กาจดทะเบียนบริษัทสำหรับผู้ประกอบการหลายๆ คนมักมองว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยากลำบาก เพราะต้องมีขั้นตอนที่ซับซ้อนและต้องเตรียมเอกสารมากมาย แต่เมื่อเราดำเนินกิจการมาถึงจุดนึงแล้ว “การจดทะเบียนบริษัท” ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะการ จดทะเบียน บริษัทมีส่วนช่วยได้มากทั้งในแง่การสร้างความน่าเชื่อถือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน สิทธิพิเศษทางภาษี การสนับสนุนจากรัฐบาล ฯลฯ ส่วนใครยังไม่รู้ว่าควรจะจดทะเบียนแบบ หจก หรือ บริษัท ดี สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท กับ ห้างหุ้นส่วน ต่างกันยังไง? เราควรจดแบบไหนวันนี่เรามีคำตอบ!!!
สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนจดบริษัท การจดบริษัทคืออะไร? ใครที่ทราบแล้วสามารถข้ามไปขั้นตอนการจดได้เลย
การจดทะเบียนบริษัทถือว่าเป็นหนึ่งสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการไม่สามารถมองข้ามได้ เพราะมันจะช่วยให้ธุรกิจของเราเติบโตอย่างถูกต้องและถูกกฎหมาย ทำให้เราที่มีตัวตนตามกฎหมาย ซึ่งจะทำให้เราเข้าถึงแหล่งลงทุนได้ง่ายกว่าเพราะมีความน่าเชื่อถือที่มากกว่า และสิ่งที่คุณต้องทำคือการยื่นบัญชีทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น รายรับ รายจ่าย บิลการจัดซื้อสินค้า และ ใบแจ้งหนี้ต่าง ๆ ให้กับทางสรรพากร จริงอยู่ที่การจัดตั้งบริษัทจะต้องมีการจ้างคน รับทำบัญชี บางคนอาจจะมองเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก แต่ในปัจจุบันก็มีคนที่สามารถมาช่วยจัดการขั้นตอนตรงนี้ให้เป็นเรื่องง่ายเช่น นริทร์ทองการบัญชีและภาษี
การจดทะเบียนบริษัทต้องมีผู้ถือหุ้นกี่คน และทุนจดทะเบียนเท่าไหร่?
ในการตั้งบริษัทจำกัดนั้น จะต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป และต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 15 บาท มาจาก มูลค่าหุ้นขั้นต่ำ คือ (5บาท/หุ้น) และผู้ถือหุ้นขั้นต่ำก็คือ 3 คน
ความรับผิดชอบ
ผู้ถือหุ้นทุกคนจะรับผิดชอบในหนี้สินกิจการแบบ “จำกัด” กล่าวคือ ผู้ถือหุ้นมีภาระเพียงแค่จะต้องชำระเงินทุนตามค่าหุ้นที่ได้จดทะเบียนไว้เท่านั้น หากชำระครบแล้ว ผู้ถือหุ้นไม่ต้องรับผิดชอบในหนี้สินที่เกิดขึ้นในกิจการอีก เจ้าหนี้ไม่สามารถยึดทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ถือหุ้นได้
ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมการจัดตั้งบริษัทจำกัด จะอยู่ที่ 5,000 บาท (ราคา ณ ปัจจุบัน )
ทำไมต้อง จดทะเบียนบริษัท
1.จ่ายภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การจ่ายภาษีของส่วนนิติบุคคลจะอยู่ที่ 20% ของกำไรสุทธิเท่านั้น ซึ่งต่างจากอัตราภาษีแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่อัตราสูงสุดถึง 35%
2. มีความน่าเชื่อถือที่มากกว่า เพราะได้รับการยืนยันตัวตนจากกฎหมาย ทำให้สถาบันทางการเงินมีความเชื่อมั่นในการปล่อยสินเชื่อให้ธุรกิจ ซึ่งโอกาสในการได้สินเชื่อที่มากขึ้น ก็หมายถึงโอกาสในการเติบโตของธุรกิจที่มากขึ้นด้วย
3. ความรับผิดชอบในหนี้สิน อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นผู้ถือหุ้นมีความรับผิดในหนี้สินของกิจการเพียงมูลค่าที่ตนยังค้างชำระ เท่านั้น หากบริษัทล้มละลาย เราซึ่งมีสถานะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ก็จะสูญเสียสินทรัพย์ไปแค่ตามมูลค่าหุ้นเท่านั้น ตัวเราจะไม่ล้มละลายตามบริษัทไปด้วย
4.หากมีผลประกอบการขาดทุนทางภาษี ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลสามารถนำผลขาดทุนดังกล่าวไปใช้เป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไปได้ถึง 5 รอบระยะเวลาบัญชี (ไม่เกิน 5 ปี)
ขั้นตอนการ จดทะเบียน บริษัท 3 ขั้นตอน
1.ตรวจสอบและจองชื่อบริษัท การจองชื่อนั้นต้องไม่ซ้ำ หรือใกล้เคียงกับบริษัทที่จดทะเบียนไว้ และสามารถส่งยื่นได้ 3 ชื่อ เมื่อได้ชื่อแล้วให้ดำเนินการจองชื่อ จากนั้นนายทะเบียนจะทำการตรวจสอบทั้ง 3 ชื่อตามลำดับว่าชื่อไหนสามารถใช้ได้ เมื่อจองชื่อได้แล้วจะต้องยื่นจดทะเบียนภายใน 30 วัน นับจากวันที่นายทะเบียนได้รับรองชื่อ ไม่เช่นนั้นต้องทำการจองชื่อใหม่
ส่วนการยื่นจองชื่อแบบออนไลน์เพื่อจดทะเบียนบริษัท สามารถทำได้ที่
- จองผ่านอินเตอร์เน็ต โดยกรอกข้อมูลที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th
2.จัดเตรียมข้อมูลสำหรับจดทะเบียนบริษัท
– ชื่อของบริษัท (ต้องเป็นชื่อที่ได้จองไว้และได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนแล้ว)
– ที่ตั้งสํานักงานใหญ่ พร้อมเลขรหัสประจําบ้าน (หากไม่ได้เป็นเจ้าของสถานที่เอง ต้องมีหนังสือยินยอมให้ใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่)
– วัตถุประสงค์ของบริษัท ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม
– ทุนจดทะเบียน จะต้องแบ่งเป็นหุ้นๆ มีมูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน (ไม่ต่ำกว่า 5 บาท/หุ้น) แต่ถ้าหากอยากให้บริษัทมีความน่าเชื่อถือควรทุนจดทะเบียนขั้นต่ำที่ 100,000-1,000,000 (ส่วนมากจะนิยมจดกันที่ 1,000,000 บาท) และอย่าลืมว่าเงินทุนจดทะเบียนเป็นสิ่งที่แสดงงบประมาณที่ใช้ทำธุรกิจ และรวมไปถึงบอกความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทนั่นเอง
– จํานวนทุน (ค่าหุ้น) ที่เรียกชําระแล้ว อย่างน้อยร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน
– ข้อมูลผู้ถือหุ้น: ชื่อ ที่อยู่ อายุ หมายเลขโทรศัพท์ เลขที่บัตรประชาชน หรือบัตรอื่นๆ
– ข้อมูลกรรมการ: ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ หมายเลขโทรศัพท์ เลขที่บัตรประชาชน
– รายชื่อหรือจำนวนกรรมการที่มีอํานาจลงชื่อแทนบริษัท (อํานาจกรรมการ)
– ข้อมูลผู้สอบบัญชีรับอนุญาต: ชื่อ เลขทะเบียน ค่าตอบแทน
– ตราประทับ (มี/ไม่มี ก็ได้)
– ข้อมูลพยาน 2 คน: ชื่อ ที่อยู่ อายุ หมายเลขโทรศัพท์ เลขที่บัตรประชาชน
3.ยื่นคำขอจดทะเบียน
หลังจากที่ข้อมูลและเอกสารต่างๆพร้อม สามารถนำไปยื่นคำขอจดทะเบียนบริษัทได้เลย
– โดยจดทะเบียนบริษัทออนไลน์ ผ่านระบบ DBD e-Registration เป็นเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
สรุป
หลังจากที่อ่านจบแล้ว ทุกคนคงพอทราบแล้วว่าการจดทะเบียนบริษัท ต้องใช้เอกสารอะไรบ้างและมีความสำคัญอย่างไร เพราะมันจะช่วยให้บริษัทของเราเติบโตอย่างมั่นคง โปร่งใส เพิ่มความน่าเชื่อถือในระยะยาว
เพิ่มเติม : การจดทะเบียนบริษัทนั้น สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองหรือว่าจ้างสำนักงานบัญชีที่มีประสบการณ์ในงานจดทะเบียนก็ได้
ใครมีข้อสงสัย ต้องการคำปรึกษา นรินทร์ทอง สามารถติดต่อสอบถามได้ที่…
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339