รถยนต์เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากต่อการเดินทาง เจ้าของธุรกิจหรือกิจการก็มักจะมีรถเอาไว้ใช้ เพราะสามารถใช้ประโยชน์จากรถได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการรับส่งพนักงาน, เดินทางติดต่อธุรกิจ และใช้ในงานขนส่ง แต่สำหรับใครที่กำลังจะ ซื้อรถในนามบริษัท แต่ไม่รู้ว่าดีหรือไม่ และมีการเสียภาษีอย่างไร วันนี้ นรินทร์ทอง ได้รวบรวมคำตอบไว้แล้ว ในบทความนี้!
ซื้อรถในนามบริษัท คืออะไร?
การซื้อรถในนามบริษัทหรือซื้อรถในนามนิติบุคคล ถือว่าเป็นรถยนต์เชิงพาณิชย์ ที่ซื้อรถเพื่อนำมาใช้ดำเนินธุรกิจหรือกิจการ และยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในเรื่องของทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการหักค่าเสื่อมราคา หรือนำมาเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีได้เป็นอย่างดี
ซึ่งเอกสารที่ต้องใช้สำหรับซื้อรถในนามของนิติบุคคล แต่ละที่ก็อาจจะมีการขอเอกสารที่แตกต่างกันออกไป โดยเบื้องต้นมีดังนี้
- หนังสือรับรองบริษัท จะเป็นเอกสารที่สามารถรับรองตัวตนของธุรกิจคุณได้จริง เพราะเอกสารออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20) หากคุณมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับทางกรมสรรพากร ต้องใช้เพื่อยืนยันทางด้านธุรกรรม
- สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ต้องสอบถามกับทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ในเรื่องของข้อกำหนด เพราะบางที่จะมีการขอรายละเอียดที่ไม่เหมือนกัน
- เอกสารทางด้านการเงิน เป็นเอกสารที่ช่วยยืนยันงบการเงินของบริษัทคุณ ในกรณีที่คุณไม่ได้ซื้อรถด้วยเงินสดหรือเงินก้อน โดยต้องมีการย้อนหลังอย่างต่ำ 6 เดือน
ในส่วนของเอกสารที่ได้กล่าวไปจะไม่ได้เป็นแบบซื้อสด แต่จะเหมาะกับการซื้อในรูปแบบของการผ่อน ถึงแม้ว่าการซื้อสดจะได้ในราคาที่ถูก เพราะไม่ต้องกังวลกับดอกเบี้ย แต่ต้องจ่ายเป็นเงินก้อน ถ้าซื้อผ่อนแบบบอลลูนก็เหมือนกับการเช่าซื้อ เพราะคุณจะต้องมีจำนวนเงินดาวน์ก่อนตอนแรก หลังจากนั้นก็ผ่อนตามระยะเวลาที่ได้มีการตกลง และเมื่อถึงงวดสุดท้ายจะจ่ายเป็นเงินก้อน, ผ่อนต่อจนหมด หรือเทิร์นรถก็ได้ โดยทำให้คุณได้รับประโยชน์ทางด้านภาษีมากกว่า
ประเภทของรถยนต์ที่นำมาใช้ในกิจการ
จริงอยู่ที่การซื้อรถในนามของบริษัท ทำให้คุณสามารถจัดการในเรื่องของภาษีได้ แต่จะมีข้อจำกัดตามประเภทของรถยนต์ ที่ส่งผลกระทบต่อภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยกฎหมายตามพิกัดอัตราภาษีของสรรพสามิต ได้ระบุเอาไว้ว่า
- รถยนต์นั่ง เป็นรถยนต์ทั่วไปหรือรถเก๋ง ที่เอาไว้ใช้นั่งกันตามปกติ โดยหลังคาจะติดเป็นแผ่นเดียวกัน และไม่ว่าจะเป็นด้านข้างหรือด้านหลังของคนขับ ก็จะมีที่นั่ง, ประตู และหน้าต่าง
- รถมอเตอร์ไซค์ หรือจักรยานยนต์ เป็นพาหนะที่ใช้ 2 ล้อในการขับเคลื่อน ถ้านำรถมาใช้ในกิจการ ทางบริษัทต้องมีชื่อเป็นเจ้าของรถ เพื่อเป็นการยืนยันว่าเป็นรถของกิจการ โดยสามารถนำไปเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้
- รถยนต์ที่นั่งไม่เกิน 10 คน จะเป็นพวกรถทั่วไปที่เราเห็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นรถเก๋ง, รถมินิแวน และรถ SUV เป็นต้น ทางสรรพากรจะมองว่ารถเก๋งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
- รถยนต์ที่นั่งเกิน 10 คน เรียกได้ว่าเป็นรถยนต์ที่เอาไว้ใช้ สำหรับดำเนินธุรกิจโดยตรง เช่น รถกระบะ, รถตู้ และรถบรรทุก ซึ่งรถกระบะในตอนนี้รวมทั้ง 2 ประตู – 4 ประตู
สามารถลงรายจ่ายและภาษีอย่างไรได้บ้าง?
หากผู้ประกอบการกำลังตัดสินใจที่จะซื้อรถในนามบริษัท และได้ทำความเข้าใจแล้วว่ารถยนต์ที่ซื้ออยู่ในประเภทไหน ระหว่างรถที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน หรือรถยนต์ที่มีที่นั่งมากกว่า 10 คน จะสามารถลงรายจ่ายและภาษีได้ ดังนี้
- ค่าใช้จ่าย ถ้าเป็นรถนั่งหรือรถโดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน เวลาที่ทำการลงรายจ่ายแบบเช่าจะลงได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 36,000 บาทต่อเดือน และถ้าซื้อเกิน 1 ล้านบาท ต้องนำมาคำนวณกับภาษีนิติบุคคล เพราะไม่สามารถลงบันทึกในรายการค่าใช้จ่ายส่วนเกินได้ ส่วนรถยนต์ที่ใช้ดำเนินกิจการหรือมีที่นั่งเกิน 10 คน จะสามารถนำทั้งเช่าหรือซื้อมาลงรายจ่ายได้เต็มจำนวน
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม ในกรณีที่ธุรกิจของคุณจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเลือกซื้อรถที่อยู่ในเกณฑ์อย่าง รถจักรยานยนต์, รถกระบะ, รถบรรทุก หรือรถที่มีที่นั่งเกิน 10 คน จะสามารถใช้ประโยชน์ทางด้านการเงินในเรื่องของภาษีได้ นั่นก็คือ นำมาใช้เป็นภาษีซื้อ แต่จะมีบางรายการที่เป็นภาษีซื้อต้องห้าม อย่าง เช่า-ซื้อรถยนต์นั่ง, ค่าน้ำมันรถยนต์นั่ง (รถเก๋ง), น้ำมันเบนซิน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับรถ แต่สามารถนำมาลงค่าใช้จ่ายได้
- ค่าเสื่อมราคา รถยนต์ที่ซื้อเพื่อนำมาใช้ในกิจการ จะสามารถหักค่าเสื่อมราคาได้ตามกฎหมาย โดยหักได้ไม่เกิน 20% หรือ 200,000 บาทต่อปี ในมูลค่าต้นทุนเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 1 ล้านบาท (ตาม พ.ร.ฎ ฉบับที่ 315 ปี 2540 และ พ.ร.ฎ ฉบับที่ 145 ปี 2527) ซึ่งต้องมีการแบ่งจ่ายมากกว่า 5 ปีขึ้นไป
ควรซื้อรถในนามบุคคลหรือบริษัทดี?
การซื้อรถในนามบุคคล
- เป็นรถที่เอาไว้ใช้ส่วนตัว ทำให้มีค่าใช้จ่ายในด้านอื่นๆ ถูกกว่าบริษัท เช่น ค่าเบี้ยประกัน และค่าภาษีรถยนต์
- ตอนที่ขายรถยนต์ก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
- เรื่องของการนำไปใช้ จะมีอิสระมากกว่า สามารถใช้รถตอนไหนก็ได้
- แต่จะไม่สามารถนำมาหักค่าเสื่อมราคา และการลงค่าใช้จ่ายของกิจการหรือค่าใช้จ่ายทางภาษีได้
การซื้อรถในนามบริษัท
- ต้องเป็นรถที่เอาไว้ใช้สำหรับดำเนินกิจการจริงๆ ไม่ควรนำไปใช้แบบส่วนตัว
- ทางด้านการเงินจะสามารถนำรถไปหักค่าเสื่อมราคาได้ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี
- สามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องที่เกี่ยวกับรถได้ เช่น ค่าน้ำมัน, ค่าซ่อม และค่าเบี้ยประกันเป็นต้น
- หากต้องการขายรถของบริษัทสามารถทำได้ แต่เงินที่ได้รับมาจะถูกจัดว่าเป็นรายได้ของกิจการ
- ถ้าบริษัทของคุณจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มร่วมด้วย ต้องทำการยื่นภาษีขายให้กับทางกรมสรรพากร
หากใครที่กำลังอยู่ในช่วงของการตัดสินใจ อยากจะซื้อรถมาใช้กับกิจการ แต่ไม่รู้ว่าควรซื้อในนามของบุคคลหรือบริษัทดี หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้ ก็คงรู้แล้วว่าถ้าเป็นรถที่เอาไว้ใช้กับกิจการก็ควรซื้อรถในนามบริษัท เพื่อผลประโยชน์ทางด้านการเงิน ที่ช่วยคิดคำนวณในเรื่องของภาษีได้ลดลง
แต่สำหรับใครที่ยังคงมีคำถามอื่นๆ นอกเหนือจากบทความนี้ สามารถติดต่อได้ที่ นรินทร์ทอง เพราะเราสามารถช่วยจัดการกับความยุ่งยากของบัญชีและภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาษีไม่ใช่เรื่องยาก นรินทร์ทอง ช่วยคุณได้!
บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชี และภาษี รวมไปถึงการจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น
- การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
- รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
- งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
- ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339