึงเรื่องนิติบุคคลกันว่านิติบุคคล คือ อะไร และเราควรที่จะทำธุรกิจในรูปแบบไหนถึงจะเหมาะสมกับเรา

นิติบุคคล คือ

นิติบุคคล คือ ?

นิติบุคคลในภาษาอังกฤษเรียกว่า (Juristic Persons) คือ เป็นบุคคลที่กฎหมายสมมุติขึ้น อาจจะเป็นกลุ่มบุคคลหรือองค์กรก็ได้ เช่น นิติบุคคลหมู่บ้าน ซึ่งนิติบุคคลเกิดขึ้นได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเท่านั้น ให้มีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบเหมือนกับบุคคลธรรมดา ดังนั้น นิติบุคคลจึงมีความสามารถเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เช่น

  • ความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา
  • สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินต่างๆ เช่น ที่ดิน เงิน
  • หน้าที่ในการเสียภาษี
  • การเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้

อย่างไรก็ตามสิทธิและหน้าที่บางอย่างนิติบุคคลก็ไม่สามารถทำได้เหมือนกับบุคคลธรรมดา เช่น การจดทะเบียนสมรส สิทธิในครอบครัว สิทธิทางการเมือง เป็นต้น

ประเภทของ นิติบุคคล คือ

ประเภทของนิติบุคคล 

นิติบุคคล ตามที่กฎหมายไทยได้บัญญัติไว้ สามารถแยกออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ

  1. นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด
  2.  นิติบุคคลตามกฎหมายอื่น คือ นิติบุคคลตามกฎหมายอื่นที่ไม่ใช่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น พระราชบัญญัติมหาชนจำกัด พระราชบัญญัติสหกรณ์ เป็นต้น

 

นิติบุคคลมีไว้ทำอะไร? แตกต่างจากบุคคลธรรมดาด้านใดบ้าง?

นิติบุคคลแตกต่างจากบุคคลธรรมดาอย่างไร

การทำธุรกิจรูปแบบบุคคลธรรมดา 

เหมาะสำหรับ ธุรกิจขนาดเล็ก มีความคล่องตัวในการตัดสินใจเรื่องต่างๆในทางธุรกิจ ไม่ต้องเสียเงินให้แก่ผู้ตรวจสอบบัญชี ไม่ต้องทำบัญชีธุรกิจเพื่อส่งให้กรมสรรพากร แต่!! การดำเนินธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดามีความสะดวกสบายก็จริง แต่ก็จะมีความเชื่อถือน้อยเพราะมีความเสี่ยงสูงในแง่ความรับผิดในหนี้สิน เนื่องจากเจ้าของธุรกิจต้องรับผิดชอบหนี้สินที่เกิดขึ้นเองทั้งหมด หากธุรกิจล้มละลาย เจ้าของบริษัทก็ต้องล้มละลายไปด้วย

การทำธุรกิจรูปแบบนิติบุคคล

เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดกลาง และธุรกิจขนาดใหญ่ ไม่สามารถมีเพียงคนเดียวได้ตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลในรูปแบบห้างหุ้นส่วน หรือ บริษัท ก็ตาม มีความน่าเชื่อถือมากกว่าเพราะ การเป็นนิติบุคคลทำให้บรรดาหุ้นส่วนสามารถจำกัดความเสียหายของเงินลงทุนไว้ได้แค่ส่วนที่ลงทุนไปในบริษัทเท่านั้น แต่การดำเนินธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลก็จะมีความซับซ้อนมากกว่า ต้องมีการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี พร้อมทั้งมีผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี เพื่อให้การทำบัญชีถูกต้องตามหลัก ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เล็กน้อยสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ แต่ถ้าเป็นธุรกิจขนาดเล็ก มันก็เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถมองข้ามได้ ธุรกิจเล็กหลาย ๆ เจ้าจำนวนมากจึงเห็นว่าไม่คุ้มค่าพอ ที่จะปรับธุรกิจตัวเองเป็นนิติบุคคล

ความสำคัญของ นิติบุคคล คือ

ความสำคัญของ นิติบุคคล คือ

  1. นิติบุคคลเสียอัตราภาษีที่ต่ำกว่า
 ผู้ประกอบการ SME ที่จดทะเบียนนิติบุคคลมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลดังต่อไปนี้
  • ได้รับยกเว้นภาษีจากกำไรสุทธิ 3 แสนบาทแรก
  • เสียภาษีในอัตรา 15% ของกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่เกิน 3 แสนบาทแต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท
  • เสียภาษีในอัตรา 20% ของกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่เกิน 3 ล้านบาทขึ้นไป

 แต่ในกรณีที่ไม่ใช่กิจการ SME สำหรับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นอยู่ในอัตรา 20% ของกำไรสุทธิเท่านั้น

เพิ่มเติม : หากธุรกิจทั้งสองแบบมีผลประกอบการขาดทุนทางภาษี ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลสามารถนำผลขาดทุนดังกล่าวไปใช้เป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไปได้ถึง 5 รอบระยะเวลาบัญชี (ไม่เกิน 5 ปี)

อัตราภาษี

2. การเป็นนิติบุคคลนั้นทำให้ธุรกิจดูมีความน่าเชื่อถือกว่าธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา ทำให้สถาบันทางการเงินมีความเชื่อมั่นในการปล่อยสินเชื่อให้ธุรกิจ

3. การเป็นนิติบุคคลนั้นจะต้องแยกระหว่างเงินของธุรกิจและเงินส่วนตัวของเจ้าของธุรกิจได้อย่างชัดเจน จึงทำให้เกิดความไม่สับสนระหว่างเงินทั้งสองส่วน

4. ลดค่าธรรมเนียมการโอนเหลือ 0.01% เป็นการลดค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์และห้องชุดของบุคคลธรรมดาไปให้นิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งใหม่ภายในปี 2560 จาก 2% ของราคาประเมิน เหลือเพียง 0.01%

 

 

เราจะได้สภาพนิติบุคคล อย่างไร? เริ่มเมื่อไหร่

เราจะได้เมื่อจดทะเบียนตามกฎหมาย เราจะต้องทำเรื่องยื่นขอกฎหมายรับรองหรือเรียกว่าเป็นการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

สรุป 

การที่เราจะทำธุรกิจ สิ่งหนึ่งที่เราต้องเจอเลยนั่นก็คือการจ่ายภาษี การที่เราจะเลือกทำธุรกิจในแบบบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ก็อยู่ที่ว่าลักษณะการดำเนินกิจการของเราเป็นอย่างไร จะดำเนินไปในทางไหนและมีวัตถุประสงค์อย่างไรบ้าง หากเราเป็นธุรกิจขนาดเล็กคงไม่อยากจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เพราะนั่นหมายถึงการเพิ่มภาระให้กับเราเอง แต่ถ้าเราเป็นธุรกิจขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะช่วยให้เราได้เปรียบทางด้านความน่าเชื่อถือมากขึ้น และยังได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอีกด้วย อย่างไรก็ตามการจดทะเบียนทั้งสองประเภทก็มีข้อดีและข้อเสียต่างกัน ดังนั้นผู้ประกอบการควรศึกษาและควรดูองค์ประกอบหลายๆด้านให้ดี ว่าจะดำเนินธุรกิจไปในทิศทางไหน

 

ใครมีข้อสงสัย ต้องการคำปรึกษา นรินทร์ทอง สามารถติดต่อสอบถามได้ที่…

Facebook : NarinthongOfficial

E-mail : narinthong.ac@gmail.com

Line : @Narinthong

Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ และคุกกี้ในส่วนการตลาด

    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน และคุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บันทึกการตั้งค่า