ภงด 1 คือ? ต้องยื่นตอนไหน? พร้อมวิธีการคำนวณ

ภงด 1 คือ? ต้องยื่นตอนไหน? พร้อมวิธีการคำนวณ

ใครที่กำลังเป็นเจ้าของธุรกิจหรือกิจการ ที่มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็น ห้างหุ้นส่วนสามัญ, ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด หรือเป็นบุคคลธรรมดาที่เป็นนายจ้าง ก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของการหักภาษีเงินเดือนพนักงาน ที่ทางนายจ้างจะต้องเป็นคนดำเนินการ เพื่อยื่นเอกสาร ภ.ง.ด. 1 และ ภ.ง.ด. 1 ก ให้กับทางกรมสรรพากรในการหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่สำหรับใครที่ไม่รู้ว่า “ภงด 1 คือ อะไร ?” แล้วจะต้องยื่นเมื่อไหร่?

วันนี้ นรินทร์ทอง จะมาอธิบายเกี่ยวกับ ภ.ง.ด. 1 ว่าทำไมถึงเป็นเอกสารที่นายจ้างจะต้องเป็นผู้ยื่น และถ้าหากไม่ยื่นจะมีความผิดอย่างไร พร้อมกับวิธีในการคำนวณว่า รายได้เท่าไหร่ถึงจะอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องชำระภาษี ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านบทความนี้กันเลย!

 

ภ.ง.ด. 1 คือ?

ภงด 1 คือ

การแสดงรายการของภาษีเงินได้ ที่มีการหัก ณ ที่จ่าย จากเงินได้ตามมาตรา 40(1) และ มาตรา 40(2) ถือว่าเป็นเงินที่เกี่ยวข้องกับเงินเดือน, ค่าจ้าง, ค่านายหน้า, เบี้ยประชุม, ค่าล่วงเวลา และค่าอื่นๆ อีกมากมายที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน

ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเอกสาร ภงด 1 คือ ผู้ว่าจ้าง ที่ไม่ว่าจะเป็นองค์กรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาทั่วไป จะต้องดำเนินการส่งเอกสารให้กับทางกรมสรรพากร

เงินได้พึงประเมิน

  • มาตรา 40(1) เป็นเงินได้ประเภทที่ 1 มาจากการจ้างแรงงานอย่าง เงินเดือนหรือว่าเงินที่ได้จากงานที่ทำประจำ เช่น เงินค่าจ้าง, เบี้ยเลี้ยง, โบนัส, เงิน OT และเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับผลประโยชน์จากการจ้างงาน
  • มาตรา 40(2) เป็นเงินได้ประเภทที่ 2 จะเป็นเงินค่าจ้างทั่วไป โดยหน้าที่หรือว่าตำแหน่งงานที่ทำเท่านั้น เป็นได้ทั้งงานประจำหรืองานชั่วคราว เช่น ค่านายหน้าหรือค่าคอมมิชชั่น, ค่าตอบแทน และเบี้ยประชุม เป็นต้น

 

ภ.ง.ด. 1 แตกต่างกับ ภ.ง.ด. 1 ก อย่างไร?

‘ภ.ง.ด. 1’ กับ ‘ภ.ง.ด. 1 ก’ นายจ้างจะเป็นคนยื่นเอกสาร ซึ่งเป็นรูปแบบของการถูกเก็บภาษีจากทางภาครัฐเหมือนกันทั้งคู่ เพื่อแสดงสถานะในการได้รับเงินเดือนของพนักงานว่า ในแต่ละเดือนได้เงินเป็นจำนวนเท่าไหร่ และถึงเกณฑ์ที่จะต้องได้รับการเสียภาษีหรือไม่ แต่เอกสารทั้ง 2 แบบจะมีความแตกต่างกันดังนี้

  • ภ.ง.ด. 1 จะเป็นการยื่นรายได้ของพนักงาน ไม่ว่าจะเป็น เงินเดือน, เงิน OT หรือสวัสดิการ ของแต่ละเดือน ซึ่งจะต้องยื่นชำระไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
  • ภ.ง.ด. 1 ก จะเป็นการยื่นเงินได้ที่สะสมทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นพนักงานที่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ หรือว่าถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ก็จะต้องแจ้งให้กับทางกรมสรรพากรได้ทราบในทุกๆ ปี โดยจะต้องยื่นเอกสารก่อนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป

 

หากไม่ยื่นแบบจะมีความผิดอย่างไร?

ภงด 1 คือ

สำหรับการยื่น ภ.ง.ด. 1 เป็นหน้าที่ของผู้ว่าจ้าง ที่จะต้องดำเนินการยื่นเอกสารให้กับทางกรมสรรพากร หากผู้ว่าจ้างไม่ทำการยื่นแบบของการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะต้องรับผิดชอบดังนี้

  • กรณีที่ไม่ได้นำแบบส่งภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือไม่ได้ยื่น จะต้องเสียค่าปรับแบบ 200 บาท และต้องเสียเงินเพิ่ม 1.5 % ของภาษีที่ต้องชำระ คูณกับจำนวนเดือนที่ส่งแบบล่าช้า
  • กรณีที่ไม่ยื่นแบบ เพราะต้องการหลีกเลี่ยงการชำระภาษี จะมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

วิธีในการคำนวณหักภาษีเงินได้

ภงด 1 คือ

วิธีในการคำนวณเพื่อนำมาหาว่า จะต้องมีการเสียภาษีเป็นจำนวนเท่าไหร่ จะหักจากเงินได้สุทธิ โดยนำรายได้ทั้งปีของพนักงานมาหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน ก็จะได้เป็นจำนวนเงินสุทธิ

หลังจากนั้นให้นำไปหาจำนวนภาษีที่ต้องชำระ (โดยใช้ภาษีตามขั้นบันได) หากรู้แล้วว่าภายในปีนั้นจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ให้นำไปหาร 12 เดือนต่อ เพียงเท่านี้ก็จะรู้แล้วว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ต้องชำระในแต่ละเดือน

ตัวอย่างในการคำนวณหาเงินได้สุทธิ

  • รายได้ต่อปี – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
  • 540,000 – 100,000 – (60,000 + 9,000) = 371,000 บาท

ภาษีแบบขั้นบันได

  1. 0 – 150,000 บาท : ไม่ต้องเสียภาษี
  2. 150,001 – 300,000 บาท : ภาษี 5% (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท)
  3. 300,001 – 500,000 บาท : ภาษี 10%
  4. 500,001 – 750,000 บาท : ภาษี 15%
  5. 750,001 – 1,000,000 บาท : ภาษี 20%
  6. 1,000,001 บาท – 2,000,000 บาท : ภาษี 25%
  7. 2,000,001 บาท – 5,000,000 บาท : ภาษี 30%
  8. เงินได้สุทธิมากกว่า 5,000,000 บาท : ภาษี 30%

วิธีการคำนวณภาษี

  • ให้นำเงินได้สุทธิ 371,000 บาท มาคำนวณหาภาษี
  • ขั้นแรกไม่ต้องเสียภาษี
  • ขั้นที่สองจะเป็นการนำ 371,000 – 150,000 = 221,000 หลังจากนั้นให้นำยอด 221,000 บาท มาคำนวณตามฐานภาษี 150,000*5% เท่ากับต้องเสียภาษีในขั้นที่สอง 7,500 บาท
  • ขั้นที่สามจะนำส่วนที่เหลือจาก 221,000 – 150,000 = 71,000 บาท มาคำนวนตามฐานภาษี 10% จะเป็น 71,000*10% เท่ากับต้องเสียภาษีในขั้นที่สาม 7,100 บาท
  • นำ 7,500 + 7,100 = 14,600 หลังจากนั้นให้นำไปหาร 12 เท่ากับ 1,200.666 บาท ที่ต้องชำระภาษีต่อเดือน

หมายเหตุ: การหัก ณ ที่จ่ายในแต่ละเดือนมีโอกาสไม่เท่ากันตามเงินได้สุทธิ ในกรณีที่เรามีลดหย่อน และหักค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ตามกฎหมายเงินได้ประเภท40(1) และ (2) ซึ่งจะสามารถหักได้สูงสุด 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

 

สามารถยื่นตามช่องทางไหนได้บ้าง?

สำหรับนายจ้างที่จะต้องทำการส่งแบบ ภ.ง.ด. 1 ของพนักงานที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ในการเสียภาษี ให้ดำเนินการเตรียมจัดส่งแบบให้ทางกรมสรรพากร ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป โดยสามารถยื่นชำระได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือทางเว็บไซต์กรมสรรพากร สำหรับใครที่ไม่สะดวกต่อการเดินทางมายังพื้นที่สาขา ซึ่งการยื่นแบบออนไลน์ จะให้ระยะเวลาเพิ่มอีก 7 วัน และถ้าหากวันที่ยื่นเป็นวันหยุด จะให้คุณสามารถยื่นได้อีกทีภายในจันทร์หรือวันแรกของสัปดาห์ที่เปิดทำการ

>>สามารถดู ปฏิทินภาษีอากร เพิ่มเติมได้ที่นี่<<

 

สรุปแล้ว ภ.ง.ด. 1 จำเป็นจะต้องยื่นหรือไม่?

ภ.ง.ด. 1 เป็นสิ่งที่นายจ้างหรือเจ้าของธุรกิจ มีการจ้างงานและมีค่าตอบแทนให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง จนมีรายได้อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี จำเป็นต้องทำยื่นแบบให้กับทางกรมสรรพากรได้รับทราบ เพราะเป็นข้อกำหนดตามกฎหมาย เช่น หากเกิดเหตุสุดวิสัยที่ทำให้มีการยื่นแบบล่าช้าจะต้องเสียค่าปรับ หรือหลีกเลี่ยงที่จะไม่ชำระภาษีจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

สำหรับใครที่กำลังเริ่มทำธุรกิจและมีลูกจ้าง แต่ไม่ได้มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญทางด้านบัญชี การทำรายงาน รวมไปถึงภาษี แนะนำให้ปรึกษาผู้ที่มีประสบการณ์อย่าง นรินทร์ทอง จะช่วยให้การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ภายในบริษัทของคุณคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

 

สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการปรึกษาเกี่ยวกับบัญชี

บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชี และภาษี รวมไปถึงการจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น

  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • รับทำเงินเดือนพนักงาน มีการคำนวณเงินเดือนพนักงานอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันปัญหาที่ทำให้พนักงานได้รับเงินเดือนช้า หรือไม่ครบตามที่กำหนด
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ

 

นรินทร์ทองอยากให้ธุรกิจของคุณพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดด

และรู้ทุกการเคลื่อนไหวทางการเงิน เพื่อให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

 

ใครมีข้อสงสัย ต้องการคำปรึกษา นรินทร์ทอง สามารถติดต่อสอบถามได้ที่…

Facebook : NarinthongOfficial

E-mail : narinthong.ac@gmail.com

Line : @Narinthong

Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ และคุกกี้ในส่วนการตลาด

    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน และคุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บันทึกการตั้งค่า