ภาษีซื้อภาษีขาย

ทำความเข้าใจกับ ภาษีซื้อภาษีขาย ที่มือใหม่ห้ามพลาด!

หากคุณได้ยินคำว่า ภาษีซื้อภาษีขาย อาจจะฟังแล้วไม่รู้สึกคุ้นหูสักเท่าไหร่ แต่ความจริงแล้วเป็นภาษีที่เราใกล้ชิดมากที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่าภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) ที่เป็นการเก็บภาษีแบบทางอ้อม โดยธุรกิจที่มีรายได้ต่อปีมากกว่า 1.8 ล้านบาท จะต้องทำการจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย

วันนี้ นรินทร์ทอง อยากจะพาคุณมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีซื้อภาษีขายให้มากยิ่งขึ้น ว่าการเก็บภาษีแบบนี้คืออะไร ทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างไร และมีเรื่องไหนอีกบ้างที่มือใหม่ไม่ควรพลาด!

 

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ ภาษีซื้อภาษีขาย

ภาษีซื้อ คืออะไร?

ภาษีซื้อ ถือว่าเป็นภาษีที่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจ จะต้องเป็นคนเสียให้กับผู้ขายที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้ามีการสั่งซื้อสินค้าหรือคิดค่าบริการ เพื่อนำมาใช้ในการประกอบกิจการ เช่น อุปกรณ์สำนักงาน, วัสดุที่ใช้ในการผลิตสินค้า หรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ประกอบการทำการชำระค่าสินค้าเรียบร้อยแล้ว จะมีการคิดค่าภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราที่ 7%

วิธีการลงบันทึกทางบัญชี ต้องมีเอกสารประกอบตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้อย่าง ใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น โดยสามารถเกิดขึ้นได้จากการซื้อสินค้า การนำเข้าวัตถุดิบ การใช้บริการเช่า หรือการใช้บริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

 

ภาษีขาย คืออะไร?

ภาษีซื้อภาษีขาย

ภาษีขาย เป็นภาษีที่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจ มีการเรียกเก็บจากลูกค้าที่ซื้อสินค้าหรือใช้บริการ หากกิจการได้มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อไหร่ที่ลูกค้าจ่ายเงินค่าสินค้า ก็จะมีการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ซึ่งเงินที่เก็บเพิ่มจากลูกค้าเป็นเงินของรัฐที่เราต้องนำส่งให้กับทางกรมสรรพากร จึงทำให้ภาษีขายนับว่าเป็นการเสียภาษีที่ผู้ประกอบการจะต้องรับผิดชอบ และทำเรื่องยื่นตามกฎหมาย

โดยภาษีขายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจจะมีการจัดทำรายงาน เพื่อเป็นการบันทึกรายละเอียดของเงินที่คุณได้รับมา ซึ่งต้องมีสำเนาใบกำกับภาษีขายเป็นหลักฐาน ว่าคุณได้ทำการออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าภายในเดือนนั้นๆ จริง

 

ภาษีซื้อกับภาษีขายเกี่ยวข้องกันอย่างไร?

ภาษีซื้อภาษีขาย

ภาษีซื้อกับภาษีขายมีความเกี่ยวข้องกัน เพราะภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีการเรียกเก็บจากการขายหรือให้บริการ ผู้ประกอบการที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องมีวิธีการคำนวณภาษีที่ต้องเสีย ซึ่งมาจากภาษีซื้อกับภาษีขาย โดยนำภาษีขายทั้งเดือนมาลบกับภาษีซื้อทั้งเดือน ถ้าภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ จะกลายเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มที่คุณต้องชำระ แต่ถ้าภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย คุณมีสิทธิขอคืนเป็นเงินสดหรือขอเครดิตภาษีนำไปใช้ในเดือนถัดไปได้ และทั้งคู่ต้องมีการทำรายงานพร้อมกับยื่นแบบ ภ.พ.30 ร่วมด้วย

สำหรับใครที่ยังไม่ได้มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ได้เริ่มเตรียมการที่จะดำเนินธุรกิจ ด้วยการซื้อสินค้าหรือใช้บริการ ผู้ประกอบการสามารถยื่นคำขอ เพื่อทำการจดทะเบียนได้ ภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนวันที่มีรายได้เข้าสู่บริษัท

ถึงแม้ว่าภาษีซื้อกับภาษีขายจะมีความเกี่ยวข้องกัน แต่ก็ยังคงมีความแตกต่างกันในบางส่วน โดยเฉพาะภาษีซื้อที่ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ‘ภาษีซื้อขอคืนได้’ ก็เป็นภาษีที่นำมาหักจากภาษีขาย และ ‘ภาษีซื้อต้องห้าม’ ที่คุณต้องระวัง เพื่อไม่ให้การทำรายงานเป็นเรื่องที่เสียเวลาไปโดยสูญเปล่า

 

ภาษีซื้อต้องห้ามที่คุณควรรู้

หากใครที่อ่านมาถึงตรงนี้ก็คงจะเข้าใจแล้วว่าภาษีซื้อ เป็นภาษีที่ผู้ประกอบการจะต้องเสียให้กับผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีบางกรณีที่ทำให้คุณไม่สามารถนำภาษีซื้อไปหักกับภาษีขาย หรือขอคืนภาษีซื้อได้ ก็จะเรียกว่า ‘ภาษีซื้อต้องห้าม’ โดยตามกฎหมายได้ระบุลักษณะของภาษีซื้อต้องห้ามเอาไว้ว่า

  • ไม่มีใบกำกับภาษี หรือทำใบกำกับภาษีหาย การซื้อสินค้าหรือใช้บริการที่ไม่มีใบกำกับภาษี จะทำให้คุณไม่มีหลักฐานที่สามารถยืนยันให้กับเจ้าหน้าที่สรรพากรได้
  • มีข้อความในใบกำกับภาษีไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ถ้าต้องการนำภาษีซื้อมาหักกับภาษีขาย หรือจะขอคืนภาษีซื้อ ต้องตรวจสอบข้อความในใบกำกับภาษี ว่ามีข้อความตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
  • ภาษีซื้อที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ โดยปกติแล้วการที่จะนำภาษีซื้อมาหักหรือขอคืน ต้องเป็นภาษีซื้อที่คุณเสียให้กับผู้ประกอบการที่จดทะเบียน และเป็นสิ่งของหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับกิจการ
  • ภาษีซื้อที่มาจากค่ารับรอง ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่มาจากค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จ่ายเพื่อให้บริการแก่บุคคลนั้นๆ จะไม่สามารถนำไปหักหรือขอคืนภาษีได้
  • ภาษีซื้อที่ออกใบกำกับภาษีจากผู้ไม่มีสิทธิ บุคคลที่ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีคือ ผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม, อยู่ต่างประเทศ และมีการจดทะเบียน แต่ทรัพย์สินถูกขายทอดตลาด
  • ภาษีซื้อที่มาจากรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ถ้ามีการซื้อ เช่า หรือโอนรถยนต์กับรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน จะถือว่าเป็นรถที่ใช้นั่งตามปกติ

การนำส่งรายงานภาษีซื้อจะต้องทำการตรวจสอบให้ดี เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ใส่ภาษีซื้อต้องห้ามลงไป เพราะถ้าคุณนำไปคำนวณโดยที่ไม่รู้ตัว อาจทำให้โดนเบี้ยปรับจากทางกรมสรรพากรได้ ซึ่งมีการคิดค่าปรับ 2 แบบ คือ

  • เบี้ยปรับ 1 เท่า ตามจำนวนภาษีของใบกำกับภาษี จากการที่ไม่มีใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีไม่สมบูรณ์ หรือเป็นภาษีที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
  • เบี้ยปรับ 2 เท่า จะมีการเรียกเก็บตามจำนวนภาษีของใบกำกับภาษีเช่นกัน แต่มาจากการที่คุณปลอมใบกำกับภาษีที่ส่งให้กับทางเจ้าพนักงาน

 

ทำไมถึงต้องทำความเข้าใจกับภาษีซื้อภาษีขาย?

การทำความเข้าใจกับภาษีซื้อภาษีขาย จะช่วยให้คุณได้เข้าใจกับการคิดภาษี และป้องกันไม่ให้ตนเองทำผิดกฎหมายหรือโดนเบี้ยปรับได้อีกด้วย เพราะการที่ภาษีซื้อมากว่าภาษีขายสามารถขอคืนภาษีซื้อที่มากกว่าหรือนำไปเครดิตภาษีซื้อเดือนถัดไปได้ แต่ถ้าภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อจะทำให้คุณได้รู้ค่าภาษีที่ต้องชำระ และส่วนสำคัญที่คุณต้องระวังให้ดีเป็นเรื่องของภาษีซื้อต้องห้าม หากรู้แล้วว่าภาษีซื้อในลักษณะใดที่ไม่สามารถนำไปบันทึกจะได้ทำการละเว้น

หากคุณผู้ประกอบการที่เริ่มดำเนินธุรกิจหรือธุรกิจมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาท และทำบัญชีด้วยตนเอง จนรู้สึกว่าการทำบัญชีเป็นเรื่องที่วุ่นวาย จนมักจะทำเอกสารผิดพลาดอยู่บ่อยครั้ง แนะนำให้ติดต่อมาที่ นรินทร์ทอง เพราะเรามีประสบการณ์ที่สามารถดูแลคุณได้ครบวงจรในเรื่องของบัญชี

 

สนใจใช้บริการทางด้านบัญชี ต้องที่ นรินทร์ทอง!

บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชี และภาษี รวมไปถึงการจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี  หมดปัญหากับความยุ่งยากในการทำบัญชี ช่วยให้มั่นใจได้เลยว่าธุรกิจของคุณพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดดแน่นอน โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย

  • การส่งภาษีอากร
  • รับจดทะเบียนบริษัท
  • รับทำเงินเดือนพนักงาน
  • ให้บริการรับทำบัญชี

 

หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…

Facebook : NarinthongOfficial

E-mail : narinthong.ac@gmail.com

Line : @Narinthong

Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ และคุกกี้ในส่วนการตลาด

    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน และคุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บันทึกการตั้งค่า