เรื่องควรรู้กับ ค่าเสื่อมราคา คือ? กับเรา Narinthong

ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจต้องมีการจัดทำบัญชี เพื่อทำให้รู้ว่าการลงทุนได้รับกำไร – ขาดทุนเป็นจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งการคำนวณจะรวม ค่าเสื่อมราคา เพราะช่วยให้คุณสามารถประเมินเกี่ยวกับทิศทางของธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าค่าเสื่อมราคาคืออะไร ทำไมถึงต้องมีการคำนวณ และเกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำงบประมาณ

วันนี้ นรินทร์ทอง จะพาคุณมาทำความรู้จักกับค่าเสื่อมราคาให้มากยิ่งขึ้น เพราะสินทรัพย์ที่นำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ ไม่ได้เป็นราคาที่เราซื้อมาลงทุนแล้วจบไป คุณต้องไม่พลาดกับบทความนี้!

 

ค่าเสื่อมราคา คืออะไร?

ค่าเสื่อมราคา

การดำเนินธุรกิจที่ลงทุนซื้อสินทรัพย์ในมูลค่าสูง ทางบัญชีไม่สามารถตัดเป็นค่าใช้ได้ทั้งจำนวน จะต้องทำการคำนวณค่าใช้จ่ายต่อปี จนสามารถส่งผลกระทบต่อกำไรขาดทุนได้ จึงทำให้การคำนวณค่าเสื่อมราคา เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณเกิดความคุ้มค่ามากที่สุด

ในรูปของค่าเสื่อมราคา (Depreciation Expense) จะสามารถนำมาคำนวณได้ก็ต่อเมื่อคุณมีสินทรัพย์ถาวรที่ใช้งานมากกว่า 1 ปี หรือรอบบัญชี ช่วยให้การคิดค่าใช้จ่ายเป็นเหมือนกับการทยอยจ่ายในแต่ละปี

เช่น คุณลงทุนซื้อเครื่องจักรขนาดใหญ่กับรถขนส่ง ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่าเป็นมูลค่าที่สูง วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาจะเริ่มต้นในวันที่ใช้งานถึงปัจจุบัน ทำให้ค่าใช้จ่ายถูกเฉลี่ยตามอายุการใช้งานในแต่ละปี หรือตามแต่ละรอบบัญชี โดยค่าเสื่อมราคาในแต่ละงวด ทางบัญชีจะนับว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่นำไปคำนวณ เพื่อหากำไร – ขาดทุนสุทธิต่อการเสียภาษี

 

ทำไมถึงเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ถาวร

ค่าเสื่อมราคา

สินทรัพย์ เป็นสิ่งของหรือทรัพยากรที่เรามี และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจได้ ซึ่งสินทรัพย์จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ‘สินทรัพย์หมุนเวียน’ ที่มีระยะการใช้งานไม่เกิน 1 ปี และ ‘สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน หรือ สินทรัพย์ถาวร’ ต้องมีระยะเวลาในการใช้งานมากกว่า 1 ปีขึ้นไป โดยมีทั้งหมด 2 ประเภท

  • สินทรัพย์ถาวรแบบมีตัวตน (Tangible Fixed Asset) เป็นสินทรัพย์ที่คุณสามารถจับ เพื่อนำมาใช้ให้ได้รับผลตอบแทน และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เช่น ที่ดิน, เครื่องจักร และอุปกรณ์ เป็นต้น
  • สินทรัพย์ถาวรแบบไม่มีตัวตน (Intangible Fixed Asset) เป็นสินทรัพย์ที่ไม่สามารถจับต้องได้อย่างทรัพย์สินทางปัญญา แต่ถือว่าสิ่งนั้นช่วยให้คุณได้รับผลประโยชน์เหมือนกัน เช่น ลิขสิทธิ์, สัญญาเช่า หรือ เครื่องหมายการค้า เป็นต้น

การที่คุณลงทุนกับสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง และมีอายุการใช้งานมากกว่า 1 รอบบัญชี โดยการบันทึกลงบัญชีจะถูกจัดว่าเป็นสินทรัพย์ถาวร เพื่อนำไปคิดคำนวณค่าเสื่อมราคา ที่มีค่าใช้จ่ายตามอายุการใช้งานในแต่ละปี แต่ไม่ใช่ว่าทรัพย์สินทุกประเภทที่คิดค่าเสื่อมราคา

 

มีวิธีการคำนวณค่าเสื่อมอย่างไร?

การคิดค่าเสื่อมราคา ถือว่าเป็นการคิดค่าใช้จ่ายของสินทรัพย์ที่เสื่อมสภาพ ในช่วงตลอดระยะเวลาของการใช้งาน ที่ให้ประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจของคุณ ซึ่งการคิดคำนวณมีหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นวิธีเส้นตรง, ตามจำนวนผลผลิต, ยอดลดลงทวีคูณ และผลรวมจำนวนปี เพื่อความเหมาะสมของกิจการ แต่ในวันนี้เราจะพาคุณมาคำนวณด้วยวิธีที่นิยมกันมากที่สุด คือ ‘การคำนวณแบบเส้นตรง’

 

การคำนวณแบบเส้นตรง

ค่าเสื่อมราคา = (มูลค่าสินทรัพย์ – มูลค่าคงเหลือ) / อายุการใช้งาน

  • มูลค่าสินทรัพย์ มูลของสินทรัพย์ถาวรที่จะนำมาคำนวณ (รายชิ้น)
  • มูลค่าคงเหลือ ราคาที่คิดว่าจะขายได้ และสินทรัพย์หมดอายุการใช้งานแล้ว
  • อายุการใช้งาน ระยะเวลาที่คุณใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ถาวร

 

ตัวอย่าง : ผู้ประกอบการที่ลงทุนซื้อเครื่องจักรผลิต ราคา 100,000 บาท ได้ทำการประเมินแล้วว่ามีมูลค่าคงเหลือ 15,000 และมีอายุการใช้งาน 8 ปี

  • (100,000 – 15,000) / 8
  • ค่าเสื่อมราคาจะอยู่ที่ 10,625 บาท/ปี

การคิดค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรงเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด เพราะการคำนวณไม่ได้มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และสามารถเข้าใจได้ง่าย โดยการนำมูลค่าสินทรัพย์หักกับมูลค่าคงเหลือ หลังจากนั้นให้หารด้วยอายุการใช้งาน ก็จะทำให้คุณได้ค่าเสื่อมราคาในแต่ละปีที่มีมูลค่าเท่ากัน ถึงแม้ว่าในช่วงปีแรกกับปีสุดท้ายการคิดจะไม่เต็มปี

 

ความสำคัญของการคิดค่าเสื่อมราคา

การคิดค่าเสื่อมราคาถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการทำบัญชี ในกรณีที่สินทรัพย์มีมูลค่ามาก และมีอายุการใช้งานเกิน 1 รอบบัญชี ก็จะถูกจัดว่าเป็นสินทรัพย์ถาวรที่ต้องมีการหาค่าเสื่อมราคา เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ได้รับผลกระทบต่อกำไรของกิจการสูง

สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าต้องทำการคิดค่าเสื่อมราคาภายในบริษัทของตัวเองอย่างไร แนะนำให้ปรึกษากับทาง นรินทร์ทอง เพราะนอกจากจะมีการคิดค่าเสื่อมราคาให้กับคุณ ยังสามารถดำเนินการเกี่ยวกับบัญชีได้แบบครบวงจร ช่วยให้การเงินของบริษัทคุณเป็นเรื่องง่าย

 

สนใจใช้บริการสำนักงานบัญชี ต้องที่ นรินทร์ทอง !

บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชี และภาษี รวมไปถึงการจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น

  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • รับทำเงินเดือนพนักงาน มีการคำนวณเงินเดือนพนักงานอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันปัญหาที่ทำให้พนักงานได้รับเงินเดือนช้า หรือไม่ครบตามที่กำหนด
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ

 

นรินทร์ทองอยากให้ธุรกิจของคุณพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดด

และรู้ทุกการเคลื่อนไหวทางการเงิน เพื่อให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

 

หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…

Facebook : NarinthongOfficial

E-mail : narinthong.ac@gmail.com

Line : @Narinthong

Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ และคุกกี้ในส่วนการตลาด

    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน และคุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บันทึกการตั้งค่า