สำหรับเจ้าของกิจการ การปิดงบการเงิน ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ว่าจะเป็นกิจการในรูปแบบบริษัทจำกัด หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก็ต้องให้ความสำคัญ เพราะทางกฎหมายมีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ต้องจัดส่งงบการเงินให้แก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากร อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งการปิดงบการเงิน เป็นเหมือนการสะท้อนภาพรวมของธุรกิจ ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนธุรกิจในอนาคตได้ ดังนั้น ขั้นตอนการทำบัญชี เพื่อปิดงบการเงินจึงสำคัญต่อธุรกิจอย่างมาก ที่สำคัญต้องจัดหาผู้ทำบัญชีและผู้ตรวจสอบบัญชี ที่มีประสบการณ์ด้านบัญชีโดยตรง ดังนั้นหากใครที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจ บทความนี้ นรินทร์ทอง จะชวนทุกคนมาทำความเข้าใจ เกี่ยวกับขั้นตอนการทำบัญชีเพื่อปิดงบการเงิน เพื่อเป็นประโยชน์แก่ธุรกิจในอนาคต
การปิดงบการเงิน คือ
การปิดงบการเงิน คือ รายงานทางบัญชีของธุรกิจ ที่ใช้สำหรับการแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ทางการเงิน อาทิเช่น ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงานของธุรกิจ รวมถึงกระแสเงินสดของกิจการในแต่ละงวดบัญชี โดยการปิดงบการเงินแต่ละขั้นตอน จะมีรายละเอียดที่ค่อนข้างซับซ้อน เพราะฉะนั้นผู้ที่เป็นเจ้าของธุรกิจหรือแม้แต่ฝ่ายบัญชีเอง ก็ต้องทำความเข้าใจให้ละเอียดว่า การปิดงบการเงินคืออะไร แล้วต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง ก่อนนำส่งให้กับทางกรมสรรพากรและกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อป้องกันข้อมูลผิดพลาด และหลีกเลี่ยงโทษปรับหากไม่ทำการส่งงบการเงิน
ขั้นตอนการทำบัญชี เพื่อปิดงบการเงิน
ในกระบวนการทำบัญชีหรือวงจรการทำบัญชีนั้น นับว่าเป็นขั้นตอนในการรวบรวม การประมวลผล และการสื่อสารข้อมูลทางการเงินทั้งหมด ซึ่งรวมไปถึงการจดบันทึก การจำแนก การสรุป และการตีความข้อมูลทางการเงินต่างๆ ของธุรกิจด้วย โดยข้อมูลทางการเงินเหล่านี้ จะถูกนำเสนอในรายงานที่เรียกว่า “งบการเงิน” แต่ก่อนที่จะสามารถเตรียมข้อมูลเหล่านี้ได้ นักบัญชีจำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมต่างๆ ในธุรกิจ เพื่อนำมาบันทึกและเรียบเรียงข้อมูล ก่อนที่จะนำเสนอในรายงานทางการเงิน นอกจากนี้ยังมีอีกหลายขั้นตอนที่นักบัญชีต้องทำ เพื่อเตรียมตัวสำหรับรอบบัญชีถัดไป โดยขั้นตอนการทำบัญชีเพื่อปิดงบการเงินนั้น จะประกอบไปด้วยอะไรบ้างมาดูกัน!
1. การระบุและวิเคราะห์ธุรกรรมทางธุรกิจ
ขั้นตอนการทำบัญชีจะเริ่มต้นด้วย การระบุและวิเคราะห์ธุรกรรม รวมถึงเหตุการณ์ทางธุรกิจ โดยข้อมูลทางธุรกรรมและเหตุการณ์บางส่วนนั้น จะถูกป้อนเข้าสู่ระบบบัญชี ยกตัวอย่างเช่น สินเชื่อส่วนบุคคลที่ทำโดยเจ้าของที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ จะไม่ถูกนำมาบันทึก แต่ข้อมูลที่ถูกบันทึกและถูกวิเคราะห์ จะเป็นข้อมูลเฉพาะธุรกรรมที่เกี่ยวข้องเท่านั้น เพื่อดูบัญชีที่ได้รับผลกระทบและจำนวนเงินที่จะต้องบันทึก นอกจากนี้ในขั้นตอนแรกยังรวมไปถึงการจัดเตรียมเอกสารทางธุรกิจ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้สำหรับการบันทึกธุรกรรมต่างๆ อีกด้วย
2. การบันทึกบัญชีในสมุดรายวัน
สมุดรายวัน คือ การทำบัญชีในรูปแบบของการจดบันทึกลงในกระดาษ หรือการจดบันทึกแบบออนไลน์ เป็นการลงบันทึกทุกธุรกรรมลงในระบบ ซึ่งการทำธุรกรรมทางธุรกิจนั้น มักจะใช้วิธีบันทึกผ่านระบบบัญชีคู่ โดยวิธีนี้จะบันทึกข้อมูลบัญชีที่รวบรวมข้อมูลมาอย่างน้อย 2 บัญชีขึ้นไป (เดบิต และ เครดิต) ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ทำให้เข้าใจง่าย โดยรูปแบบการจดบันทึกจะต้องระบุสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ได้แก่
- ยอดการขาย
- ยอดการซื้อ
- ใบเสร็จจากการรับเงินสด
- การจ่ายเงินสด
กล่าวได้ว่าสมุดรายวันทั่วไป จะมีสิ่งพิเศษที่แตกต่างจากสมุดทั่วไป และนิยมใช้วิธีการบันทึกตามเหตุการณ์เรียงลำดับไล่มา ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า การบันทึกบัญชีในสมุดรายวัน ถือเป็นสมุดข้อมูลต้นฉบับของธุรกรรมต่างๆ
3. การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท
บัญชีแยกประเภท คือ สมุดบัญชีสรุปข้อมูลทางธุรกรรม ที่รวบรวมข้อมูลบัญชีต่างๆ แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางบัญชีที่เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นผลลัพธ์จากธุรกรรมต่างๆ ที่ผ่านมา และแสดงให้เห็นถึงยอดคงเหลือที่มีอยู่ โดยการผ่านรายการทั้งหมดไปยังบัญชีแยกประเภทนั้น ทำให้ผู้ประกอบการสามารถคาดการณ์ ได้ถึงยอดคงเหลือจากแต่ละบัญชีได้ เช่น ยอดบันทึกบัญชีเดบิตและเครดิต ที่ถูกโอนย้ายไปเป็นบัญชีเงินสดในบัญชีแยกประเภท
4. งบทดลองก่อนการปรับปรุง
งบทดลอง คือ งบที่จัดทำขึ้นเพื่อทดสอบว่า ข้อมูลยอดบันทึกบัญชีเดบิตและเครดิตนั้นเท่ากันหรือไม่ ซึ่งยอดรวมของบัญชีทั้งหมดจะถูกแยกออกจากบัญชีแยกประเภท และจะถูกนำมารวมในรายงานสรุปฉบับเดียวกัน หลังจากนั้นยอดเดบิตและยอดเครดิตทั้งหมด จะถูกสรุปยอดบัญชี โดยทั้ง 2 ยอดควรจะเท่ากัน ดังนั้นการจัดทำงบทดลองก่อนการปรับปรุง จะช่วยให้ผู้ประกอบการ สามารถนำข้อมูลยอดบันทึกบัญชีทั้ง 2 ประเภท มาเปรียบเทียบและตรวจสอบได้
5. การปรับปรุงรายการทางบัญชี
การปรับปรุงรายการทางบัญชี ถือเป็นการเตรียมการเพื่อนำไปสู่การบันทึกบัญชีตามเกณฑ์คงค้าง โดยในส่วนสุดท้ายของการทำบัญชีนั้น เราอาจจะพบกรณี “มีค่าใช้จ่ายปรากฏแต่ไม่ได้มีการลงบันทึกไว้” ดังนั้นในขั้นตอนนี้จึงเป็นตรวจสอบและเพิ่มเติมยอดต่างๆ ในบัญชีให้เรียบร้อย ก่อนที่จะนำไปสรุปเป็นงบการเงินต่อไป
6. งบทดลองหลังปรับปรุง
งบทดลองหลังปรับปรุง สามารถทำได้หลังจากมีการปรับปรุงรายการต่างๆ และต้องจัดทำก่อนนำไปสรุปงบทางการเงิน โดยงบทดลองหลังการปรับปรุงนั้น จะแสดงให้เห็นว่า ยอดเดบิตและยอดเครดิตตรงกันหรือไม่
7. งบการเงิน
เมื่อนักบัญชีไปทำการปรับข้อมูล และเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถนำข้อมูลทางธุรกรรมเหล่านั้นมาสรุปงบการเงินได้ทันที ซึ่งขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของระบบการทำบัญชี โดยงบการเงินจะประกอบด้วย
- งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
- งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ
- งบแสดงฐานะทางการเงิน
- งบกระแสเงินสด
- หมายเหตุประกอบงบการเงิน
8. รายการปิดบัญชี
รายการปิดบัญชี ควรทำเฉพาะบัญชีกำไรขาดทุน หรือบัญชีชั่วคราว ยกตัวอย่างเช่น การปิดบัญชีเพื่อนำไปสู่การทำบัญชีในรอบใหม่ โดยบัญชีกำไรขาดทุนจะรวมถึงรายได้และรายจ่ายด้วย
9. การดำเนินการหลังปิดงบบัญชีทดลอง
งานบัญชีสิ่งสุดท้ายที่จะต้องดำเนินการ คือ การเตรียมการสำหรับปิดบัญชีทดลอง ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบยอดเดบิตและเครดิต โดยบัญชีกำไรขาดทุนจะสามารถปิดงบได้ทันที ในขณะที่การเตรียมปิดงบบัญชีทดลอง จะเกี่ยวข้องกับบัญชีจริงเท่านั้น
10. การกลับรายการทางบัญชี (ทางเลือกสำหรับการทำบัญชีใหม่)
การกลับรายการทางบัญชี ถือเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับการทำบัญชีใหม่ ซึ่งเป็นวิธีการเตรียมการในช่วงเริ่มต้นของรอบบัญชีใหม่ เพื่อให้การบันทึกบัญชีเป็นไปด้วยความถูกต้องและแม่นยำ โดยวิธีดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับ รายได้การค้างรับ ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย รายได้รับล่วงหน้า และค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ซึ่งวิธีการบันทึกจะกลับกันทั้งหมด จากที่เคยบันทึกไว้ตอนสิ้นงวดที่แล้ว
เรียนรู้ ขั้นตอนการทำบัญชี เพื่อปิดงบการเงิน ได้ง่ายๆ กับ นรินทร์ทอง
หลังจากที่ได้ทำความรู้จักทั้ง 10 ขั้นตอนการทำบัญชี เพื่อปิดงบการเงิน จะเห็นว่าขั้นตอนเหล่านี้ ทำให้เราได้เห็นถึงวงจรของการทำบัญชี และภาพรวมที่เกิดขึ้นในธุรกิจได้อย่างชัดเจน เพราะขั้นตอนเหล่านี้จะนำไปสู่การสรุปยอดรวม และการจัดทำบัญชีเงินทุนที่เหมาะสม ซึ่งประโยชน์ที่ได้จากการปิดงบการเงินคือ ผู้ประกอบการสามารถรู้ผลกำไรขาดทุนที่แท้จริง สามารถบริหารสภาพคล่องทางการเงิน และรู้ภาพรวมของธุรกิจทำให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การเลือกนักบัญชี เพื่อการจัดทำบัญชีในธุรกิจก็สำคัญไม่น้อย
หากธุรกิจของคุณมีนักบัญชีที่ดี สามารถจัดเตรียมเอกสารครบถ้วน และสามารถสรุปงบการเงินทุกไตรมาส หรือทุกเดือนได้อย่างรวดเร็ว ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานในธุรกิจยิ่งขึ้น ดังนั้นเราจึงขอแนะนำ บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด ให้บริการ รับทำบัญชี และจัดทำงบการเงิน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโต และมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น
- การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
- รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
- งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
- ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339