สำหรับผู้ที่ทำงานในสายบัญชี ไม่ว่าจะเป็นนักบัญชี ที่ให้บริการ รับทําบัญชี ผู้สอบบัญชี หรือผู้ให้บริการด้านการวางระบบบัญชี และ การจัดการภาษี การทราบถึงประเภทของเงินได้เป็นเรื่องที่สำคัญ ที่จะช่วยให้สามารถบริหารอย่างถูกวิธี บทความนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจ เงินได้จากการรับทำบัญชี และ สอบบัญชี เข้าข่ายเป็นเงินได้ประเภทไหน และมีวิธีหักค่าใช้จ่ายอย่างไร กับเรานริทร์ทอง
ประเภทเงินได้พึ่งประเมินที่เกี่ยวข้อง กับ การรับทำบัญชี
การทำบัญชีเป็นรายได้ที่สามารถเข้าข่ายเป็น เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ของประมวลรัษฎากรในประเทศไทย โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ มาตรา 40(6) และ มาตรา 40(2) ดังนี้:
เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
อัตราการหักค่าใช้จ่าย สามารถหักแบบเหมา 30-60% หรือ สามารถหักได้ตามจริง
เงินได้ประเภทที่ 2 ได้แก่เงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งการงาน หรือจากการรับงาน
– ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด
– เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส
– เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้
– เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
– เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ
– เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือ จากการรับทำงานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว
อัตราการหักค่าใช้จ่าย สามารถหักได้โดยคำนวณแบบเหมา 50% โดยจะต้องคำนวณรวมกับเงินได้พึ่งประเมิน 40(1) โดยหักได้ไม่เกิน 1 แสน บาท
จากนิยามเงินได้ และ อัตราการหักค่าใช้จ่าย ของเงินได้ประเภท 40(6) และ 40(2) ในกรณีที่รายได้เป็น 40(6) จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้แบบเหมาได้ถึง 60% และหากมีการเก็บเอกสารครบถ้วนก็สมารถ หักค่าใช้จ่ายตามจริงได้นั้นเองครับ
รับทําบัญชี เป็นเงินได้ประเภทไหน
“วิชาชีพบัญชี” ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547 หมายความว่า วิชาชีพในด้าน การทำบัญชี ด้านการสอบบัญชี ด้านการบัญชีบริหาร ด้านการวางระบบบัญชี ด้านการบัญชีภาษีอากร ด้านการศึกษาเทคโนโลยี จากนิยามดังกล่าววิชาชีพบัญชีถือเป็นอีกหนึ่งวิชาชีพอิสระ ดังนั้นการ รับทำบัญชี สามารถเข้าข่ายเป็นเงินได้ประเภท 40(6) แต่จะขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงาน ดังนี้
- การทำบัญชี และ การสอบบัญชี ในกรณีที่มีการลงลายมือชื่อเป็นผู้ทำบัญชี หรือ ผู้สอบบัญชี ในกรณีนี้จะเข้าข่ายเป็น เงินได้ 40(6) เนื่องจากเป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพเฉพาะทาง ตามประมวลรัษฎากร
- ในกรณีที่เราไม่ได้เซ็น ลายมือชื่อเป็นผู้ทำบัญชี มีสำนักงานบัญชีมาจ้าง ให้เราดำเนินการบันทึกบัญชี ในกรณีนี้จะเข้าข่ายเป็น 40(2) เงินได้จากการรับงาน ตามประมวลรัษฎากร
- ในกรณีที่ให้คำปรึกษา รับค่าบริการเป็นตัวเงินที่แน่นอน เดือนละหนึ่งครั้ง จะเข้าข่ายเป็น 40(2) เงินได้จากการรับงาน ตามประมวลรัษฎากร
โดยผู้สอบบัญชีจะต้องดำเนินการสอบ TA หรือ CPA และขึ้นทะเบียนผู้สอบบัญชี เพื่อได้รับใบอนุญาต ส่วนผู้ทำบัญชีจะต้องขึ้นทะเบียนกับสถาวิชาชีพบัญชี และ แจ้งขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชี กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยมีคุณสมบัติตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด โดยสามารถอ่านคุณสมบัติเพิ่มเติมได้ที่ ทำบัญชีเองแล้วยังต้องจ้างสำนักงานบัญชีอีกไหม
ทั้งนี้การเข้าใจประเภทเงินได้ และวิธีการหักค่าใช้จ่ายที่ถูกต้องจะช่วยให้สามารถบริหารรายได้และภาษีอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การเลือกประเภทการหักค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานและเอกสารประกอบ บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด สำนักงาน รับทำบัญชี และจัดทำงบการเงิน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339