หากคุณอยากเริ่มต้นทำอาชีพค้าขาย การรู้ทักษะในการค้าขายถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะโอกาสประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนอกจากต้องศึกษาหาความรู้ด้านการตลาด เพื่อเพิ่มยอดขายสร้างรายได้ให้มากขึ้นแล้ว ความรู้ด้านการเงินก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำ “บัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า” สำหรับพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ที่เพิ่งเคยทําบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้าครั้งแรก อาจคิดว่าคงเป็นเรื่องยาก แต่บทความนี้ นรินทร์ทอง จะชวนพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ทุกท่าน ไปทำความรู้จักกับ วิธีการทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า เพื่อช่วยควบคุมต้นทุนธุรกิจ ทั้งยังช่วยวางแผนภาษีให้ดียิ่งขึ้นด้วย
บัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า คือ
หลายคนมักคุ้นเคยกับบัญชีรายรับรายจ่ายส่วนตัวกันอยู่แล้ว เพราะเป็นบัญชีเบื้องต้นที่เราเคยทำเพื่อฝึกให้เก็บเงินตั้งแต่เด็ก แต่การทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า ถือเป็นกระบวนการบันทึกข้อมูลรายรับและรายจ่าย สำหรับกิจการที่มีการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
1. รายจ่าย
รายจ่าย หมายถึง จำนวนเงินทั้งหมดที่ร้านค้าใช้ไปกับรายจ่ายต่างๆ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนกลับมาในกิจการ ได้แก่ ต้นทุนสินค้าที่ซื้อมาเพื่อสต๊อกเก็บไว้ ก่อนนำไปจำหน่ายต่อไป ต้นทุนวัตถุดิบ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าใช้จ่ายด้านโฆษณา ค่าเช่าที่ หรือค่าจ้างพนักงาน เป็นต้น
2. รายรับ
รายรับ คือ รายได้และผลประโยชน์ที่ได้รับจากการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น รายได้ทางตรงที่เกิดจากการขายสินค้า และบริการหรือรายได้ทางอ้อมในรูปแบบต่างๆ เช่น ดอกเบี้ยรับจากบัญชีเงินฝากธนาคาร หรือรายได้จากการจำหน่ายสินทรัพย์บางอย่างในร้านค้าออกไป เป็นต้น
3. ต้นทุน
ต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของรายจ่าย แต่หลักการทำบัญชีของรายรับรายจ่ายร้านค้า จะแยกต้นทุนออกจากรายการรายจ่าย เพราะต้องการเห็นความชัดเจนว่าต้นทุนที่ทำให้ธุรกิจเกิดรายได้จริงๆ มีอะไรบ้าง
บัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า สำคัญอย่างไร
หลายคนอาจเกิดคำถามว่า “การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของร้านค้า สำคัญไหม?” คำตอบคือ “สำคัญมาก” เนื่องจากการทำบัญชีรายรับรายจ่ายของร้านค้า เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ร้านค้าสามารถบริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถป้องกันปัญหาทางการเงินในอนาคตได้ ซึ่งเหตุผลสำคัญที่พ่อค้าแม่ค้าต้องทำบัญชีรายรับรายจ่าย ได้แก่
1. รู้กำไร-ขาดทุนที่แท้จริงของกิจการ
การทำบัญชีจะช่วยให้รู้ว่าร้านค้าของเรานั้น มีกำไรหรือขาดทุนกันแน่ ไม่ใช่แค่ดูจากเงินสดที่เหลืออยู่
2. ควบคุมค่าใช้จ่าย
การบันทึกค่าใช้จ่ายทำให้รู้ว่า มีค่าใช้จ่ายส่วนไหนสูงเกินไป และสามารถหาวิธีลดต้นทุนได้
3. วางแผนการเงินได้ดีขึ้น
เมื่อรู้รายรับรายจ่ายอย่างละเอียด จะช่วยให้เราสามารถวางแผนขยายธุรกิจ หรือเก็บเงินลงทุนเพิ่มได้
4. ป้องกันปัญหาหนี้สิน
หากไม่มีการบันทึก อาจใช้เงินเกินงบประมาณที่ตั้งไว้ หรือหมุนเงินผิดพลาดจนเป็นหนี้โดยไม่รู้ตัว
5. ช่วยจัดการสต๊อกสินค้า
บัญชีที่ดีจะช่วยให้รู้ว่าสินค้าประเภทไหนขายดี ขายไม่ดี ควรสั่งเพิ่มหรือลดสินค้าประเภทไหนบ้าง
6. ใช้เป็นข้อมูลสำหรับยื่นกู้กับสถาบันการเงิน
ถ้าต้องการกู้เงินเพื่อขยายร้านค้า ทางธนาคารหรือสถาบันการเงิน จะขอดูบัญชีรายรับรายจ่ายของร้านค้า เพื่อประเมินความสามารถในการชำระหนี้
7. สะดวกต่อการจัดการภาษีในอนาคต
ร้านค้าที่ต้องเสียภาษีจะสามารถคำนวณภาษีได้ง่ายขึ้น ลดปัญหาการคำนวณผิดพลาด
วิธีทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า
เราสามารถเริ่มต้นทำบัญชีรายรับรายจ่ายของร้านค้าได้ง่ายๆ โดยใช้ “แบบฟอร์มรายงานเงินสดรับ-จ่าย” ซึ่งเป็นแบบฟอร์มตามรูปแบบที่กำหนดของกรมสรรพากร (เราสามารถใช้แบบฟอร์มนี้ยื่นกับสรรพากรในกรณีที่มีการยื่นแบบเสียภาษีบุคคลธรรมดาได้) ทั้งนี้แบบฟอร์มจะต้องมีรายละเอียดและข้อความตามตัวอย่างด้านล่างนี้ โดยเพิ่มช่องได้ตามความเหมาะสมของธุรกิจ
ตัวอย่างแบบฟอร์มบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า ตามแบบฉบับของกรมสรรพากร
ตัวอย่างแบบฟอร์ม บัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า ตามแบบที่กรมสรรพากรกำหนด เพื่อใช้ประกอบการยื่นขอลดภาษีมีดังต่อไปนี้
- ชื่อผู้ประกอบการ
- ชื่อสถานประกอบการ
- เลขประจำตัวประชาชน
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
- วัน/เดือน/ปี โดยต้องเป็นวันที่มีการรับเงิน หรือจ่ายเงินจริงเท่านั้น แต่สามารถลงบัญชีภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่มีธุรกรรมรายรับ-รายจ่ายเกิดขึ้น ก็ได้เช่นกัน
- รายรับที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากการจำหน่ายสินค้า, รายรับดอกเบี้ย หรือเงินปันผล
- รายจ่าย-บัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้าตามแบบของกรมสรรพากร กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการแบ่งรายการรายจ่าย ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.รายจ่ายที่เป็นต้นทุนสินค้า และ 2.รายจ่ายอื่นๆ เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่าสถานที่ เป็นต้น
- หมายเหตุ – ใช้สำหรับระบุรายละเอียดเพิ่มเติมว่าธุรกรรมรายรับหรือรายจ่ายที่เกิดขึ้นเป็นแบบจ่ายเงินสด หรือว่าเงินเชื่อ
ตัวอย่างแบบฟอร์มบัญชีรายรับรายจ่าย (ตามกรมสรรพากร)
ชื่อผู้ประกอบการ/ร้านค้า: _______________________
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี: _______________________
ประจำเดือน: __________ ปี พ.ศ. _________
ลำดับ | วันที่ | รายการ | รายรับ (บาท) | รายจ่าย (บาท) | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
1 | 01/03/2568 | ขายสินค้า (เงินสด) | 5,000 | – | – |
2 | 02/03/2568 | ซื้อวัตถุดิบ | – | 2,000 | วัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า |
3 | 03/03/2568 | ขายสินค้า (โอนเงิน) | 3,500 | – | – |
4 | 05/03/2568 | ค่าน้ำค่าไฟ | – | 1,200 | ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน |
5 | 07/03/2568 | ค่าเช่าร้าน | – | 3,000 | ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน |
… | … | … | … | … | … |
สรุปยอดเดือนนี้
- รวมรายรับ: 8,500 บาท
- รวมรายจ่าย: 6,200 บาท
- กำไรสุุทธิ: 2,300 บาท
ลงชื่อ ______________________ (เจ้าของกิจการ)
วันที่ /______
ข้อควรรู้ของการทำ บัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า แต่ละขั้นตอน
- การจัดทำบัญชีต้องเป็นภาษาไทยเท่านั้น ในกรณีที่เป็นภาษาต่างประเทศจะต้องมีภาษาไทยแปลความหมายกำกับ
- ต้องลงบันทึกรายการบัญชีภายใน 3 วันทำการ โดยนับแต่วันที่มีธุรกรรมรายได้-รายจ่ายใดๆ เกิดขึ้น
- นำรายการที่เกิดขึ้น (รายรับ-รายจ่าย) มากรอกในแบบฟอร์ม เราสามารถเลือกกรอกทั้ง 2 รูปแบบ “แบบยอดรวมแต่ละวัน” และ “แบบแยกทีละรายการ” โดยมีข้อกำหนดดังนี้
- ต้องมีเอกสาร หรือหลักฐานยืนยันว่ามีรายได้ และรายจ่ายเกิดขึ้นจริง เช่น ใบกำกับภาษี หรือ บิลเงินสดที่ถูกต้องตามแบบที่กำหนดโดยสรรพากร
- รายจ่ายที่นำมาลงในรายงานได้ ต้องเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ
- หากมีการขาย/ซื้อเป็นเงินเชื่อ ให้ลงรายการในวันที่ได้รับ/จ่ายเงินจริง โดยอธิบายเพิ่มเติมในช่องหมายเหตุ
- ให้สรุปยอด รายรับ และ รายจ่ายเป็นรายเดือน เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สรุปข้อดีของการทำ บัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า กับ นรินทร์ทอง
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่า การทำ บัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า มีความสำคัญกับธุรกิจอย่างมาก แต่อาจเป็นเรื่องที่หลายๆ คนเคยมองข้าม เพราะเป็นเรื่องยุ่งยากและใช้เวลา แต่จริงๆ แล้วการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า ถือเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่ง ในการบริหารร้านค้าให้เติบโตได้อย่างมั่นคง เพราะฉะนั้นหากเราให้ความสำคัญ และใช้เวลาเพิ่มอีกสักนิด เพื่อหาสำนักงานบัญชีมืออาชีพมาจัดทำในส่วนนี้ ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการร้านค้าของคุณ และสามารถป้องกันปัญหาทางการเงินในอนาคตได้
หากผู้ประกอบการท่านใด ต้องการให้เราช่วยจัดทำบัญชีและภาษีร้านค้า หรือต้องการคำแนะนำในส่วนอื่นๆ สามารถปรึกษาได้ที่ บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด ทางเราให้บริการ รับทำบัญชี และจัดทำงบการเงิน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโต และมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น
- การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
- รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
- งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
- ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339