การจะทำธุรกิจควรที่จะเริ่มจากสิ่งที่เราถนัด และเราชอบที่จะทำมันเป็นประจำอยู่แล้ว เพราะมันจะทำให้การทำงานของเรามีแพชชั่นและมีประสิทธิภาพควบคู่กันไป ก็เหมือนกับการเปิดบริษัท เราต้องเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวอยู่ตลอด และพัฒนาธุรกิจให้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ เพราะหากเราเลือกจะอยู่ที่เดิมไม่เปลี่ยนแปลงอะไร การที่เราจะเติบโตในสายงานธุรกิจถือว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะมีคู่แข่งหลายๆคนที่อดหลับอดนอนกำลังคิด กำลังหาความรู้ใหม่ๆเพื่อมาพัฒนาให้กับธุรกิจของพวกเขาเอง ดังนั้นหากธุรกิจของเราดำเนินมาอยู่ในจุดนึงแล้ว การ จดทะเบียนบริษัท เป็นเรื่องสำคัญเลยทีเดียว เพราะมันจะช่วยให้บริษัทมีความน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้น และดึงดูดนักลงทุน แต่สำหรับใครที่ยังสงสัยว่ามันคุ้มที่จะเปลี่ยนแปลงหรือไม่สามารถเข้าไปอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ การจดทะเบียนบริษัทอย่างง่ายเพียง 5 นาที
การจดบริษัทคืออะไร?
การ จดทะเบียนบริษัท คือ การที่บุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปมาร่วมลงทุนจัดตั้งขึ้นมาเป็นองค์กร (สำหรับผู้ถือหุ้น 2 คน เริ่มต้นวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566) โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการร่วมจัดตั้งกัน คือ การแสวงหาผลกำไรโดยบริษัทจำกัดจะแบ่งทุนที่ลงออกมาเป็นหุ้นๆ มูลค่าหุ้นขั้นต่ำ คือ (5บาท/หุ้น) และต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 15 บาท ทำให้ผู้ลงทุนในบริษัทจะถูกเรียกว่า ผู้ถือหุ้น โดยที่ผู้ถือหุ้นจะรับผิดไม่เกินจำนวนหุ้นที่ลงไว้ กล่าวคือผู้ถือหุ้นมีภาระเพียงแค่ชำระเงินทุนตามค่าหุ้นที่ได้จดทะเบียนไว้เท่านั้น
ขั้นตอนการ จดทะเบียนบริษัท
1.จองชื่อบริษัทที่ต้องการใช้ในการจดทะเบียน
เราจะต้องทำการจองชื่อบริษัทโดยที่ชื่อเหล่านั้น จะต้องไม่ซ้ำหรือคล้ายกับบริษัทอื่นๆ ที่จดทะเบียนไปแล้วโดยการคิดชื่อเพื่อใช้ในการจดทะเบียนนั้นเราสามารถยื่นจองได้สูงสุดถึง 3 ชื่อ และจะได้รับการพิจารณาจากชื่อแรก หากชื่อแรกซ้ำหรือไม่ผ่านเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็นายทะเบียนก็จะพิจารณาชื่อในลำดับถัดไปแทน เมื่อจองชื่อได้แล้วจะต้องยื่นจดทะเบียนภายใน 30 วัน นับจากวันที่นายทะเบียนได้รับรองชื่อ ไม่เช่นนั้นต้องทำการจองชื่อใหม่ โดยวิธีการจองชื่อเราต้องเข้าไปจองในเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า www.dbd.go.th
2.จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ หรือ ข้อมูลสำคัญการจดทะเบียนบริษัท
– ชื่อของบริษัท (ต้องเป็นชื่อที่ได้จองไว้และได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนแล้ว)
– ที่ตั้งสํานักงานใหญ่ พร้อมเลขรหัสประจําบ้าน (หากไม่ได้เป็นเจ้าของสถานที่เอง ต้องมีหนังสือยินยอมให้ใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่)
– วัตถุประสงค์ของบริษัท ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม
– ทุนจดทะเบียน จะต้องแบ่งเป็นหุ้นๆ มีมูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน (ไม่ต่ำกว่า 5 บาท/หุ้น) แต่ถ้าหากอยากให้บริษัทมีความน่าเชื่อถือควรทุนจดทะเบียนขั้นต่ำที่ 100,000-1,000,000 (ส่วนมากจะนิยมจดกันที่ 1,000,000 บาท) และอย่าลืมว่าเงินทุนจดทะเบียนเป็นสิ่งที่แสดงงบประมาณที่ใช้ทำธุรกิจ และรวมไปถึงบอกความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทนั่นเอง
– จํานวนทุน (ค่าหุ้น) ที่เรียกชําระแล้ว อย่างน้อยร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน
– ข้อมูลผู้ถือหุ้น: ชื่อ ที่อยู่ อายุ หมายเลขโทรศัพท์ เลขที่บัตรประชาชน หรือบัตรอื่นๆ
– ข้อมูลกรรมการ: ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ หมายเลขโทรศัพท์ เลขที่บัตรประชาชน
– รายชื่อหรือจำนวนกรรมการที่มีอํานาจลงชื่อแทนบริษัท (อํานาจกรรมการ)
– ข้อมูลผู้สอบบัญชีรับอนุญาต: ชื่อ เลขทะเบียน ค่าตอบแทน
– ตราประทับ (มี/ไม่มี ก็ได้)
– ข้อมูลพยาน 2 คน: ชื่อ ที่อยู่ อายุ หมายเลขโทรศัพท์ เลขที่บัตรประชาชน
3.ยื่นคำขอจดทะเบียน
หลังจากที่ข้อมูลและเอกสารต่างๆพร้อมแล้ว เราก็ทำการยื่นคำขอได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตที่ใกล้บ้านผู้ประกอบการ หรือทุกจังหวัดทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 87 แห่ง เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนและมอบหนังสือรับรอง ก็แสดงว่าผู้ประกอบการเป็นเจ้าของบริษัทที่ได้จัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว มีสิทธิและหน้าที่ต่างๆ โดยสมบูรณ์ตามที่บริษัทพึงมีทุกประการ
เอกสารอื่นๆที่ต้องใช้
1. เอกสารแบบฟอร์มการจดทะเบียนบริษัทที่ผ่านการตรวจสอบเรียบร้อย พิมพ์ออกมาทุกหน้าแล้วนำมาให้ผู้ร่วมก่อการเป็นผู้เซ็น และ บุคคลที่เราตกลงให้เป็นผู้มีอำนาจในการบริหาร เซ็น
2. แบบจองชื่อนิติบุคคลที่เราได้ทำการจองไว้
3. สำเนาบัตรประชาชน และ สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้ร่วมก่อการและกรรมการทุกคน พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
4. หลักฐานการชำระค่าหุ้น ที่ออกให้ผู้ถือหุ้นแต่ละคน ที่สำคัญคือต้องลงวันที่เป็นวันเดียวกับวันที่ในใบรายงานการประชุมจัดตั้งบริษัท
5. แผนที่แสดงที่ตั้งสํานักงานใหญ่และสถานที่สําคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
ค่าธรรมเนียม จดทะเบียนบริษัท
ไม่ว่าทุนจดทะเบียนของกิจการจะเท่าไหร่ จะมีค่าธรรมเนียมการจัดตั้งบริษัทจำกัดอยู่ที่ 5,000 บาท (ราคา ณ ปัจจุบัน )
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับการจดทะเบียนบริษัท คงเป็นเรื่องที่ยุ่งยากพอสมควร แต่ การจดทะเบียนบริษัท นั้น สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองหรือว่าจ้างสำนักงานบัญชีที่มีประสบการณ์ในงานจดทะเบียนก็ได้ บริษัทเหล่านี้จะคลุกคลีและดำเนินการเอกสารกับทางราชการเป็นประจำ อาทิเช่น คัดหนังสือรับรองบริษัท, การยื่นภาษี , เปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ฯลฯ หากผู้ประกอบการคนไหนกำลังมองหาคนช่วยที่พร้อมจะดูแล และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการ จดทะเบียนบริษัท นรินทร์ทอง ช่วยคุณได้
ใครมีข้อสงสัย ต้องการคำปรึกษา นรินทร์ทอง สามารถติดต่อสอบถามได้ที่…
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339