เมื่อเราเริ่มทำธุรกิจมาระยะหนึ่งแล้ว และมีความคิดที่อยากจะจัดตั้งบริษัทเพื่อให้ธุรกิจมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น หรือจะขยายธุรกิจให้เติบโต โดยการเปลี่ยนจากบุคคลธรรมดาให้มาอยู่ในรูปแบบของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน แต่ยังไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่าง หจก กับ บริษัท ว่าแตกต่างกันอย่างไร แล้วจะเลือกจดทะเบียนแบบไหนถึงจะเหมาะสมกับธุรกิจของคุณ
วันนี้ นรินทร์ทอง จะมาไขข้อสงสัย และแนะนำรูปแบบการจดทะเบียนทั้งรูปแบบ หจก กับ บริษัท ให้คุณสามารถเลือกจดทะเบียนได้ถูกต้อง ใครที่ไม่อยากเลือกพลาดต้องไปอ่านบทความนี้กันเลย!!
หจก กับ บริษัท ต่างกันยังไง?
หลายคนอาจจะสงสัยว่าการเลือกจดทะเบียนทั้งแบบบริษัท หรือแบบห้างหุ้นส่วนต่างกันอย่างไร มาดูกันทีละข้อเลย!!
1 . อย่างแรกเลยนั่นก็คือ จำนวนผู้ร่วมลงทุน (จำนวนผู้ถือหุ้นหรือผู้ก่อตั้ง)
- บริษัทจำกัด : ผู้ร่วมลงทุนหรือว่าผู้ถือหุ้นจะต้องมีอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป ถึงจะสามารถจัดตั้งบริษัท จำกัดได้ (สำหรับ ถือหุ้น 2 คน เริ่มต้นวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566)
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด : นั้น สามารถจัดตั้งได้โดยต้องมีผู้ร่วมลงทุนหรือผู้ถือหุ้น 2 คน ขึ้นไป
2. การลงทุนระหว่าง หจก กับ บริษัท
- บริษัทจำกัด :การลงทุนแบบการจดทะเบียนบริษัท จะเป็นลักษณะของทุนเรือนหุ้น (Capital stock) โดยจะต้องแบ่งทุนออกเป็นหุ้น แต่ละหุ้นจะต้องมีมูลค่าเท่าๆกัน (มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท) และจะต้องเป็นการลงหุ้นด้วยเงินเท่านั้น เพราะฉะนั้นเราจะสามารถจัดตั้งบริษัทได้โดยหุ้นขั้นต่ำที่ 15 บาทขึ้นไป และหุ้นสามารถโอนให้แก่กัน หรือ โอนให้แก่บุคคลภายนอกได้
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด :ในส่วนของห้างหุ้นส่วนจะแบ่งเป็น 2 ประเภทนั่นก็คือ
– หุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดชอบหรือนั่นก็คือ หุ้นส่วนผู้จัดการ : หุ้นส่วนผู้จัดการจะมีอำนาจในการบริหารงานทั้งหมดของกิจการ และการลงทุนของหุ้นส่วนผู้จัดการ สามารถลงทุนได้ด้วยแรงงาน ลงทุนด้วยทรัพย์สิน ลงทุนด้วยเงินสดเป็นต้น
– หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบหรือเรียกอีกอย่างคือ หุ้นส่วนทั่วไป : หุ้นส่วนทั่วไปจะไม่มีอำนาจในการบริหารหรือตัดสินใจ เช่น อาจจะไม่มีอำนาจในการตัดสินใจในที่ประชุม แต่อาจจะมีอำนาจแค่ติดตามผลการดำเนินงานของกิจการเท่านั้น ส่วนการลงทุนของหุ้นส่วนทั่วไปสามารถลงทุนได้แค่ ทรัพย์สิน และเงินสดเท่านั้น
3. ความรับผิดชอบ
- บริษัทจำกัด : ผู้ถือหุ้นแต่ละคนรับผิดจำกัด ไม่เกินจำนวนเงินที่ลงหุ้น
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด : ในส่วนของหุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมกันรับผิดไม่จำกัดจำนวน (รวมถึงทรัพย์สินส่วนตัวด้วย) แต่หุ้นส่วนทั่วไปรับผิดแค่เงินที่ตัวเองได้ลงทุนไว้
4. ค่าธรรมเนียม
- บริษัทจำกัด : บริษัท จำกัด ค่าธรรมเนียมจัดตั้งจะอยู่ที่ 5,000 บาท (ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง)
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด : ห้างหุ้นส่วน จำกัด ค่าธรรมเนียมจะอยู่ที่ 1,000 บาท (ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง)
5. การปิดงบการเงินประจำปี
- การปิดงบการเงินประจำปีของ บริษัท จำกัด : สามารถให้ผู้สอบบัญชี (CPA) เซ็นรับรองงบการเงินได้
- การปิดงบการเงินประจำปีของ ห้างหุ้นส่วน จำกัด : สามารถให้ผู้สอบบัญชี (CPA) หรือสามารถให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) เซ็นรับรองงบการเงินได้
6.อัตราภาษี
การจดทะเบียนบริษัททั้งแบบ บริษัท กับ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก็ต้องเสียภาษีเหมือนกันคืออัตราภาษีก้าวหน้า เป็นการเสียภาษีเงินได้ที่คิดตามจริงและมีการคิดในอัตราที่เท่ากันคือ 15%-30% และจำเป็นต้องส่งรายงานบัญชีให้กับกรมสรรพากรอีกด้วย
7. ความน่าเชื่อถือ
- บริษัทจำกัด : สูง
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด : ปานกลาง
สรุปแล้วการจดทะเบียนแบบไหนเด่น และดีด้านไหนบ้าง ?
- บริษัทจำกัด : การจดทะเบียนแบบบริษัทจำกัดมีความน่าเชื่อถือมากกว่า มีแบบแผน มีความมั่นคงมากกว่า เช่น ในการตัดสินใจจะต้องมีการประชุมลงมติกัน ซึ่งการดำเนินการแบบนี้ช่วยให้บริษัทดำเนินธุรกิจได้อย่างมีแบบแผน โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ง่าย เหมาะกับธุรกิจที่ต้องติดต่อกับคนจำนวนมากๆ และข้อดีสำคัญอีกอย่างก็คือสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากกว่า
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด : ในส่วนของการดำเนินงานแบบห้างหุ้นส่วนนั้นมีความได้เปรียบกว่า เพราะไม่จำเป็นต้องมีการประชุมลงมติเหมือนเช่นบริษัท ทำให้การเปลี่ยนแปลงหรือการตัดสินใจทำได้เร็ว มีความยืดหยุ่นมากกว่า เหมาะสำหรับธุรกิจเล็กๆ หรือธุรกิจครอบครัว และในส่วนของห้างหุ้นส่วนจำกัดยังมีขั้นตอนการจดทะเบียนที่ง่ายกว่าและมีค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่าอีกด้วย
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ พอจะเข้าใจเรื่องการจดทะเบียนแต่ละแบบขึ้นไหม การจดทะเบียนแต่ละแบบขึ้นอยู่กับว่าบริษัทของคุณเป็นรูปแบบไหน มีเงื่อนไขครบตามที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ เพราะการจดทะเบียนแต่ละแบบมีความแตกต่างกัน ดังนั้นในการเลือกจดทะเบียนก็ควรเลือกที่เหมาะสมกับลักษณะของการดำเนินธุรกิจให้มากที่สุด และต้องไม่ลืมคำนึงถึงการเติบโตของกิจการในอนาคตด้วย เพียงเท่านี้คุณบริษัทของคุณก็จะเหมือนเติบโตไปอีกขั้นหนึ่ง และหากใครที่อยากจดทะเบียนบริษัทต้องเลือกสำนักงานบัญชีที่ดีมีมาตรฐาน และมีความประสบการณ์ในการจดทะเบียนบริษัทอย่างที่ นรินทร์ทอง เพราะเราเป็นสำนักงานบัญชีที่ให้บริการมามากกว่า 20 ปี ที่พร้อมจะช่วยให้ธุรกิจของคุณพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดด!!
อยากจดทะเบียน บริษัท กับ ห้างหุ้นส่วน เลือกทำที่นรินทร์ทอง
สำหรับใครที่สนใจจะจดทะเบียนบริษัท ยื่นภาษีอากร หรือทำบัญชีบริษัท ต้องเลือกทำกับ บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด เพราะเราเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชี และภาษี รวมไปถึงการจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี ทำให้มั่นใจได้เลยว่าหากเลือกใช้บริการกับเรา จะทำให้ธุรกิจของคุณพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดดแน่นอน อยากเติบโตในธุรกิจเลือก Narinthong !!
- บริการส่งภาษีอากร
- บริการจดทะเบียนบริษัท
- บริการทำเงินเดือนพนักงาน
- บริการรับทำบัญชี
นรินทร์ทองอยากให้ธุรกิจของคุณพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดด
ใครมีข้อสงสัย ต้องการคำปรึกษา นรินทร์ทอง สามารถติดต่อสอบถามได้ที่…
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339