ยุคนี้เป็นยุคที่การขายของผ่านช่องทางออนไลน์มาแรง และได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะอาชีพนี้สามารถสร้างรายได้ ให้กับผู้ขายได้อย่างมหาศาล ด้วยการอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยให้ร้านค้าของเรา เข้าถึงคนได้หลากหลายกลุ่มและเป็นที่รู้จักในวงกว้าง เและที่สำคัญมีต้นทุนต่ำ เพราะไม่ต้องเสียค่าเช่าที่ในการเปิดร้าน แต่เมื่อมีรายได้เข้ามาเยอะ ก็ต้องมีรายจ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งนั่นก็คือ “การเสียภาษี” และเราเชื่อว่ายังมีหลายคน ที่เกิดคำถามมากมายว่า ขายของออนไลน์ต้องยื่นภาษีมั้ย? แล้วต้องมียอดขายเท่าไหร่ถึงจะต้องยื่น? วันนี้ นรินทร์ทอง จึงอยากมาแชร์วิธีการวางแผน ภาษีขายออนไลน์ แบบละเอียด! เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับผู้ที่มีอาชีพขายของออนไลน์ สามารถวางแผนและรับมือกับการเสียภาษีได้อย่างถูกต้อง
ขายของออนไลน์ ต้องเสียภาษีไหม?
ถ้าคุณกำลังสงสัยว่า ขายออนไลน์เสียภาษี ไหม? ขอตอบเลยว่า ต้องเสียภาษี เพราะการเสียภาษีถือเป็นหน้าที่พื้นฐานของผู้มีรายได้ทุกคน ดังนั้นถึงแม้ว่าคุณจะมีอาชีพขายของออนไลน์ ไม่ได้มีหน้าร้าน ก็ต้องเสียภาษีเช่นเดียวกัน ซึ่งต้องมาดูว่ายอดขายในแต่ละเดือนของเรานั้น ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ และต้องคำนวณภาษีในอัตราเท่าไหร่ โดยรายได้ที่มาจากการซื้อมาขายไป หรือจากการขายของออนไลน์ จัดเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ ม. 40 (8) นั่นเอง
วิธีวางแผน ภาษีขายออนไลน์ สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์
ก่อนเริ่มต้นวางแผน ภาษีขายออนไลน์ สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ เราจะต้องรู้ก่อนว่าตัวเองอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ หรือต้องเสียกี่เปอร์เซ็นต์? ซึ่งโดยปกติแล้ว ในกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะต้องยื่นภาษี เมื่อมีรายได้มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน หรือ 120,000 บาทต่อปี ถึงแม้จะไม่มีภาษีที่ต้องชำระก็ตาม และผู้มีรายได้ตั้งแต่ 310,000 บาทขึ้นไป ต้องยื่นภาษีและเข้าข่ายเสียภาษี ถ้าหากคุณอยากรู้ว่าตัวเองเข้าข่ายเสียภาษีหรือไม่ และถ้าต้องเสียภาษีจะมีวิธีการวางแผนอย่างไรบ้าง? นรินทร์ทอง ได้เตรียมวิธีวางแผน ภาษีขายออนไลน์ มาให้คุณแล้วในหัวข้อนี้ โดยเริ่มจาก
การคำนวณรายได้
ในการคำนวณภาษี สำหรับคนทำอาชีพขายของออนไลน์ ที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะมีด้วยกัน 2 วิธี ได้แก่
1. ภาษีที่ต้องจ่าย = (เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี ตามอัตราขั้นบันได
สำหรับการคำนวณภาษีวิธีนี้ สามารถคำนวณค่าใช้จ่ายที่นำมาหักลบได้ 2 แบบ คือ
-
- หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% ของยอดขาย วิธีนี้เหมาะกับร้านค้าออนไลน์ที่มีต้นทุนน้อย มีกำไรจากการขายเยอะกว่า 40%
- หักตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง วิธีนี้จะต้องเก็บรวบรวมหลักฐานค่าใช้จ่าย ให้ครบถ้วนและตรวจสอบได้จริง เหมาะกับร้านค้าที่มีต้นทุนสูง
2. ภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้ x 0.5%
วิธีนี้จะใช้ในกรณีที่เรามีรายได้เกิน 1 ล้านบาทต่อปี และเมื่อลองคำนวณออกมาเปรียบเทียบกันแล้วคุ้มค่ากว่าคำนวณวิธีที่ 1
ค่าใช้จ่าย
ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการวางแผน ภาษีขายออนไลน์ เนื่องจากรายได้จากการขายของออนไลน์ ถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 โดยมีวิธีหักค่าใช้จ่าย 2 แบบ คือ
1. หักแบบเหมา 60% แปลว่า กำไรขั้นต้นของประกอบกิจการ คือ 40% วิธีนี้จะไม่ต้องเก็บเอกสารใดๆ แต่กำไรที่ใช้คำนวณภาษีอาจจะไม่ตรงกับความจริง
2. เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริง สำหรับกำไรขั้นต้น น้อยกว่า 40% ต้องเตรียมตัวเรื่องเอกสาร ได้แก่ ใบเสร็จรับเงิน, ใบกำกับภาษี, บิลเงินสด, ใบสำคัญรับเงิน และ สำเนาบัตรประชาชน ตั้งแต่ต้นปี มิฉะนั้น ความครบถ้วนและถูกต้องจะทำได้ยาก เมื่อเตรียมตัวช้า
ค่าลดหย่อนภาษีต่างๆ
ค่าลดหย่อนภาษีต่างๆ สามารถแยกได้เป็น 4 หมวดหมู่ คือ
1. กลุ่มส่วนตัวและครอบครัว
- ส่วนตัว 60,000 บาท
- คู่สมรส 60,000 บาท
- บุตร (คนละ) 30,000 บาท
- ค่าฝากครรภ์ + คลอดบุตร 60,000 บาท
- พ่อแม่ (คนละ) 30,000 บาท
- ผู้พิการทุพพลภาพ 60,000 บาท
2. กลุ่มเงินบริจาค
- ทั่วไป ไม่เกิน 10% (ตามที่จ่ายจริง)
- การศึกษา กีฬา 2 เท่าของเงินบริจาค
พัฒนาสังคม ประโยชน์สาธารณะ และ รพ.รัฐ (สูงสุดไม่เกิน 10%) - พรรคการเมือง 10,000 บาท
3. กลุ่มประกันและการลงทุน
- ประกันสุขภาพ 25,000 บาท
- ประกันชีวิตทั่วไป + สะสมทรัพย์ 100,000 บาท
*รวมไม่เกิน 100,000 บาท*
- ประกันสังคม 9,000 บาท
- ประกันสุขภาพพ่อแม่ 15,000 บาท
- RMF 30% ของเงินได้
- SSF 30% ของเงินได้
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสงเคราะห์ครูฯ 15% ของเงินได้
- กบข. 30% ของเงินได้
- เบี้ยประกันชีวิตบำนาญ 15% ของเงินได้
- กองทุนการออมแห่งชาติ ไม่เกิน 30,000 บาท
*รวมไม่เกิน 500,000 บาท*
4. กลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ
- ช้อปดีมีคืน 40,000 บาท
- ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย 100,000 บาท
- เงินลงทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม 100,000 บาท
ตัวอย่างการคำนวณ และ วิธีคิด
แบบที่ 1 ในกรณีที่ นาย A ขายของออนไลน์ และไม่ได้จดทะเบียนบริษัท นาย A มีรายได้ทั้งปี 1,000,000 บาท มีค่าใช้จ่าย 600,000 บาท และไม่มีค่าลดหย่อน นาย A จะคำนวณได้ดังนี้
1,000,000 – 600,000 – 0 = 400,000 บาท นาย A จึงนำรายได้ 400,000 บาท คูณอัตราภาษี โดย 150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี ดังนั้นนาย A จะต้องนำรายได้ 250,000 บาท คูณอัตราภาษีขั้นแรกคือ 5% เท่ากับนาย A จะต้องจ่ายภาษีเป็นจำนวนเงิน 12,500 บาท
แบบที่ 2 ในกรณีนาย B ขายของออนไลน์ และจดทะเบียนบริษัท นาย B มีรายได้ทั้งปี 1,000,000 บาท มีค่าใช้จ่าย 600,000 บาท และไม่มีค่าลดหย่อน นาย B จะคำนวณได้ดังนี้
1,000,000 – 600,000 – 0 = 400,000 บาท นาย B จึงนำ 400,000 บาท คูณอัตราภาษี โดย 300,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี ดังนั้นนาย B จะต้อ
นำรายได้ 100,000 บาท คูณอัตราภาษีขั้นแรกคือ 15% เท่ากับนาย B จะต้องจ่ายภาษีเป็นจำนวนเงิน 15,000 บาท
เนื่องจากภาษีเงินได้นิติบุคคลเริ่มต้นที่ 15% แต่ภาษีเงินได้บุคคลเริ่มต้นที่ 5% แต่ในการประกอบธุรกิจนั้น การที่ผู้ประกอบการไม่จดทะเบียนบริษัท จะมีอัตราภาษีที่สูงกว่าหากผู้ประกอบการขายสินค้าได้ในปริมาณมาก เพราะอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สูงสุดอยู่ที่ 35% ขณะที่อัตราภาษีสูงสุดของภาษีเงินได้นิติบุคคล สูงสุดอยู่ที่ 20% (กรณี SME ที่ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และรายได้ต่อปีไม่เกิน 30 ล้านบาท)
รายได้เท่าไหร่ ควรจดบริษัท
หากคุณเริ่มต้นทำธุรกิจขายของออนไลน์มาสักระยะหนึ่ง แล้วเริ่มมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ธุรกิจเติบโตขึ้นเรื่อยๆ มีกำไรมากกว่า 750,001 ต่อปี การจดบริษัทก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ ถ้าหากพิจารณาในเรื่องผลประโยชน์ด้านภาษี สำหรับบุคคลธรรมดา หากมีรายได้สุทธิ 750,001 – 1,000,000 บาทต่อปี ต้องเสียภาษีร้อยละ 20 แต่ในกรณีที่เป็นนิติบุคคล หากมีกำไรสุทธิอยู่ในช่วง 750,001 – 1,000,000 บาทต่อปี จะเสียภาษีร้อยละ 15 แต่ถ้าเป็นธุรกิจขนาดเล็กกำไรยังไม่เกิน 500,000 ต่อปี ก็อาจยังไม่คุ้มเท่าไรสำหรับการจดทะเบียนบริษัท ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับรายได้ ค่าใช้จ่ายต้นทุน ของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่า ควรจดทะเบียนบริษัทไหม และคุ้มค่ากับจำนวนเงินที่ต้องจ่ายเพิ่ม เป็นค่าจดบริษัท ค่าทำบัญชีรายเดือน และค่าสอบบัญชีรายปีหรือไม่
รายได้เท่าไร ต้องจดมูลค่าเพิ่ม
ไม่ว่าจะอยู่ในนามบุคคลธรรมดา หรือในนามนิติบุคคล เมื่อมีรายได้จากการขายสินค้า หรือบริการในปีนั้นเกิน 1.8 ล้านบาท จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งส่งผลต่อภาระทางภาษีที่ต้องปฏิบัติเพิ่มขึ้นด้วย เช่น ต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อขายสินค้า ต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ-ภาษีขาย ต้องนำส่งแบบ ก.พ.30 ให้กรมสรรพากรทุกเดือน โดยสิ่งเหล่านี้มีเหตุผลที่ต้องพิจารณาอยู่ 2 ข้อ คือ
- ร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมีความพร้อม มีการจัดเก็บเอกสารถูกต้องครบถ้วน และขอเอกสารจากผู้ขายได้ เพราะการจัดทำเอกสารทางภาษี จะต้องถูกต้องและมีเอกสารหลักฐานที่พิสูจน์ได้
- บุคคลที่เป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มจะเลิก VAT ยากกว่านิติบุคคล เช่น บริษัทต้องการเลิกกิจการสามารถแจ้งเลิกกิจการพร้อมแจ้งเลิก VAT ได้เลย แต่บุคคลธรรมดาไม่สามารถแจ้งเลิกกิจการได้ แต่จะต้องยื่น VAT ต่อไปอีก 3 ปีถึงจะสามารถแจ้งคำร้องเลิก VAT กับกรมสรรพากรได้
วางแผน ภาษีขายออนไลน์ เลือกผู้เชี่ยวชาญด้านการทำบัญชีและภาษี นรินทร์ทอง
สำหรับใครที่อ่านมาถึงตรงนี้จะเห็นว่า การวางแผน ภาษีขายออนไลน์ สำหรับอาชีพขายของออนไลน์ เป็นเรื่องที่จำเป็นและสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้เราสามารถบริหารค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อนต่างๆ ทางภาษี และกำหนดแนวทางการเสียภาษีได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้เป็นการป้องกันค่าใช้จ่าย หรือค่าปรับที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่จำเป็นได้อีกด้วย ดังนั้นการวางแผนภาษีขายออนไลน์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ทั้งในนามบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล
และสำหรับใครที่ต้องการวางแผนภาษีขายออนไลน์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการทำบัญชีและภาษีให้คำปรึกษาโดยตรง ขอแนะนำ บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด สำนักงาน รับทำบัญชี และจัดทำงบการเงิน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโต และมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น
- การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
- รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
- งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
- ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339