ปัจจุบันการขายของออนไลน์ ถือว่าเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะทำเป็นอาชีพเสริม หรือ อาชีพหลักก็ตาม เพราะสามารถสร้างรายได้ได้อย่างมหาศาล และด้วยการเข้ามาของเทคโนโลยีในปัจจุบันช่วยให้การขายของออนไลน์มีต้นทุนที่ต่ำ เพียงโทรศัพท์เครื่องเดียวก็สามารถสร้างรายได้ได้แล้ว และการขายของออนไลน์ยังมีอิสระทางด้านเวลาอีกด้วย แต่เมื่อมีรายได้เข้ามาแล้วอีกสิ่งหนึ่งที่ พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ ไม่ควรลืมหรือหลีกเลี่ยงนั้นก็คือ “การเสียภาษี” แล้ว ภาษี แม่ค้า ออนไลน์ ที่ต้องเสียมีอะไรบ้างหล่ะ ผมเชื่อว่าหลังจากทุกคนอ่านบทความนี้จบ จะรู้เลยว่าการเสียภาษีไม่ใช่เรื่องที่กลัวอย่างที่คิด หากเราเข้าใจและรู้วิธีจัดการอย่างถูกต้อง
ขายของออนไลน์ แบบไหนที่ต้องเสียภาษี
อย่างแรกเราต้องเข้าใจก่อนว่าภาษีของการขายของออนไลน์นับเป็นภาษีเงินได้จากการค้าขาย ซึ่งจะมีการแบ่งการคำนวณเป็นสองประเภท คือ
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา : กรณีเป็นพ่อค้าแม่ค้าธรรมดา
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล : กรณีที่ร้านค้านั้นๆ มีการจดทะเบียนเป็นบริษัท
แต่วันนี้เราจะมาพูดในเฉพาะส่วนของการเสียภาษีแบบเงินได้บุคคลธรรมดาเท่านั้น
รายได้เท่าไรถึงเกณท์ต้องยื่นภาษี
กรณีบุคคลธรรมดา : คนที่มีรายได้จากการขายของออนไลน์ จะต้องยื่นภาษีเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ ม.40 (8) โดยยื่นแบบ ภ.ง.ด.90, 94 เมื่อมีได้รายเกิน 60,000 บาท (กรณีโสด) หรือมีรายได้เกิน 120,000 บาท (กรณีสมรส)
วิธีการคำนวณ ภาษีแม่ค้าออนไลน์
การเสียภาษีของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะเป็นการเสียภาษีแบบบุคคลธรรมดาซึ่งมีวิธีคิดอยู่ 2 วิธีคือ
1. (เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี ตามอัตราขั้นบันได
1.1 โดยวิธีแรกผู้ค้าออนไลน์สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายในการลดหย่อนภาษีได้ 2 แบบคือ
- หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% ของรายได้
- หักตามจริง หากเป็นวิธีนี้เราจะต้องมีเอกสารที่ต้องยืน เช่น บัญชีรายรับ-รายจ่าย และเราต้องทำการเก็บหลักฐานไว้ด้วย เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบ
2. เงินได้ x 0.5% โดยจะใช้วิธีนี้เมื่อเรามีรายได้เกิน 1 ล้านบาทต่อปี แล้วนำไปเปรียบเทียบกับวิธีแรก เพื่อเสียภาษีตามวิธีที่คำนวณได้คุ้มกว่า
และในปัจจุบันก็มีโปรแกรมที่จะช่วยคิด ภาษี ร้านค้า ออนไลน์ อีกด้วย และหากใครต้องการคำปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :นรินทร์ การบัญชีและภาษี
ยื่นตอนไหน? ยื่นภาษีได้ที่ไหน?
การขายของออนไลน์ผู้ค้าจะยื่นภาษี 2 รอบ คือ
รอบที่หนึ่ง: กลางปี โดยจะยื่นช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. (แบบ ภ.ง.ด. 94) เป็นการยื่นสรุปรายได้ในช่วงครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย.) โดยสามารถใช้ค่าลดหย่อนได้ครึ่งหนึ่ง เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 จะเหลือ 30,000
รอบสอง: ช่วงสิ้นปี โดยจะยื่นช่วงเดือน ม.ค. – มี.ค. (แบบ ภ.ง.ด. 90) จะเป็นการยื่นสรุปทั้งปีที่ผ่านมา
เพิ่มเติม : กรณีที่พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ด้วย โดยปัจจุบันยังจัดเก็บอยู่ที่ 7% นั่นเอง และจะต้องยื่นภาษีทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป และมีหน้าที่ต้องออก “ใบกำกับภาษี” ให้กับผู้มาใช้บริการด้วย ที่สำคัญคือจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน หลังจากมียอดขายเกิน 1.8 ล้านบาท
สำหรับช่องทางการ “ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” มี 2 ทางเลือก ช่องทางแรกคือ เตรียมเอกสารแบบกระดาษ เดินทางไปยื่นภาษีด้วยตัวเองที่กรมสรรพากร ในเวลาราชการ ช่องทางที่สองคือ การยื่นภาษีในช่องทางออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร (www.rd.go.th) สามารถใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
แล้วการเสีย ภาษีแม่ค้าออนไลน์ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
- บันทึกทุกอย่าง ทำบัญชีรายรับรายจ่ายแบบรายวันเพื่อสามารถตรวจสอบได้ว่าเรามีรายรับรายจ่ายประเภทใด อย่างไรบ้าง ซึ่งการทำแบบรายวันจะทำให้เรารับไม่สับสน และดีกว่าการทำย้อนหลังมากๆ
- ไม่ทิ้งหลักฐานที่เกี่ยวกับการค้า เก็บหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้องไว้ เมื่อทางกรมสรรพากรมีคำถามเกี่ยวกับรายรับรายจ่าย นอกจากจะได้เห็นบันทึกรายรับรายจ่าย ยังมีหลักฐานทางธุรกรรมเพื่อยืนยันว่าเราได้ดำเนินการโอนรับ จ่าย หรือลงทุนตามจริงด้วย
- ติดตามข่าวการเงิน โดยเฉพาะด้านภาษีที่มีการอัปเดตในแต่ละปีตามการไหลเวียนของเงินในประเทศและต่างประเทศ แต่หากไม่มีความรู้ด้านการเงินอาจทำให้พลาดเสียเงินมากเกินความจำเป็นหรือจ่ายภาษีซ้ำซ้อนได้
- หาความรู้เกี่ยวกับภาษีเงินได้ และเรื่องที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เพื่อที่จะสามารถจัดการรายรับรายจ่ายในแต่ละปี รู้ว่าต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ลดหย่อนภาษีได้ด้วยวิธีใดบ้าง รวมไปถึงจัดการการเงินของตัวเองได้อย่างเหมาะสม
ใครมีข้อสงสัย ต้องการคำปรึกษา นรินทร์ทอง สามารถติดต่อสอบถามได้ที่…
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339