เปิดบริษัทแล้วต้องทําอะไรบ้าง

หลังเปิดบริษัทแล้วต้องทําอะไรบ้าง ? เรียนรู้กับเรานรินทร์ทอง!

เจ้าของธุรกิจหลายท่านจะทราบกันดีว่า การเปิดบริษัทขึ้นมาสักบริษัทหนึ่ง จะต้องผ่านการจดทะเบียนบริษัทต่างๆ หลายขั้นตอน แต่ทราบหรือไม่ว่า หลังเปิดบริษัทแล้วต้องทําอะไรบ้าง ? ซึ่งแน่นอนว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ ไม่แพ้กับการเริ่มต้นจดทะเบียนบริษัทเลย ซึ่งทาง นรินทร์ทอง ในฐานะที่เราเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านการจัดทำบัญชี และจดทะเบียนบริษัท บทความนี้เราจึงอยากมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับ สิ่งที่ต้องทำหลังการจดบริษัทว่าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้เจ้าของธุรกิจที่เพิ่งจดทะเบียนบริษัทไป ได้ทราบถึงขั้นตอนต่างๆ ที่ต้องทำหลังจากนั้น เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นตัวช่วยทำให้ธุรกิจของคุณ มีรากฐานที่แข็งแรงและยั่งยืนได้มากขึ้น

 

หลัง เปิดบริษัทแล้วต้องทําอะไรบ้าง ?

เปิดบริษัทแล้วต้องทําอะไรบ้าง

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใด ที่เพิ่งจดทะเบียนบริษัทไป เมื่อได้สถานะเป็นบริษัทจำกัดแล้ว รู้หรือไม่ว่าจะต้องมีการจัดทำบัญชีที่สำคัญอีกหลายอย่าง ซึ่งในหัวข้อนี้ นรินทร์ทอง จะมาบอกถึงสิ่งที่เจ้าของธุรกิจต้องจัดทำหลังจดทะเบียนบริษัท เพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยสิ่งที่ต้องทำอย่างแรก คือ

1. จัดประชุมผู้ถือหุ้น

สำหรับบริษัทจำกัด นับจากวันที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว จะต้องมีการประชุมสามัญครั้งแรก ซึ่งจะต้องจัดขึ้นภายใน 6 เดือนนับจากวันที่จดทะเบียนบริษัท ส่วนการจัดประชุมในครั้งต่อๆ ไป จะต้องกำหนดให้มีการจัดประชุมอย่างน้อยหนึ่งครั้งทุกๆ 12 เดือน หรือปิดงบการเงินประจำปี

หลังจากที่มีการจัดประชุมแล้ว บริษัทจะต้องนำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ไปยังนายทะเบียน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 14 วันด้วย ซึ่งในส่วนนี้สามารถนำส่งผ่านระบบ DBD e-Filing ของกรมพัฒน์ได้

2. จัดทำใบหุ้นและสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น

ใบหุ้น และ สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ทั้งสองอย่างนี้เป็นเอกสารที่ทางบริษัท จะต้องจัดทำขึ้นหลังจากที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทเรียบร้อยแล้ว โดยรายละเอียดมีดังนี้

  • ใบหุ้น คือ เอกสารที่ต้องระบุข้อมูลต่างๆ ของการเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท เช่น ชื่อผู้ถือหุ้น, จำนวนหุ้น, เลขหมายหุ้น, มูลค่าหุ้น และจำนวนเงินค่าหุ้นที่ชำระแล้ว โดยต้องมีลายเซ็นของกรรมการอย่างน้อย 1 ท่าน ซึ่งจะต้องออกให้แก่ผู้ถือหุ้นในบริษัทให้ครบ และถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
  • สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น คือ สมุดแสดงรายการข้อมูลหุ้นตั้งแต่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ที่มีข้อมูลตั้งแต่ขั้นตอนการจัดตั้ง, มีรายการเพิ่มทุน-ลดทุน, การโอนหุ้น รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น ซึ่งทางบริษัทจะต้องมีการจัดทำ และเก็บไว้ที่สำนักงานใหญ่ของบริษัท

3. จัดทำบัญชีตามที่กฏหมายกำหนด 

สำหรับผู้ประกอบการที่เพิ่งจดทะเบียน เป็นบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วน จะต้องจัดทำบัญชีตามที่กฏหมายกำหนด โดยนับตั้งแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ซึ่งบัญชีที่ต้องจัดทำ มีดังนี้

  • บัญชีรายวัน  ได้แก่ บัญชีเงินสด, บัญชีธนาคาร, บัญชีรายวันซื้อ, บัญชีรายวันขาย และบัญชีรายวันทั่วไป
  • บัญชีแยกประเภท ได้แก่ หนี้สิน, ทุน, รายได้ และค่าใช้จ่ายลูกหนี้ เจ้าหนี้
  • บัญชีสินค้า และ สต็อกสินค้า
  • บัญชีอื่นๆ ตามรูปแบบของบริษัท

4. จัดหาผู้ทำบัญชีของบริษัท 

ทางบริษัทจะต้องมีการจัดทำบัญชี ที่แสดงข้อมูลผลประกอบการที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง และตรงตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีนักบัญชีอย่างน้อย 1 คนมาทำบัญชีให้

5. จัดส่งเอกสารให้ผู้ทำบัญชีเพื่อปิดบัญชี

ในส่วนนี้เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการ ที่จะต้องมอบเอกสารทั้งหมดให้ผู้ทำบัญชี เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการลงบัญชีในทุกๆ เดือน และยังเป็นหน้าที่ของผู้ทำบัญชีที่จะต้องปิดบัญชีของบริษัท ให้ได้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพราะจะต้องทำการเก็บข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ รายได้และค่าใช้จ่ายของบริษัทให้ถูกต้อง

6. จัดทำงบการเงิน

บริษัทจะต้องปิดงบการเงินในทุกๆ รอบ 12 เดือน หรือ 1 ปี เพื่อให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและลงลายมือชื่อ จากนั้นนำเสนอในที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น เพื่อให้ผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน หลังสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี จากนั้นต้องนำส่งงบการเงิน ภายใน 5 เดือนหลังจากปิดรอบบัญชี

7. จัดเก็บเอกสารบัญชีและภาษี

ถึงแม้ว่าจะมีการยื่นงบการเงินไปแล้ว แต่ทางบริษัทก็ยังจำเป็นต้องเก็บเอกสารที่ใช้ ประกอบการลงบัญชีทั้งหมดไว้ที่บริษัทไม่น้อยกว่า 5 ปี ส่วนการเก็บรักษาเอกสารภาษี ตามประมวลรัษฎากร กำหนดให้ผู้ประกอบการเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ไม่เกิน 7 ปี แต่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียก หรือประเมินภาษีอากรได้ภายใน 10 ปี ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นในอนาคต ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องจัดเก็บเอกสารให้ครบถ้วน ถ้าหากมีเอกสารใดสูญหายก็ต้องแจ้งความ แจ้งกรมพัฒน์ และแจ้งกรมสรรพากร

 

หากไม่ทำเกิดอะไรขึ้น

เปิดบริษัทแล้วต้องทําอะไรบ้าง

หลังจากที่ได้ทำการจดทะเบียนบริษัทเรียบร้อยแล้ว ผู้ประกอบการหลายท่านอาจเกิดการละเลยสิ่งที่ต้องทำหลังจดทะเบียนบริษัท ทำให้ต้องพบเจอกับปัญหาต่างๆ ตามมา จนถึงขั้นส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ซึ่งนั่นก็คือ “ค่าปรับ” จากการดำเนินการไม่ครบถ้วน ทำให้บริษัทเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น ซึ่งทางเราจะขอยกตัวอย่างค่าปรับ ที่จะเกิดขึ้นในแต่ละรายการ ซึ่งมีดังนี้

  • มาตรา 8 บริษัทจำกัดไม่ทำใบหุ้น หรือเรียกค่าธรรมเนียมเกิน
    มีค่าปรับ 10,000 บาท
  • มาตรา 10 บริษัทจำกัดไม่มีสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น
    มีค่าปรับ 20,000 บาท
  • มาตรา 11 บริษัทจำกัดไม่รักษาสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น หรือไม่เปิดสมุดทะเบียนเมื่อผู้ถือหุ้นร้องขอ
    มีค่าปรับ 20,000 บาท
  • มาตรา 25 บริษัทจำกัดใดกระทำความผิดตามมาตรา 7-24
    มีค่าปรับ 50,000 บาท

ตามมาตราข้างต้น เป็นเพียงค่าปรับที่หยิบยกมาเท่านั้น แต่นอกจากนี้ยังมีค่าปรับอื่นๆ อีกมากมาย อย่างเช่น ค่าปรับของการไม่ทำบัญชี, ค่าปรับของการไม่ส่งหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น, ค่าปรับของงบการเงินที่ไม่มีผู้สอบบัญชี, ค่าปรับของการนำส่งงบการเงินล่าช้ากว่ากำหนด เป็นต้น

 

สรุป หลังการเปิดบริษัทต้องทำอย่างไรบ้าง กับ นรินทร์ทอง

เปิดบริษัทแล้วต้องทําอะไรบ้าง

หลังจากที่ได้ทราบแล้วว่าหลัง เปิด บริษัท ต้องทําอะไรบ้าง เมื่อรู้อย่างนี้แล้วก็อย่าละเลยที่จะจัดเตรียมเอกสาร และงานบัญชีที่ต้องทำให้เรียบร้อยตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อที่บริษัทจะได้มีงบการเงินที่มีคุณภาพ ไม่ต้องโดนค่าปรับ สามารถนำเวลาไปดูแลกิจการ เพื่อเพิ่มยอดขายให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคงได้ แต่สำหรับผู้ประกอบการท่านใด ที่ไม่มีความรู้เรื่องการจัดทำบัญชี หรือไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มจากตรงไหนก่อน แนะนำว่าให้ปรึกษากับสำนักงานบัญชีที่มีความเชี่ยวชาญโดยตรง อย่าง บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด สำนักงานรับทำบัญชี และจัดทำงบการเงิน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโตและมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น

  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ

 

 

สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…

Facebook : NarinthongOfficial

E-mail : narinthong.ac@gmail.com

Line : @Narinthong

Tel : 081-627-6872 02-404-2339

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ และคุกกี้ในส่วนการตลาด

    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน และคุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บันทึกการตั้งค่า