ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ หนึ่งในภาษีที่ได้ยินกันบ่อยที่สุด และเป็น Vat ที่เราต้องเจอในชีวิตประจำวัน แล้ว Vat เหล่านี้มาจากไหน? ใครมีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มบ้าง? วันนี้ นรินทร์ทอง จะพาทุกคนไปทำความรู้จักเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม เรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคต้องเข้าใจก่อนการซื้อ-ขาย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ อะไร
ก่อนที่รู้รายละเอียดการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เรามารู้ความหมายของคำๆ นี้กันก่อน คำว่า “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” (Value Added Tax หรือ Vat) คือการเก็บภาษีจากการซื้อขาย หรือ การให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ โดยผู้ประกอบการมีอัตราการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยอยู่ที่ 7% และนำภาษีนั้นส่งให้กับทางกรมสรรพากรเพื่อเข้าสู่คลังของประเทศ เพื่อการใช้จ่ายและพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ
ใครต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มบ้าง
ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ Vat เป็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับทั้งบุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล แน่นอนว่าต้องมีธุรกิจที่ต้องจดทะเบียน และธุรกิจที่ได้รับการยกเว้น ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) มีดังนี้
ธุรกิจที่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ผู้ประกอบกิจการที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการ เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาท
- ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือบริการ ที่อยู่ในข้อบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน ก่อสร้างอาคารสำนักงาน หรือติดตั้งเครื่องจักร ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน ภายในกำหนด 6 เดือน ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ
- ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร แต่ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักร โดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร ซึ่งในกรณีนี้ต้องให้ตัวแทนเป็นผู้รับผิดชอบในการจดทะเบียน
ต้องมีรายได้เกินเท่าไหร่?
ถ้าหากคุณเป็นหนึ่งในผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่รู้ว่าต้องจดทะเบียนหรือไม่ ขอแนะนำให้สำรวจรายได้ต่อปีหากมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 150,000 บาท หรือ เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี (รายได้ในที่นี้ต้องคิดจากยอดขายหรือค่าบริการที่เรียกเก็บจากลูกค้า ไม่ใช่กำไรหลังหักค่าใช้จ่าย) ต้องดำเนินการจด VAT ภายใน 30 วัน แต่ในกรณีที่ยอดขายตลอดทั้งปี มีรายได้ 1.8 ล้านบาทพอดี จะยังไม่ถูกบังคับให้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลูกค้าเข้าระบบ Vat ได้หรือไม่?
นอกจากประเภทของธุรกิจหรือรายได้แล้ว ต้องเช็กด้วยว่า ลูกค้า หรือ ผู้ใช้บริการธุรกิจของคุณนั้นเป็นผู้ที่เข้าระบบ Vat ได้หรือไม่ หากลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในระบบ Vat แนะนำว่าให้ดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถึงแม้ว่าจะมีรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปีก็ตาม แต่เพื่อความน่าเชื่อถือ และรักษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ลูกค้า
ธุรกิจใดที่ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
- ผู้ประกอบการที่ได้รับการประกาศจากกรมสรรพากร
- ผู้ประกอบการขายสินค้าหรือให้บริการ ที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
- ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจส่งออก และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
- ผู้ประกอบการที่อยู่นอกรายอาณาจักร และเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักเป็นครั้งคราว (ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร)
ข้อดี-ข้อเสีย ของการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
สำหรับใครที่ต้องการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) แล้วยังไม่แน่ใจว่าถ้าทำแล้วจะส่งผลดีหรือผลเสียอย่างไร ทาง นรินทร์ทอง จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจดทะเบียนไว้ในหัวข้อนี้ ไปดูกันว่าถ้าทำแล้วจะส่งผลดีต่อธุรกิจของคุณมากน้อยแค่ไหน!
ข้อดีของ ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ
- สามารถขอคืน Vat ได้ เมื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ Vat สามารถบันทึกเป็นภาษีซื้อ และทำการขอคืนได้ (ในกรณีที่ของชิ้นนั้นมี Vat) หมายความว่า ต้นทุนของสินค้าจะถูกลงจากการขอคืนภาษีซื้อ
- มีการจัดการบัญชีเป็นระบบมากขึ้น เมื่อทำการจด Vat แล้ว ทางบริษัทจะต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ-ภาษีขาย เพื่อยืนยันต่อกรมสรรพากร ทำให้ต้องมีการลงบัญชีรายการซื้อ-ขาย จัดเก็บเอกสารใบกำกับภาษีอย่างเป็นระบบ ซึ่งการทำบัญชีอย่างเป็นระบบจะทำให้คุณสามารถตรวจสอบความถูกต้อง และความผิดพลาดของธุรกิจได้ง่ายยิ่งขึ้น
- เพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจ การที่ลูกค้าขอใบกำกับภาษีหลังจากการซื้อ-ขาย เพราะต้องการนำไปใช้ประโยชน์เป็นภาษีซื้อเพื่อลดภาระภาษีของฝ่ายลูกค้า ดังนั้นบริษัทที่ทำจดทะเบียน Vat จะมีโอกาสขายได้มากกว่า และสามารถเพิ่มโอกาสให้กับกิจการได้
- กิจการมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น เนื่องจากการจด Vat นั้น เหมือนเป็นการการันตีว่า ธุรกิจของคุณน่าเชื่อถือ และมีตัวตนอยู่จริง เพราะการจดทะเบียนต้องได้รับการตรวจสอบจากกรมสรรพากร
ข้อเสีย
- ราคาสินค้าแพงขึ้น เมื่อมีภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำให้การซื้อ-ขายบวก Vat 7% ทุกครั้ง อาจทำให้สินค้าของคุณมีราคาแพงขึ้น แต่ในกรณีที่สินค้าของคุณไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น เนื้อสัตว์ หรือ ผักสด เป็นต้น อาจทำให้คุณไม่ได้รับผลประโยชน์จากการเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือเรียกง่ายๆ คือ ต้นทุนเท่าเดิม แต่ราคาขายสูงขึ้นนั่นเอง
- ต้องยื่นรายงานภาษีซื้อ-ภาษีขาย ทุกเดือน ต้องทำรายงานภาษีซื้อ-ภาษีขาย และยื่นแบบ ภ.พ.30 ให้กับกรมสรรพากรทุกเดือน ถึงแม้ว่าในเดือนนั้นจะไม่มีการซื้อ-ขายก็ตาม
- ต้องมีความรู้เกี่ยวกับใบกำกับภาษี คุณจำเป็นต้องศึกษาวิธีการ เงื่อนไขการออกใบกำกับภาษี และการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ละเอียดที่สุด เพื่อป้องกันปัญหาถูกเรียกค่าปรับทางกฎหมาย
สามารถจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้ที่ไหน
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้กันแล้ว สำหรับผู้ประกอบการท่านใดที่ต้องการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ไม่รู้ว่าต้องไปที่ไหน? ทางเราขอแนะนำสถานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้
สถานที่ยื่นคำขอร้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในเขตกรุงเทพหมานคร
- สามารถยื่นที่ฝ่ายทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ (สพท.) ทุกแห่ง
- ยื่นขอจดทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร
สถานที่ยื่นคำขอร้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในเขตปริมณฑล
- ยื่นจดทะเบียน ณ ที่ตั้งกรมสรรพากรอำเภอหรือสำนักงานกรมสรรพากรของจังหวัด
- ยื่นขอจดทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร
ซึ่งสรุปโดยรวมแล้ว ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีที่กรมสรรพการจะเรียกเก็บจากการขายสินค้า และบริการจากผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการที่ยื่นจดทะเบียนกับทางสรรพกรจะต้องมีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี และไม่ใช่แค่ผู้ประกอบการเท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องภาษี
เพราะผู้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทุกครั้งที่ซื้อสินค้าหรือใช้บริการ นั่นก็คือ ผู้บริโภค ซึ่งการยื่นจดทะเบียนสามารถยื่นได้ทั้งกับหน่วยงานจดทะเบียนโดยตรง และช่องทางออนไลน์บนเว็บไซต์กรมสรรพกร (ในกรณีที่ยื่นจดทะเบียนผ่านทางอินเทอร์เน็ต การอนุมัติจะล่าช้าประมาณ 15 วัน)
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มยังไงให้เป็นเรื่องง่าย กับ นรินทร์ทอง
สำหรับใครที่สนใจจดทะเบียนบริษัท ยื่นภาษีอากร หรือทำบัญชีบริษัท ต้องเลือกทำกับ บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด เพราะเราเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชี และภาษี รวมไปถึงการจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี ทำให้มั่นใจได้เลยว่าหากเลือกใช้บริการกับเรา จะทำให้ธุรกิจของคุณพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดดแน่นอน อยากเติบโตในธุรกิจเลือก Narinthong !!
- บริการส่งภาษีอากร
- บริการจดทะเบียบบริษัท
- บริการทำเงินเดือนพนักงาน
- บริการรับทำบัญชี
นรินทร์ทองอยากให้ธุรกิจของคุณพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดด
ใครมีข้อสงสัย ต้องการคำปรึกษา นรินทร์ทอง สามารถติดต่อสอบถามได้ที่
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339