ทำบัญชีบริษัทเอง ได้จริงไหม? เริ่มต้นอย่างไรดี?

การเป็นเจ้าของธุรกิจที่มีการจดทะเบียนบริษัท จะต้องจัดทำบัญชีตามที่กฎหมายระบุเอาไว้ เพราะมีเรื่องของภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการบางรายที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่อยากจ้างพนักงานบัญชี ก็จะ ทำบัญชีบริษัทเอง แต่สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าสามารถทำเองได้จริงหรือไม่ และควรเริ่มต้นอย่างไร วันนี้ นรินทร์ทอง จะพาคุณไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำบัญชีบริษัทให้มากยิ่งขึ้น

 

เราสามารถ ทำบัญชีบริษัทเอง ได้จริงไหม?

ทำบัญชีบริษัทเอง

คุณต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การจดทะเบียนบริษัทไม่ว่าจะเป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัท ตามกฎหมาย พ.ร.บ.การบัญชี พ.ศ. 2547 จะต้องมีผู้รับผิดชอบจัดทำบัญชี เพื่อเป็นการส่งเอกสารและข้อมูลให้กับทางหน่วยงานภาครัฐ โดยทางผู้ประกอบการสามารถทำบัญชีบริษัทเองได้ แต่ถูกแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

  1. จ้างพนักงานที่จบด้านบัญชี : ทางบริษัทของคุณจะต้องจ้างพนักงานบัญชี หรือบุคคลที่มีความรู้ในการทำบัญชีแบบเบื้องต้น จะได้ทำการรวบรวมข้อมูล, บันทึก และจัดเก็บเอกสาร ให้กับผู้ตรวจสอบบัญชีที่เราจ้าง ทำการตรวจสอบความถูกต้องและออกรายงาน หลังจากนั้นคุณค่อยยื่นงบการเงินและภาษีประจำปี
  2. จ้างสำนักงานบัญชี : ถ้าบริษัทไม่มีพนักงานบัญชี ให้คุณเตรียมทำรายรับ – รายจ่าย ที่เกิดขึ้นในธุรกิจ โดยเบื้องต้นจดลงสมุดหรือบันทึกเอาไว้ในไฟล์ และที่สำคัญต้องเก็บเอกสารให้ครบ เวลาที่จ้างสำนักงานบัญชี จะได้ยื่นข้อมูลที่เรามีให้เขาลงรายการตามหลักบัญชีที่ถูกต้อง

แต่ไม่ว่าจะเป็นการจ้างพนักงานหรือสำนักงานบัญชี ต้องมีการออกเอกสารทุกครั้งที่มีรายรับ และจดบันทึกทุกครั้งที่มีรายจ่าย เพราะจะทำให้คุณได้รู้ว่าธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่ ได้รับกำไรหรือขาดทุนเป็นจำนวนเท่าไหร่ เพื่อช่วยวางแผนทางธุรกิจในอนาคตให้ดีมากยิ่งขึ้น

 

เตรียมจัดเก็บเอกสารอะไรบ้าง?

ทำบัญชีบริษัทเอง

สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการทำบัญชีบริษัทเอง จะต้องมีการจัดเก็บเอกสารให้ถูกต้อง เพื่อที่จะได้รู้ว่าสินค้าหรือบริการที่คุณขายมียอดเป็นจำนวนเท่าไหร่ และมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างในธุรกิจ โดยมีเอกสารทั้งหมด 3 ประเภท คือ

  1. ใบเสนอราคา เอาไว้ใช้สำหรับเสนอราคาของสินค้าหรือบริการของเรา ส่วนมากจะใช้กับบริษัทที่มีขนาดใหญ่ เพื่อเป็นการให้ทางลูกค้าได้นำไปพิจารณาก่อน เพราะในใบเสนอราคาจะมีข้อมูลของรายการสินค้า จำนวน ราคา วันที่จัดส่ง และวิธีการชำระเงิน ถ้าลูกค้าสนใจหรือต้องการซื้อสินค้าจากเรา ก็จะเซ็นอนุมัติใบเสนอราคาก่อนทำการสั่งซื้อ
  2. ใบวางบิล/ใบแจ้งหนี้ เป็นเอกสารที่ทางผู้ประกอบการออกให้กับลูกค้า เพื่อให้คุณได้รู้ว่ามีจำนวนเงินเท่าไหร่ที่ต้องชำระ เรียกได้ว่าเป็นเอกสารชำระเงิน โดยส่วนใหญ่จะใช้กับกิจการที่มีเครดิตชำระเงิน ซึ่งช่วงระยะเวลาของการวางบิลก็จะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่บริษัท และควรตรวจสอบข้อมูลที่อยู่ในเอกสารให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ทำให้การรับเงินเกิดความล่าช้า จากการแก้ไขเอกสารใหม่
  3. ใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน ทางผู้ประกอบการจะเป็นคนออกเอกสารให้ หลังจากที่ขายสินค้าหรือบริการ เพื่อยืนยันว่าได้รับเงินแล้วจริง โดยรับว่าเป็นเอกสารที่สำคัญสำหรับทางกรมสรรพากร เพราะเป็นหลักฐานในการยื่นภาษี และต้องตรวจสอบเอกสารให้ดีทุกครั้ง ว่ามีการเขียนข้อมูล (ชื่อ, ที่อยู่บริษัท, เลขประจำตัวผู้เสียภาษี, ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ) ให้ชัดเจน

การจัดเก็บเอกสารทางบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี จะมีระยะเวลาในการเก็บรักษาเอาไว้อย่างต่ำ 5 ปีขึ้นไป หากพ้น 5 ปีเต็มแล้วจึงจะสามารถนำไปทำลายได้ แต่ถ้าเอกสารที่สำคัญเหล่านี้หาย ต้องดำเนินการแจ้งกับทางสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี ไม่เกิน 15 วัน นับตั้งแต่วันแรกที่รู้ว่าเอกสารหาย ไม่อย่างนั้นจะมีความผิด โดยปรับไม่เกิน 5,000 บาท

 

ต้องมีการจดบันทึกหรือไม่?

ทำบัญชีบริษัทเอง

การทำบัญชีบริษัทจะต้องมีการบันทึกบัญชี เพื่อเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล, ตรวจสอบความถูกต้องทางบัญชี และมีการจัดงบการเงินได้อย่างเหมาะสม ซึ่งการจดบันทึกจะมีการจัดเก็บที่หลากหลาย อย่าง บัญชีรายวันซื้อ – รายวันขาย, รายวันทั่วไป, บัญชีเงินฝากธนาคาร, บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ และบัญชีสินค้าคงคลัง เป็นต้น

แต่สำหรับใครที่กำลังเป็นมือใหม่ในการทำบัญชีบริษัทเอง ขอแนะนำให้รู้จักกับการจดบันทึกค่าใช้จ่ายแบบเบื้องต้น โดยมีทั้งหมด 2 ประเภทที่คุณควรรู้ คือ

  1. ค่าใช้จ่ายในการขาย (Cost of Goods Sold) หรือต้นทุนของการขาย เพราะการลงทุนทำธุรกิจจะมีเรื่องของต้นทุนเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยไม่ได้มีเพียงแค่สินค้าเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงค่าขนส่ง, ค่าแรง, ค่าวัตถุดิบ และค่าเสื่อมอุปกรณ์ เป็นต้น นับว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สำคัญอย่างมากที่ต้องจดบันทึก
  2. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Operating Cost) นอกจากค่าใช้จ่ายของสินค้าแล้ว ยังมีเรื่องของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอีกด้วย เช่น ค่าเช่าพื้นที่, ค่าน้ำ, ค่าไฟ และเงินเดือนพนักงาน ที่สำคัญต้องไม่ลืมออกเอกสารหัก ณ ที่จ่าย จะได้มีหลักฐานในการยื่นภาษีอย่างถูกต้อง

ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการขายหรือการดำเนินงานก็ควรจดบันทึกเอาไว้ เพื่อเป็นการช่วยให้คุณได้ทราบว่ากิจการที่กำลังดำเนินอยู่ ได้รับกำไรขาดทุนเป็นจำนวนเท่าไหร่ (ก่อนหักภาษี) จะได้นำไปวางแผนการทำธุรกิจได้ถูกทิศทางมากยิ่งขึ้น

 

มีอะไรอีกบ้างที่ควรรู้จากการทำบัญชีบริษัทเอง

  • ปิดงบการเงินของบริษัท เมื่อไหร่ที่ถึงรอบบัญชี หรือ 12 เดือน จะต้องทำการปิดงบ โดยเป็นรายงานทางการเงินที่มีการนำส่งให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากร ถ้าไม่ทำการปิดงบก็จะมีโทษและค่าปรับตามข้อกฎหมายที่หน่วยงานทางภาครัฐตั้งเอาไว้
  • งบการเงินต้องได้รับการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี หลังจากที่จัดทำงบการเงินเรียบร้อยแล้ว จะต้องส่งให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบ เพื่อเป็นการรับรองว่าข้อมูลถูกต้อง ก่อนที่จะยื่นเสียภาษีประจำปีกับทางกรมสรรพากร แต่ถ้าคุณนำส่งแล้วไม่ได้ให้ทางผู้สอบบัญชีตรวจสอบ จะโดนปรับไม่เกิน 20,000 บาท
  • นำส่งงบการเงินที่ได้รับตรวจสอบแล้ว ถือว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะต้องดำเนินการ โดยมีการนำส่งทั้ง 2 ที่ คือ ‘กรมพัฒนาธุรกิจการค้า’ ส่งภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ประชุมอนุมัติงบการเงิน และ ‘กรมสรรพากร’ ภายใน 150 วันนับจากวันที่สิ้นรอบบัญชี

 

หากใครอ่านมาถึงตรงนี้ก็คงจะรู้แล้วว่า การทำบัญชีบริษัทสามารถทำเองได้ แต่ต้องมีการเริ่มต้นที่ดีในการทำบัญชี มั่นใจว่าข้อมูลถูกต้อง, มีการจัดเก็บเอกสารที่ครบถ้วน และมีการยื่นภาษีอย่างถูกกฎหมาย เพื่อเป็นการป้องกันข้อผิดพลาดจากการโดนค่าปรับหรือทำผิดกฎหมายโดยที่ไม่รู้ตัว

การเลือกใช้บริการจากสำนักงานบัญชีที่ นรินทร์ทอง จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้เรื่องของการทำบัญชีและการเงินผ่านไปได้อย่างราบรื่น ไม่ต้องจัดการกับปัญหาที่วุ่นวาย

 

เริ่มต้นทำบัญชีบริษัท เริ่มที่นรินทร์ทอง!

บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชี และภาษี รวมไปถึงการจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น

  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ

 

หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…

Facebook : NarinthongOfficial

E-mail : narinthong.ac@gmail.com

Line : @Narinthong

Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ และคุกกี้ในส่วนการตลาด

    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน และคุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บันทึกการตั้งค่า