ในปัจจุบันคนไทยนิยมเลี้ยงสัตว์กันมากขึ้น สามารถเห็นกันได้ชัดเจนเลยว่า ตลาดธุรกิจสัตว์เลี้ยงในไทยเติบโต โดยเฉพาะโรงพยาบาลสัตว์ที่มีการให้บริการอย่างครบวงจร นอกจากการรักษาอาการป่วย เป็นสถานที่รับฝากเลี้ยง, มีอาหารหรือสินค้าจำหน่าย และอาบน้ำ – ตัดขน เป็นต้น หากใครที่กำลังเริ่มต้นอยากเป็นเจ้าของธุรกิจประเภทนี้ คุณต้องรู้ก่อนว่า โรงพยาบาลสัตว์เสียภาษีอย่างไร และต้องวางแผนภาษีแบบไหน กับ นรินทร์ทอง
โรงพยาบาลสัตว์เสียภาษีอย่างไร ?
การเสีย ภาษีคลินิกรักษาสัตว์ นับว่าเป็นภาษีเงินได้จากกิจการโรงพยาบาลสัตว์ ตามลักษณะของเงินได้ในมาตรา 40 (8) หรือ ประเภทที่ 8 จึงต้องมีการนำส่งภาษีให้กับทางกรมสรรพากร ดังนี้
ประกอบธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
ธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา ถือว่าเป็นเจ้าของเพียงคนเดียว ทำให้การคิดภาษีเป็นแบบ ‘ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา’ ที่มีการหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง โดยมีการชำระภาษี 2 ครั้งต่อปี คือ
- แบบ ภ.ง.ด.94 : ผู้ที่มีเงินได้ตามประเภทที่ 5-8 คือ รายได้ไม่คงที่ ต้องนำส่งแบบแสดงรายการภาษีกลางปี ตั้งแต่เดือนมกราคม – เดือนมิถุนายน ในช่วงกรกฎาคม – กันยายนของปี
- แบบ ภ.ง.ด.90 : เป็นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา ตั้งแต่เดือนมกราคม – ธันวาคมหรือทั้งปี ที่ต้องยื่นภาษีในช่วงมกราคม – มีนาคมของปีถัดไป
ธุรกิจแบบนิติบุคคล สามารถมาในรูปแบบของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ที่มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ประกอบกิจการรักษาสัตว์ ต้องเสีย ‘ภาษีเงินได้นิติบุคคล’ จากกำไรสุทธิสูงสุด 20%
- แบบ ภ.ง.ด.51 : แสดงรายการภาษีเงินได้ของนิติบุคคล ตามครึ่งรอบระยะเวลาของบัญชี โดยยื่นแบบนี้พร้อมกับชำระภาษี (ถ้ามี) ภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของ 6 เดือนแรกตามรอบบัญชี
- แบบ ภ.ง.ด.50 : เมื่อถึงช่วงสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ต้องยื่นแบบนี้ภายใน 150 วัน นับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบบัญชี พร้อมกับแนบแบบบัญชีงบดุล, บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนร่วมด้วย
การเสียภาษีประเภทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นการเรียกเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือบริการในอัตรา 7% และนำส่งให้กับทางกรมสรรพากร ซึ่งตามกฎหมายภาษีแล้วการเปิดให้บริการในรูปแบบของคลินิกรักษาสัตว์ จะมีข้อบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมีการนำรายได้มาเป็นฐานภาษี เพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงแบ่งออกเป็น 2 กรณี
- มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ไม่ว่าจะเป็นการประกอบธุรกิจในนามบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล หากมีรายได้ถึงเกณฑ์จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีเงินเกิน
- มีรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม คือไม่ต้องจดทะเบียนและไม่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าผู้ประกอบการต้องการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอจดทะเบียน ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่แจ้ง
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ทางโรงพยาบาลสัตว์หรือคลินิกรักษาสัตว์ จะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายอยู่ด้วยกัน 2 อัตรา คือ ‘หักอัตรา 1%’ เป็นการจ่ายเงินค่ารักษาในนามรัฐบาล และ ‘หักอัตรา 3%’ กรณีที่ทางคลินิกมีการว่าจ้างพนักงานและจ้างบุคคลภายนอก หรือ กรณีที่ผู้จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลสัตว์ในนามบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน ตามคำสั่งของกรมสรรพากร
ภาษีป้าย การเปิดโรงพยาบาลสัตว์หรือคลินิกรักษาสัตว์ต้องมีป้าย เพื่อช่วยระบุว่าสถานประกอบการอยู่ตรงไหน และมีการเก็บภาษีป้ายกับทางผู้ประกอบการ ซึ่งอัตราการเก็บจะมีความแตกต่างกันออกไป เพราะขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้ เป็นป้ายอักษรไทยล้วน, ป้ายอักษรไทยผสมอักษรต่างประเทศ, ป้ายที่มีอักษรปนกับภาพหรือเครื่องหมายอื่น และตำแหน่งของการจัดวางอักษร – เครื่องหมาย เป็นต้น
วิธีวางแผนภาษีกับการเปิดโรงพยาบาลสัตว์
- เตรียมความพร้อมก่อนเริ่มธุรกิจ : ในส่วนนี้จะเป็นการจัดเตรียมระบบรับเงิน เช่น ติดต่อทำเรื่องเครื่อง EDC หรือ QR Code รับเงิน และเงินสดที่ต้องมีทอน รวมไปถึงการนำเครื่อง POS มาใช้ เป็นสิ่งที่ต้องทำก่อน เพราะใช้ระยะเวลาในการดำเนินงาน
- การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม : แนะนำให้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะธุรกิจโรงพยาบาลสัตว์ ทางสรรพากรมองว่าเป็นธุรกิจที่ฟุ่มเฟือย จากรายละเอียดการรักษา อย่าง ค่ารักษาพยาบาล, ค่าบริการอุปกรณ์ทางการแพทย์ และค่ายา เป็นต้น โดยต้องตรวจสอบให้ดีว่า รายการไหนมีภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่มี (อย่าลืมตั้งค่าเครื่อง POS ว่ารายการไหนมี VAT เพื่อความสะดวก)
- ทรัพย์สินในคลินิก : ต้องนำอุปกรณ์ทั้งหมด มาจัดทำรายละเอียดของทรัพย์สิน โดยแบ่งว่ารายการนั้นคืออะไร, มีมูลค่าเท่าไหร่ และดูอายุการใช้งานร่วมด้วย เพื่อเปรียบเทียบกับราคาตลาดตามความเหมาะสม ที่สำคัญทรัพย์สินที่มีนำมาเป็นค่าเสื่อมได้ จะสามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท
- ที่ดินและตัวอาคาร : ในกรณีที่ผู้ประกอบการ เช่าที่ดินเปล่ามาทำธุรกิจ ต้องหัก ณ ที่จ่าย 5% เพื่อนำส่งกรมสรรพากรทุกเดือน และถ้าลงทุนปลูกสร้างอาคารเอง ต้องมีการทำสัญญางานก่อสร้างทั้งหมด รวมค่าตกแต่งภายในอาคารด้วย เพื่อนำมาบันทึกทรัพย์สินและคิดค่าเสื่อมราคาในอนาคต
- เงินเดือนพนักงาน : ควรตั้งระบบการจ่ายเงินเดือน เพื่อเป็นการแยกระหว่างพนักงานประจำที่มีประกันสังคม, นำส่ง ภ.ง.ด.1 ทุกเดือน และสรุป ภ.ง.ด.1ก เป็นต้น ถ้าจ้างบุคคลภายนอกก็ให้หัก ณ ที่จ่าย 3% และนำส่งให้กับกรมสรรพากร
- ค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ : ในกรณีที่เปิดธุรกิจโรงพยาบาลสัตว์ในนามบริษัท ต้องตรวจสอบให้ดีว่าในใบเสร็จเป็นชื่อที่ถูกต้องของบริษัท เพื่อที่จะได้นำค่าใช้จ่ายในการรักษา, ยา และอุปกรณ์ มาลงบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้
ใครที่เป็นผู้ประกอบการทำธุรกิจเปิดโรงพยาบาลสัตว์หรือคลินิกรักษาสัตว์ หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้แล้ว จะช่วยให้คุณได้เข้าใจเกี่ยวกับภาษีมากขึ้น ไม่ว่าจะในรูปแบบของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล รวมไปถึงภาษีประเภทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับวิธีการเตรียมตัววางแผนภาษีก่อนทำธุรกิจ
แต่ถ้าเจ้าของธุรกิจคนไหนไม่มั่นใจ ว่าตัวเองมีการเตรียมพร้อมที่ถูกต้องหรือไม่ และมีข้อสงสัยในด้านอื่นๆ สามารถใช้บริการสำนักงานบัญชี นรินทร์ทอง เพื่อให้การดำเนินเรื่องของภาษีมีความถูกต้องตามกฎหมาย และหมดกับปัญหาที่ตามมาให้ปวดหัว
การเสียภาษีไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก ที่นรินทร์ทอง!
บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชี และภาษี รวมไปถึงการจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น
- การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
- รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
- งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
- ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
นรินทร์ทองอยากให้ธุรกิจของคุณพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดด
และรู้ทุกการเคลื่อนไหวทางการเงิน เพื่อให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339