ใบ กํา กับ ภาษี คือ เจ้าของกิจการต้องรู้กับเรา Narinthong!

ใบ กํา กับ ภาษี คือ เจ้าของกิจการต้องรู้กับเรา Narinthong!

ใบ กํา กับ ภาษี คือ เอกสารสำคัญที่หลายคนยังไม่รู้! คุณเคยสังเกตไหม? เมื่อเราไปจ่ายค่าบริการต่างๆ เช่น ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าโทรศัพท์ หรือค่าบริการอื่นๆ มักจะได้เอกสารใบเล็กๆ กลับมาด้วยเสมอ แล้วเอกสารเหล่านั้นคืออะไร? จริงๆ แล้วเอกสารที่มาพร้อมกับการจ่ายค่าบริการต่างๆ คือ “ใบกำกับภาษี” (Tax Invoice) หรือเรียกว่าเป็นหัวใจหลักของทุกกิจการที่อยู่ในระบบ VAT เลยก็ว่าได้

สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจมือใหม่ รวมถึงผู้เข้ารับบริการ หากคุณกำลังเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับใบกำกับภาษี วันนี้ทาง นรินทร์ทอง ได้รวบรวมข้อมูลความสำคัญ และ รูปแบบของใบกำกับภาษีมาไว้ในบทความนี้แล้ว ซึ่งรายละเอียดจะมีอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลย!!

 

ใบ กํา กับ ภาษี คือ อะไร?

ใบ กํา กับ ภาษี คือ อะไร?

ใบ กำ กับ ภาษี คือ เอกสารสำคัญที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ได้จัดทำ และออกเอกสารให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เพื่อเป็นการยืนยันว่าเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกค้ามาแล้ว ภายในใบกำกับภาษีจะแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการ และจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้า

  • กรณีการขายสินค้า ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี พร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อทันทีที่มีการส่งมอบสินค้า
  • กรณีการให้บริการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี พร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้รับบริการในทันที หลังจากที่ได้รับชำระค่าบริการ

มีความสำคัญอย่างไร

การออกใบกำกับภาษี คือ เอกสารที่ผู้ประกอบการ จะต้องออกให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เพื่อใช้เป็นหลักฐานสำหรับการแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการ และจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามรายละเอียดที่เราได้บอกไปในข้างต้น โดยผู้ประกอบการจะต้องออกใบกำกับภาษีออกเป็น 2 ฉบับ ได้แก่

  • ต้นฉบับ ผู้ประกอบการจะต้องออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ
  • สำเนา ผู้ประกอบการจะต้องเก็บไว้ใช้เป็นหลักฐานในการยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มรายเดือน ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องเก็บเอกสารเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี

ถ้าหากผู้ประกอบการไม่จัดทำการออกใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้า เมื่อถึงเวลาต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องถูกปรับเป็นสองเท่าของจำนวนภาษีในใบกำกับภาษี ตามมาตรา 89(5)

ผู้ออกใบกำกับภาษี คือใคร?

ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี คือ ผู้ประกอบการกิจการที่จดทะเบียนเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และจะต้องมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจากการประกอบกิจการ โดยผู้ประกอบกิจการมีหน้าที่ยื่นคำขอ และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่กิจการมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท

ถ้าหากธุรกิจที่อยู่ในรูปแบบบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี แต่ต้องการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็สามารถยื่นจดทะเบียนเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้เช่นกัน แต่สำหรับบางธุรกิจที่ได้รับข้อยกเว้นในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็สามารถเลือกได้ว่าจะจดหรือไม่ ซึ่งแต่ละแนวทางก็มีทั้งข้อดี และ ข้อควรพิจารณาแตกต่างกันออกไป

เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีอย่างไร

ปกติแล้วธุรกิจที่เริ่มมีการจัดตั้งอยู่ในรูปแบบบริษัท สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้ คือ การจัดเตรียมเอกสารและข้อมูลทางบัญชีต่างๆ เพื่อเป็นหลักฐานแสดงต่อกรมสรรพากรในการหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง มีทั้งรูปแบบบุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล

สำหรับธุรกิจที่อยู่ในรูปแบบบุคคลธรรมดา หากดำเนินกิจการมาถึงจุดที่มีรายได้สูง แต่ไม่ได้มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเลือกวิธีหักค่าใช่จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้เพื่อเสียภาษี มีอยู่ 2 แบบ คือ

  • หักแบบเหมา
  • หักตามจริง

หากเจ้าของธุรกิจเลือกหักค่าใช่จ่ายแบบตามจริง จะต้องมีเอกสารอย่างครบถ้วน ตั้งแต่เอกสาร รายการบิล ใบเสร็จต่างๆ และบัญชีรายรับรายจ่ายของแต่ละวัน เพื่อแสดงต่อสรรพากรในการหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง

ใช้ได้ภายในกี่เดือน

อายุของใบกำกับภาษีสามารถนำมาใช้หักกับภาษีขาย (Output VAT) ได้ไม่เกิน 6 เดือน โดยเริ่มนับตั้งแต่เดือนถัดจากเดือนที่ออกใบกำกับภาษี แต่ถ้าหากคุณมีภาษีซื้อ (Input VAT) แล้วไม่ได้นำมาหักภาษีจะต้องมีสาเหตุ ดังนี้

  • เหตุจำเป็น ซึ่งเกิดขึ้นตามประเพณีทางการค้า
  • เหตุสุดวิสัย
  • ได้รับใบกำกับภาษีในเดือนภาษีอื่น ที่ไม่ใช่เดือนตามที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษี

 

ใบ กำ กับ ภาษี คือ มีกี่รูปแบบ?

หลังจากที่ได้รู้จักความสำคัญของใบกำกับภาษีกันไปแล้ว ในหัวข้อนี้เราจะมาพูดถึงรูปแบบของใบกำกับภาษี และวิธีขอคืนภาษีจากกรมสรรพากร แต่ก่อนที่จะไปพูดถึงรายละเอียดต่างๆ เราจะมาอธิบายความหมายของคำว่า “e-Tax Invoice” คืออะไร? แล้วแตกต่างจาก ใบกำกับภาษีเขียนด้วยมือ อย่างไร? ไปดูคำตอบในหัวข้อถัดไปได้เลย!

Tax Invoice กับ e-Tax Invoice ต่างกันอย่างไร?

Tax Invoice กับ e-Tax Invoice ต่างกันอย่างไร?

e-Tax Invoice หรือ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นรูปแบบที่กรมสรรพากรได้พัฒนาขึ้นมาแทนการออกใบรับ/ใบกำกับภาษีแบบกระดาษ ทางผู้ประกอบการธุรกิจไม่ต้องจัดทำเอกสารให้ยุ่งยาก เพราะคุณสามารถส่งข้อมูลถึงลูกค้า และกรมสรรพากรได้ทันทีผ่านทางอีเมลหรือเว็บไซต์

ดังนั้น e-Tax Invoice จะเหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก หรือผู้ที่เริ่มต้นทำธุรกิจ อย่างเช่น ร้านค้าออนไลน์ และมีการใช้งานที่สะดวกรวดเร็วกว่า แต่ทั้งนี้เพื่อความถูกต้องของการใช้ e-Tax Invoice ผู้ประกอบการต้องอัปเดตข้อมูลจากเว็บไซต์ของสรรพากรอย่างสม่ำเสมอ

ใบกำกับภาษี มีกี่ประเภท

สำหรับการออกใบกำกับภาษีนั้นจะมีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ คือ ใบกำกับภาษีอย่างย่อ และ ใบกำกับภาษีรูปแบบเต็ม ซึ่งจะเห็นได้ว่าใบกำกับภาษีอย่างย่อ จะถูกใช้ในรูปแบบชีวิตประจำวันจากการซื้อสินค้า และการบริการตามสถานที่ต่างๆ โดยทั้ง 2 ประเภทจะมีข้อแตกต่างกันในด้านการใช้งาน ดังนี้

1. ใบกำกับภาษีอย่างย่อ

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ คือ เอกสารหลักฐานสำคัญในอีกรูปแบบหนึ่ง สำหรับ “กิจการค้าปลีก” ที่มีการจด VAT เพื่อเอาไว้เป็นหลักฐานแสดงมูลค้าสินค้า และบริการนั้นๆ แต่ไม่สามารถใช้ลงค่าใช้จ่าย Vat ได้ ซึ่งกิจการค้าปลีกเมื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ผู้ประกอบการสามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้เลย โดยไม่ต้องขออนุมัติจากกรมสรรพากร อย่างเช่น กิจการแผงลอย, กิจการขายของชำ, กิจการขายยา, ห้างสรรพสินค้า, โรงแรม ฯลฯ

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ

ทุกครั้งที่คุณได้รับใบเสร็จจากร้านสะดวกซื้อ หากสังเกตแล้วพบว่ามีรายละเอียดครบทั้ง 7 ข้อด้านล่างนี้ แสดงว่าเป็นใบกำกับภาษีอย่างย่อ ซึ่งหลักการสังเกตมีดังนี้

  1. ข้อความด้านบนใบเสร็จจะมีคำว่า “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ”
  2. ชื่อ หรือ ชื่อย่อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี
  3. มีหมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และ หมายเลขของเล่ม (ถ้ามี) ระบุอย่างชัดเจน
  4. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
  5. ราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่า ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
  6. มีการระบุ วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
  7. ข้อความอื่นๆ ที่กรมสรรพากรกำหนด

2. ใบกำกับภาษีรูปแบบเต็ม

ใบกำกับภาษีรูปแบบเต็ม คือ เอกสารที่ผู้ประกอบการสามารถออกเอกสารได้ก็ต่อเมื่อมีการร้องขอ ซึ่งใบกำกับภาษีรูปแบบเต็มผู้ซื้อสามารถนำไปใช้เป็นภาษีซื้อได้ ที่สำคัญต้องมีรายละเอียดครบถ้วน ตรงตามที่ใบกำกับภาษี (ม.86/4) กำหนด ซึ่งประกอบไปด้วย 7 ส่วน หากคุณมีใบกำกับภาษีรูปแบบเต็มอยู่ละก็ สามารถนำมาเทียบเพื่อดูไปพร้อมๆ กันได้เลย!

ใบกำกับภาษีรูปแบบเต็ม

1. ในเอกสารจะต้องมีคำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด สามารถออกพร้อมเอกสารอื่นๆ ได้ ถ้ามีเอกสารหลายฉบับในชุดเดียวกันจะต้องมีคำว่า “เอกสารออกเป็นชุด” แสดงอย่างชัดเจนในใบกำกับภาษี ถ้าหากมีการออกสำเนาก็ต้องมีคำว่า “สำเนาใบกำกับภาษี” บนสำเนาด้วย

2. ต้องมีการระบุ ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวภาษีอากร ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี ตามใบ ภ.พ. 20 หรือเอกสารที่รับรองการจดทะเบียนผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม หากเป็นสำนักงานใหญ่จะต้องมีข้อความว่า “สนญ” หรือ “HQ” หรือ “สาขา 00000” (เลข 5 หลักของสาขา)

3. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของผู้ซื้อสินค้า หรือ ผู้รับบริการ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

4. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีต้องมีเลขที่ระบุ ถ้าไม่มีเลขที่จะไม่สามารถนำมาใช้เป็นภาษีซื้อได้ และการออกใบกำกับภาษีที่ไม่มีเลขที่นั้น ผู้ออกใบกำกับภาษีจะมีความผิดฐานออกใบกำกับภาษีไม่ครบถ้วน และมีโทษปรับ 2,000 บาท

5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้า หรือ ของบริการ

6. จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้า หรือ ของบริการที่แสดงอย่างชัดเจน

7. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี

การขอคืนภาษี จะต้องมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง?

เมื่อพูดถึงรูปแบบการยื่นภาษีแล้ว สิ่งสำคัญต่อมาที่ผู้ประกอบการต้องรู้ก็คือ “การขอคืนภาษี” ในหัวข้อนี้จะเป็นการบอกรายละเอียดคร่าวๆ เกี่ยวกับเงื่อนไขของการขอคืนภาษี โดยจะมีอะไรบ้างไปดูกัน!

  • การขอคืนภาษีเป็นสิทธิ์ที่ผู้เสียภาษีสามารถทำได้
  • ช่วงเวลาการขอคืนภาษี
  • ขั้นตอนการตรวจสอบการขอคืนภาษี
  • กรมสรรพากรคืนเงินภาษีล่าช้า คิดดอกเบี้ยได้
  • เลือกช่องทางการรับเงินคืนภาษีได้
  • สามารถตรวจสอบสถานะการคืนเงินภาษี ผ่านทางกรมสรรพากรได้

 

สรุปเรื่องใบกำกับภาษี ที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้!

สรุปเรื่องใบกำกับภาษี ที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้!

เป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับ “ใบกำกับภาษี” ที่ทางเราได้อธิบายไปข้างต้น ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือผู้ใช้บริการ ก็จำเป็นต้องรู้ข้อมูลเหล่านี้ เพื่อไม่ให้เสียผลประโยชน์ และสามารถมั่นใจได้ว่าทำถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร เพียงเท่านี้การออกใบกำกับภาษีก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

ถ้าหากคุณคือผู้ประกอบการที่ต้องการคำปรึกษา เราขอแนะนำ นรินทร์ทอง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการบัญชี และภาษี ที่พร้อมให้คำปรึกษา และวางระบบการจัดทำใบกำกับภาษี รับรองว่าเอกสารทางการบัญชีของคุณจะไม่ยุ่งยากอีกต่อไป!

 

 

อยากทำใบกำกับภาษี นรินทร์ทองการบัญชี พร้อมให้คำปรึกษา

สำหรับใครที่สนใจจดทะเบียนบริษัท ยื่นภาษีอากร หรือทำบัญชีบริษัท ต้องเลือกทำกับ บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด เพราะเราเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชี และภาษี รวมไปถึงการจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี ทำให้มั่นใจได้เลยว่าหากเลือกใช้บริการกับเรา จะทำให้ธุรกิจของคุณพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดดแน่นอน อยากเติบโตในธุรกิจเลือก Narinthong !!

  • บริการส่งภาษีอากร
  • บริการจดทะเบียบบริษัท
  • บริการทำเงินเดือนพนักงาน
  • บริการรับทำบัญชี

 

นรินทร์ทองอยากให้ธุรกิจของคุณพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดด

 

ใครมีข้อสงสัย ต้องการคำปรึกษา นรินทร์ทอง สามารถติดต่อสอบถามได้ที่…

Facebook : NarinthongOfficial

E-mail : narinthong.ac@gmail.com

Line : @Narinthong

Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ และคุกกี้ในส่วนการตลาด

    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน และคุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บันทึกการตั้งค่า