ปัจจุบันเทคโนโลยีนั้นเข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันของเรา ยิ่งบวกกับการเข้ามาของโรค covid-19 ทำให้น้อยคนนัก ที่จะไม่ใช่อินเตอร์เน็ตในการทำธุรกรรม และ การเงิน จริงๆแล้วมันเหมือนเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว สมัยนี้ใครจะไปโอนเงินผ่านตู้ หรือไปที่ธนาคารก็เป็นเรื่องที่ดูยุ่งยากใช่ไหมล้ะครับ และไม่ว่าจะเป็นร้านค้า หรือร้านสะดวกซื้อ ตอนนี้ก็มีบริการรับชำระแบบโอนเกือบหมดแล้ว ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ต้องมีการปรับรูปแบบธุรกิจหรือเริ่มหาช่องทางการค้าขายใหม่และหันมาทำธุรกิจออนไลน์กันมากยิ่งขึ้น แต่รู้ไหมว่าการที่เราโอนเงิน หรือรับเงินเข้าบัญชีในจำนวนที่มากๆเนี่ย ทางธนาคารจะต้องส่งข้อมูลบัญชีของเราไปให้ทางสรรพากรเพื่อตรวจสอบในการคิดภาษีที่เรียกว่า “ภาษี e-payment” นั้นเอง โดยประกาศใช้กับทุกคน ไม่ใช่เฉพาะร้านค้าออนไลน์เพียงเท่านั้น วันนี้เราเลยจะพาทุกคนมารู้จักกับ
ภาษีโอนเงิน 400 ครั้ง กันว่ามันคืออะไร แลว้วเราต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างครับ
กฎหมาย e-payment คืออะไร
กฎหมาย E-Payment หรือพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 เกิดขึ้นเพื่อรองรับระบบภาษี และเอกสารธุรกรรมทางการอิเล็กทรอนิกส์ ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการนำส่งเงินภาษี การยื่นรายการ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร
เงื่อนไขของการส่งข้อมูลบัญชีให้กรมสรรพากร
สถาบันจะนับจำนวนธุรกรรมรวมกันทุกบัญชีที่เกิดขึ้นภายใน 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 31 ธ.ค. ของทุกปี นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร โดยกฎหมายจะมีผลก็ต่อเมื่อ
-
จำนวนครั้งการฝาก/รับโอนเงิน เกิน 3,000 ครั้งขึ้นไปต่อปี ทางธนาคารจะทำการยื่นส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากรเพื่อทำการตรวจสอบไม่ว่ามูลค่าในการโอนจะมาก หรือน้อยก็ตาม
-
จำนวนครั้งการฝาก/รับ โอน เงิน เกิน 400 ครั้ง ขึ้นไป และต้องมียอดรวมมากกว่า 2,000,000 บาท ต่อปี (ในกรณีที่ยอดโอนที่ไม่ตรงกับเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งบัญชีของคุณจะไม่ถูกตรวจสอบ) เช่น มียอดรับ โอน เงิน เกิน 400 ครั้ง แต่มียอดรวมไม่เกิน 2,000,000 บาท บัญชีของคุณก็จะไม่ถูกตรวจสอบ
เพิ่มเติม : เมื่อเข้าเกณฑ์แล้วจะถูกตรวจสอบทุกรายหรือไม่ คำตอบคือ กรมสรรพากรจะไม่เรียกตรวจทุกราย เพราะกรมสรรพากรจะมีการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจัดกลุ่มผู้เสียภาษีอีกครั้งหนึ่ง
หน่วยงานที่ต้องรายงานกรมสรรพากร
ซึ่งหน่วยงานนั้นก็คือ
- สถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารภาครัฐ
- รวมไปถึงผู้ให้บริการด้านการเงินอื่นๆ เช่น True money , Rabbit LINE Pay , e-Wallet เป็นต้น
หน่วยงานเหล่านี้มีหน้าที่ต้องรายงานธุรกรรมที่เข้าเงื่อนไขให้กรมสรรพากรทราบ โดยธุรกรรมที่ว่าคือรายการ การฝากหรือการรับโอน และยังรวมไปถึงการรับเงินปันผลหรือดอกเบี้ยอีกด้วย
ข้อมูลที่กรมสรรพากร จะได้จากหน่วยงาน
• เลขบัตรประจำตัวประชาชน (หรือเลขทะเบียนนิติบุคคล)
• ชื่อ-สกุล (หรือชื่อบริษัท)
• เลขบัญชีเงินฝาก
• จำนวนครั้งของการฝาก/รับโอนเงิน
• ยอดรวมของการฝาก/รับโอนเงิน
กรมสรรพพากรจะนำข้อมูลที่ได้ไปใช้อย่างไร
กรรมสรรพากรจะนำข้อมูลของเราไปวิเคราะห์ผ่านระบบคอมพิวเตอร์เพื่อจัดกลุ่มผู้เสียภาษี หากถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง กรมสรรพากรจะนำข้อมูลไปวิเคราะห์เชิงลึกอีกที ว่าจะให้บริการในรูปแบบไหนถึงจะเหมาะสม
แนะนำวิธีการเตรียมตัว สำหรับคนที่เข้าเกณฑ์ ภาษีโอนเงิน 400 ครั้ง
- ต้องทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายให้ชัดเจน เพื่อแจกแจงรายละเอียดในแต่ละธุรกรรมของธุรกิจ
- เก็บหลักฐานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
- ขอใบกำกับภาษีในการซื้อมาขายไปทุกครั้ง เพื่อใช้เป็นหลักฐานเมื่อทำการยื่นภาษี
- ยื่นแบบแสดงรายการภาษีให้ตรงเวลาที่กำหนดและครบถ้วนมากที่สุด
- ศึกษาเพิ่มเติม และอัพเดทข่าวสารเกี่ยวกับภาษีออนไลน์อยู่เสมอ เผื่อมีอะไรที่เปลี่ยนไปหรือสามารถลดหย่อนได้ จะได้ไม่เป็นการเสียโอกาสกับเราตัวเราเอง
ภาษีอีเพย์เมนต์ถูกบังคับใช้กับทุกคน ไม่ใช่เฉพาะร้านค้าออนไลน์เท่านั้น ดังนั้นการศึกษาหาความรู้เรื่องภาษีและยื่นภาษีให้ถูกต้องเป็นสิ่งที่ควรรีบดำเนินการ ไม่ว่าบัญชีธนาคารของตนเองจะมีธุรกรรมที่เข้าเงื่อนไขหรือไม่ แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราเตรียมพร้อมรับมือโดยจดทะเบียนร้านค้าออนไลน์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย และมีคนคอยให้คำปรึกษา
ใครมีข้อสงสัย ต้องการคำปรึกษา นรินทร์ทอง สามารถติดต่อสอบถามได้ที่…
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339